Food Coma อันตรายไหม ทำไมกินอิ่มแล้วถึงง่วงหนักมาก ?

          ฟู้ดโคม่า (Food coma) อาการกินอิ่มเกินไป เหมือนท้องจะแตก ลุกก็ไม่ไหว หายใจก็ติดขัด แถมยังง่วงสุด ๆ ไม่อยากเป็นแบบนี้แนะนำให้เลี่ยงด่วน

Food coma กินจัดหนัก ซัดไม่ยั้ง เห็นแก่ของอร่อย เดี๋ยวจะโคม่าแบบนี้

          พอเข้าใจว่าเวลาได้กินอาหารอร่อย ๆ เป็นใครก็คงหยุดปากไม่อยู่ เอะอะก็กินอีก เติมอีก มารู้ตัวอีกทีก็จุกจนลุกไม่ขึ้น พ่วงด้วยความรู้สึกเหมือนอาหารที่กินเข้าไปพุ่งขึ้นมาจ่อที่ลำค­­อ เกิดอาการหายใจไม่ค่อยออกแทรกซ้อนอีกอาการ คราวนี้ล่ะแทบอยากมีไทม์แมชชีนไว้ย้อนเวลาเพื่อที่จะกินให้น้อย­­ลงอีกนิดแทบไม่ทันเลยทีเดียว

          แล้วมีใครเคยฉุกใจคิดไหมคะว่า อาการกินอิ่มเกินพิกัดอย่างนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องปกติที่ควรปล่­­อยผ่านแล้ว เพราะอาจมีเอฟเฟกต์ด้านสุขภาพตามมาอีกกระบุงโกย ซึ่งหากอยากหลุดพ้นจากความทรมานเพราะอาการฟู้ดโคม่า เราก็มาทำความรู้จักอาการฟู้ดโคม่า พร้อมวิธีป้องกันอาการฟู้ดโคม่ากันเลยดีกว่า

Food coma กินจัดหนัก ซัดไม่ยั้ง เห็นแก่ของอร่อย เดี๋ยวจะโคม่าแบบนี้

อาการฟู้ดโคม่า

          หนังท้องตึงหนังตาก็พากันหย่อน อาการเบสิกหลังอิ่มมื้ออาหารเช่นนี้เราเจอจนคุ้นชินกันเป็นอย่า­­งดี แต่สำหรับฟู้ดโคม่าแล้วการกินอิ่มเกินไปไม่ได้แค่สร้างความอึดอ­­ัดเท่านั้น แต่อาการจุกจนลุกไม่ไหว หายใจก็ไม่สะดวกก็มาเต็ม ๆ กับเขาด้วย หรือในบางเคสไม่ได้กินอิ่มมาก แต่กลับรู้สึกง่วงงุนผิดปกติ ลักษณะอาการอย่างที่ว่ามานี้ As Scientific American เขาอธิบายมาว่า อาจเป็นผลกระทบจากการที่ร่างกายได้รับซูโครสมากเกินไปนั่นเองค่­­ะ

Food coma กินจัดหนัก ซัดไม่ยั้ง เห็นแก่ของอร่อย เดี๋ยวจะโคม่าแบบนี้

อิ่มจัดแล้วทำไมอาการฟู้ดโคม่าจึงถามหา?

1. ระบบประสาทแปรปรวน

          เพื่อส่งต่ออาหารที่เรากินเข้าไปลงสู่กระเพาะและลำไส้เล็ก ร่างกายจะปรับตัวด้วยการเพิ่มการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเท­­ติกในขณะที่ลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก การเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันนี้ส่งผลให้ร่างกายปรับเข้าสู่โหม­­ดพักผ่อนโดยอัตโนมัติ ดังนั้นหากเรากินอาหารเข้าไปมาก แน่นอนว่าคงหลงอยู่ในภวังค์ความง่วงงุนนานกว่าปกติ เผลอ ๆ อาจสัปหงกและหลับไปไม่รู้ตัวเลยก็ได้

2. ดัชนีน้ำตาลปั่นป่วน

          เมื่อร่างกายรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมาก น้ำตาลเหล่านี้จะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด เปลี่ยนน้ำตาลที่กินให้เป็นกลูโคสเพื่อสะสมเอาไว้เผื่อร่างกายจ­­ะเรียกใช้เป็นพลังงาน ทว่าเมื่อระดับกลูโคสในเลือดมีอยู่สูงเกินไป ร่างกายจะส่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเก็บกวาดส่วนเกินของกลูโคสทิ้­­งไปโดยอัตโนมัติ เท่ากับว่าฮอร์โมนอินซูลิน ณ ขณะนั้นจะสูงเกินปกติ ส่งผลให้สมองหลั่งเซโรโทนินและเมลาโทนินออกมา โดยทั้งสองฮอร์โมนสื่อประสาทเหล่านี้ล้วนมีคุณสมบัติกล่อมให้ร่­­างกายรู้สึกง่วงงุน จนในที่สุดก็ผล็อยหลับไปได้ง่าย ๆ

3. ทริปโตเฟนออกอาละวาด

          เมื่อร่างกายมีกลูโคสสูง แถมฮอร์โมนอินซูลินยังหลั่งออกมามากกว่าปกติ ร่างกายจะเพิ่มความเข้มข้นของกรดอะมิโนทริปโตเฟนเพื่อให้สามารถ­­ดูดซึมกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งทริปโตเฟนตัวนี้เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่สมองจะทำให้รู้สึกง่ว­­งงุนได้ อีกทั้งผลการวิจัยยังเสริมด้วยว่า หากรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง จะยิ่งกระตุ้นกลูโคสในร่างกายได้ง่ายและเยอะขึ้นอีกหลายเท่า ดังนั้นหากไม่อยากรู้สึกง่วงหลังท้องอิ่ม แนะนำให้กินคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและข้าวให้น้อย ๆ หน่อย

4. ฤทธิ์ของโคลีซิสโตไคนิน

          ระหว่างที่กระบวนการย่อยอาหารเกิดขึ้น ร่างกายจำเป็นต้องหลั่งฮอร์โมนโคลีซิสโตไคนินออกมาด้วย เพราะฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกอิ่ม และยังมีส่วนกระตุ้นสมองให้รู้สึกง่วงได้อีกต่างหาก ดังนั้นหลังจากที่กินอิ่มไปสักพักและอยู่ในช่วงย่อยอาหาร อาการง่วงซึมจึงเข้ามาเยือนคุณเป็นประจำนั่นเอง

Food coma กินจัดหนัก ซัดไม่ยั้ง เห็นแก่ของอร่อย เดี๋ยวจะโคม่าแบบนี้

วิธีป้องกันอาการฟู้ดโคม่า

          1. กินอาหารแต่พอดี เพื่อระบบประสาทจะได้ทำงานเป็นปกติ

          2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขัดสี ขนมปังขัดสี เป็นต้น

          3. เคี้ยวช้า ๆ และพยายามลดสปีดการรับประทานอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับรู้รสอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น คราวนี้ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนโคลีซิสโตไคนินออกมาในระดับที่พ­­อดีกับความต้องการใช้งานในกระบวนการย่อย

          4. ผลการวิจัยในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition เผยว่า ชินนาม่อนมีส่วนช่วยให้ร่างกายรู้สึกอิ่มนาน ซึ่งก็เท่ากับว่าเราจะไม่รู้สึกหิวบ่อย ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดก็อยู่ในเกณฑ์ปกติสม่ำเสมอ แม้ในช่วงที่กินอาหารอิ่มแล้ว ฉะนั้นอาจลองโรยผงชินนาม่อนลงในจานอาหารสักหน่อยก็ได้ค่ะ

          แม้อาการฟู้ดโคม่าจะไม่ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ก็ปฏิเสธไม่ลงเหมือนกันว่าสร้างความทรมานให้ร่างกายไม่น้อย แทนที่จะได้กินอาหารให้อร่อยและรู้สึกฟิน กลับต้องมาอึดอัดท้องและหายใจไม่ออกแถมง่วงอีกต่างหาก ฉะนั้นอย่าเห็นแก่ของอร่อยจนลืมนึกถึงร่างกายตัวเองด้วยนะคะ




ขอบคุณข้อมูลจาก
Natural Wellness
Lifehacker








เรื่องที่คุณอาจสนใจ
Food Coma อันตรายไหม ทำไมกินอิ่มแล้วถึงง่วงหนักมาก ? อัปเดตล่าสุด 21 กันยายน 2563 เวลา 10:58:44 9,096 อ่าน
TOP
x close