อาการอ่อนล้าของสมองขณะอ่านหนังสือ ทำให้จับใจความสำคัญไม่ได้ อ่านไปก็เสียเวลาเปล่าเพราะตำราไม่เข้าหัว วันนี้เลยอยากนำที่มาของอาการมาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้ระวังกันให้ดี
.jpg)
.jpg)
โรค Brain Fag Syndrome คืออะไร
โรค Brain Fag Syndrome หรือโรคอ่านหนังสือเยอะจนสมองล้า เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมอง ถูกค้นพบครั้งแรกในทวีปแอฟริกาใต้ และไนจีเรียเป็นแห่งที่ 2 โดยกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มคนทำงานที่ต้องใช้สายตาอ่านหนังสือค่อนข้างเยอะ
ทั้งนี้นักจิตวิทยาก็ขยายความต่อว่า เหตุที่เกิดในประเทศโลกที่ 3 มากกว่าประเทศอื่น ๆ ก็เพราะความยากลำบากของการเรียนหนังสือ พร้อมทั้งความกดดันที่เด็กวัยเรียนในประเทศนั้น ๆ ต้องเจอ ทำให้เกิดความเครียดจนตกอยู่ในกำมือของภาวะ Brain Fag Syndrome นั่นเอง
สาเหตุของโรค Brain Fag Syndrome
หลัก ๆ แล้วโรคนี้จะเกิดจากความเครียดอันเกิดจากความพยายามอย่างยิ่งที่่จะทำอะไรให้สำเร็จสักอย่าง รวมทั้งความคาดหวังที่สูงจัดจนกลายเป็นความกดดันตัวเองให้จดจ่อกับสิ่งที่ต้องการมากเกินไป ส่วนมากจะมีอาการทางจิตร่วมด้วยเล็กน้อย เช่น รู้สึกเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจจนไม่อยากจะสานต่อสิ่งที่ทำอยู่ หัวสมองตื้อ สมาธิที่เคยมีหายไป
.jpg)
ใครคือกลุ่มเสี่ยง
นักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะสอบแข่งขัน หรือกำลังพยายามพิชิตบทเรียนที่ยากเกินกว่าจะผ่านไปได้ง่าย ๆ นอกจากนี้กลุ่มวัยทำงานที่ต้องเจอกับภาวะกดดันก็มีสิทธิ์เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
อาการบ่งชี้ภาวะ Brain Fag Syndrome
- สมาธิบกพร่อง ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อ่านได้
- ความสามารถในการจดจำข้อมูลลดน้อยลง
- เกิดอาการเป็นเหน็บ รู้สึกชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ปวดหัว
- ปวดบ่าและไหล่
- หงุดหงิดง่าย
- สีหน้าบ่งบอกถึงความไม่สบายใจ
- กระสับกระส่าย
- หายใจติดขัด
- วิตกกังวล
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- นอนไม่หลับ
- เหงื่อออกเยอะผิดปกติ
- เสียงสั่น
- เกิดความผิดปกติของเส้นประสาท
- ตาพร่ามัว
- หูอื้อ
หากเกิดอาการผิดปกติเหล่านี้กับคุณเกิน 5 ข้อ อาจเป็นไปได้ที่คุณจะป่วยเป็นโรค Brain Fag Syndrome แล้วล่ะค่ะ
.jpg)
แนวทางรักษา
เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมอง รวมไปถึงอาการทางจิตเบา ๆ ดังนั้นขั้นแรกก็ควรหลีกหนีจากความเครียดที่เจอไปสักพัก และหากจะให้ดีควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะช่วงที่ต้องเผชิญกับสภาวะกดดันทั้งหลายแหล่ เช่น ช่วงใกล้สอบ ช่วงที่ทำโปรเจคท์ หรือแม้แต่วัยทำงานที่ใกล้วันเสนอผลงาน ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดความกลัวและความเครียดสะสม ทว่าหากอาการของโรคค่อนข้างหนักจนไม่สามารถหาทางออกได้ด้วยตัวเอง เคสแบบนี้หันหน้าปรึกษาจิตแพทย์โดยตรงเลยดีกว่า
นอกจากนี้ ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ชมรมโภชนวิทยามหิดล ยังได้แนะนำว่า ในช่วงที่สมองจะถูกใช้งานอย่างหนัก ควรบำรุงสมองให้พร้อมทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยสร้างเซลล์ประสาทในการรับรู้ กรดอะมิโนจากโปรตีนเพื่อให้ร่างกายได้นำไปใช้สร้างสื่อประสาทซึ่งทำหน้าที่ถ่ายข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาท กลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตไว้เป็นเชื้อเพลิงหลักของสมองสำหรับสร้างพลังงาน รวมทั้งเสริมความแข็งแรงให้เซลล์สมองด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจากผักและผลไม้นานาชนิดด้วยก็จะยิ่งดี
ทั้งนี้ก็ยังมีซุปไก่สกัดอีกอย่างหนึ่งซึ่งผ่านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพมามากกว่า 20 ผลงานวิจัยแล้วว่า ซุปไก่สกัดมีสารโปรเบปทิเจน (ProBeptigen) ซึ่งทำหน้าที่รักษาระดับของสารสื่อประสาทที่มี่ชื่อว่า ซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์และความเครียดได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญสารชนิดนี้ยังมีส่วนช่วยในการต่อต้านความเครียดและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และจดจำของสมองอีกด้วยนะคะ
การแข่งขันที่สูงขึ้นในทุกวันรวมทั้งสภาพแวดล้อมในยุคนี้ทำให้ปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าโลกนี้ชักจะอยู่ไม่ง่ายเหมือนเคยซะแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเราควรเตรียมความพร้อมให้ตัวเองสามารถตั้งรับกับทุกสิ่งในชีวิตได้ง่าย ๆ เพียงแค่ดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองอย่างจริงจัง อาหารสุขภาพ การออกกำลังกาย และการพักผ่อนคือสิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเลยนะคะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ทวิตเตอร์ @mor_maew, THEGIST, RIGHT DIAGNOSIS, Children Cancer Fund