กาแฟมีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับว่าเราดื่มมาก-น้อยแค่ไหน แล้วจะดื่มอย่างไรดีถึงจะให้ผลเสียน้อยที่สุด
แล้วอย่างนี้จะดื่มกาแฟอย่างไรถึงเกิดผลเสียต่อสุขภาพน้อยที่สุด เฟซบุ๊ก มูลนิธิหมอชาวบ้าน มี 7 ข้อแนะนำมาบอกให้คอกาแฟได้จดจำ คนที่ชอบดื่มกาแฟลองทำตามดูได้เลย
กินกาแฟอย่างไรให้ได้ประโยชน์ และเกิดผลเสียน้อยที่สุด
1. ควรสังเกตว่าตัวคุณเองมีความไวของการตอบสนองต่อปริมาณกาแฟกี่ถ้วย มีอาการอย่างไรบ้าง เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมสำหรับตนเอง
2. หากมีอาการนอนหลับยาก ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในช่วงบ่ายหรือช่วงหัวค่ำ
3. ไม่ควรดื่มกาแฟขณะท้องว่าง เนื่องจากคาเฟอีนเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
4. ไม่ควรดื่มกาแฟเพื่อหักโหมทำงาน และอดนอนติดต่อกันหลาย ๆ คืน แม้ว่าคาเฟอีนช่วยให้ร่างกายตื่นตัวจริง แต่สมองต้องการเวลาพักผ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้
5. หากคุณเป็นผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ ควรกินอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมเพิ่มเติม เช่น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย คะน้า บรอกโคลี เป็นต้น เพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปกับปัสสาวะ และลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน หรืออาจปรับเปลี่ยนโดยการชงกาแฟใส่นมแทนครีมเทียม เป็นต้น
6. ควรกินผักผลไม้อย่างเพียงพอทุกวัน เนื่องจากในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟจะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น แต่วิตามินซี อี และเบต้าแคโรทีนในผักผลไม้ เช่น มะเขือเทศ แครอท ผักใบเขียว ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน เป็นต้น จะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายได้
7. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของคาเฟอีน
เคล็ดลับดี ๆ จากหมอชาวบ้าน คงถูกอกถูกใจคอกาแฟกันน่าดู ถ้าอดใจไม่ดื่มไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ควรทานอาหารจำพวกผักผลไม้ อาหารทีมีแคลเซียมสูง และดื่มน้ำให้มาก ๆ ก็จะช่วยกำจัดพิษจากกาแฟถ้วยโปรดได้ค่ะ
คนติดกาแฟคงรู้ตัวดีว่าถ้าวันไหนไม่ได้ดื่มกาแฟเลยนี่ถึงกับปวดหัวและหมดพลังเลยจริง
ๆ ถ้าดื่มแต่พอเหมาะไม่เกิน 2-3 ถ้วยก็ไม่เท่าไร
แถมยังได้ประโยชน์จากคาเฟอีนด้วย แต่บางคนติดหนักดื่มกันเกินวันละ 3
ถ้วยตั้งแต่เช้าจนก่อนนอน แบบนี้ กาแฟคงไม่ให้ประโยชน์แน่ ๆ
แต่ยิ่งจะทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับเข้าไปอีก
กินกาแฟอย่างไรให้ได้ประโยชน์ และเกิดผลเสียน้อยที่สุด
1. ควรสังเกตว่าตัวคุณเองมีความไวของการตอบสนองต่อปริมาณกาแฟกี่ถ้วย มีอาการอย่างไรบ้าง เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมสำหรับตนเอง
2. หากมีอาการนอนหลับยาก ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในช่วงบ่ายหรือช่วงหัวค่ำ
3. ไม่ควรดื่มกาแฟขณะท้องว่าง เนื่องจากคาเฟอีนเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
4. ไม่ควรดื่มกาแฟเพื่อหักโหมทำงาน และอดนอนติดต่อกันหลาย ๆ คืน แม้ว่าคาเฟอีนช่วยให้ร่างกายตื่นตัวจริง แต่สมองต้องการเวลาพักผ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้
5. หากคุณเป็นผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ ควรกินอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมเพิ่มเติม เช่น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย คะน้า บรอกโคลี เป็นต้น เพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปกับปัสสาวะ และลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน หรืออาจปรับเปลี่ยนโดยการชงกาแฟใส่นมแทนครีมเทียม เป็นต้น
6. ควรกินผักผลไม้อย่างเพียงพอทุกวัน เนื่องจากในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟจะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น แต่วิตามินซี อี และเบต้าแคโรทีนในผักผลไม้ เช่น มะเขือเทศ แครอท ผักใบเขียว ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน เป็นต้น จะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายได้
7. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของคาเฟอีน
เคล็ดลับดี ๆ จากหมอชาวบ้าน คงถูกอกถูกใจคอกาแฟกันน่าดู ถ้าอดใจไม่ดื่มไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ควรทานอาหารจำพวกผักผลไม้ อาหารทีมีแคลเซียมสูง และดื่มน้ำให้มาก ๆ ก็จะช่วยกำจัดพิษจากกาแฟถ้วยโปรดได้ค่ะ