ท่าโยคะต่อไปนี้จะช่วยเพิ่มพลังงานให้กับคนที่กำลังเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าได้ ลองดูว่าท่าบริหารไหนที่เหมาะกับเรา
อ่อนเพลียมากมายทั้งที่นอนหลับพักผ่อนเพียงพอแล้ว ลองลุกขึ้นมาบริหารร่างกายฟื้นฟูพลังให้ตัวเองดูด้วยท่าโยคะที่จะช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกายอย่างที่นิตยสาร อาหาร&สุขภาพ แนะนำมา
หากเพียงแค่การนอนหลับดี ๆ ยังไม่ทำให้หายจากอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง คนเล่นโยคะจำนวนมากมักจะรับประทานอาหารมังสวิรัติที่เป็นออร์แกนิก ผลไม้ ผัก และธัญพืช มีการปรุงแต่งเพียงเล็กน้อยให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติของเดิมมากที่สุด อาหารเหล่านี้ให้พลัง (หรือ prana) เป็นอย่างดี
ในทางกลับกัน กาแฟ, ชา, แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีน้ำตาลหรืออาหารเค็มจะไปกระตุ้น rajas (หรือความไม่ได้ผ่อนคลายหรือพักผ่อน) ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์และอาหารมันจะทำให้เกิด tamas (ความเฉื่อยชา)
วิธีที่จะช่วยอีกอย่างหนึ่งก็คือ ใช้เวลาสนุกเพลิดเพลินกับธรรมชาติบ้าง ดื่มน้ำเพื่อชะล้างเอาความสกปรกออกไป ทำฟาสติ้ง (หยุดรับประทานอาหารและดื่มแต่น้ำ) เป็นบางครั้ง และทำการนวดเพื่อเร่งการขับสารพิษออกไป รวมทั้งทำโยคะดังท่าที่จะเสนอ 4 ท่าต่อไปนี้เพื่อช่วยให้สงบ, เพิ่มออกซิเจนในเลือด และกระตุ้นอวัยวะและต่อมไร้ท่อให้ทำงาน ซึ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มระดับพลังงานขึ้นได้
1. สะพานเคลื่อน (Setu Bandha Vinyasa)
- นอนหงายลงบนพื้นโดยให้หัวเข่างอ, แยกเท้าออกเท่ากับความกว้างของหัวไหล่ ตั้งสมาธิหายใจลึก ๆ
- หายใจเข้าและค่อย ๆ ยกแขนทั้งสองข้าง, สะโพก และกระดูกสันหลังขึ้นจากพื้น
จินตนาการว่าการเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นจากการหายใจของคุณ ไม่ใช่จากกล้ามเนื้อ พยายามเคลื่อนกระดูกสันหลังทีละข้อ ๆ จากนั้นหายใจออกและกลับไปอยู่ท่าตั้งต้น ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
ผลดี การบริหารง่าย ๆ แบบนี้ทำให้ประสาทผ่อนคลายลงและกระตุ้นการทำงานของต่อมอะดรีนัล เป็นผลให้สร้างพลังงานขึ้นมา
2. ท่าผ่อนคลาย (Apanasana)
- นอนหงายลงบนพื้นโดยให้หัวเข่างอ, เท้าชิดกัน ยกเท้าขึ้นมาและวางมือลงบนเข่า
- หายใจอย่างสม่ำเสมอ เมื่อหายใจออกก็ค่อย ๆ เคลื่อนหัวเข่ามาที่ทรวงอก พอหายใจเข้าก็ให้หัวเข่าเคลื่อนกลับออกไปจนกระทั่งข้อศอกตึง ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
ผลดี ทั้งร่างกายและจิตใจจะทำงานเข้าจังหวะกันผ่านการหายใจ การเคลื่อนไหวหัวเข่าเป็นการนวดหลังส่วนล่าง, กระตุ้นต่อมอะดรีนัล และช่วยกำจัดสารพิษ
ภาพจาก corkedwineandcigarettes
ภาพจาก healthshlok
3. เอกเขนก (Supta Baddha Konasana)
- นำหมอนมาเรียงกัน ใช้หมอนหนุนด้านหนึ่งให้สูงขึ้นแล้วใช้ผ้าห่มม้วนอัดไว้ข้างล่าง ผ้าห่มเหล่านี้ยังช่วยรองรับหัวและข้อศอกด้วย
- นั่งลงบนหมอนเหล่านี้โดยให้ส้นเท้าชนกัน และแขนอยู่หลังลำตัว ค่อย ๆ หงายตัวลง ไปจนขอบหมอนอยู่ในตำแหน่งเหนือเอว
- หลับตาลง หายใจเป็นจังหวะเป็นเวลา 5 นาที
ผลดี ทำให้หายใจได้เต็มและลึก ทำให้รู้สึกสบายและทำให้ระบบประสาทสงบลง
ภาพจาก vitalhealthyoga
4. ยืนด้วยหัวไหล่ (Supported Sarvangasana)
- คุณต้องใช้เพื่อนของคุณช่วยโดยการวางผ้าห่มลงบนเบาะเก้าอี้และวางหมอนลงบนพื้นดังรูป นั่งคร่อมลงบนเก้าอี้โดยนั่งกลับหลัง
- แกว่งขาขึ้นไปบนพนักเก้าอี้และลดลำตัวลงมาจนหัวไหล่ลงมาแตะหมอน (ควรให้เพื่อนช่วยประคองเก้าอี้และตัวคุณเอาไว้ เพื่อความปลอดภัย) หลับตาลง หายใจอย่างธรรมชาติให้นานเท่าที่ยังรู้สึกสบายเสร็จแล้วค่อย ๆ เลื่อนตัวลงมาจากเก้าอี้
ผลดี ช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง การยืนด้วยไหล่เป็นการกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ช่วยให้เมตาบอลิซึมมีความสมดุล
3 วิธีง่าย ๆ เพื่อเพิ่มพลัง
- เช็ดเอาหนังที่แห้งออกไปด้วยแปรงเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำเหลืองและการไหลเวียนของโลหิต ใช้แปรงด้ามยาวขนอ่อน เริ่มแปรงตั้งแต่ตำแหน่งของหัวใจ แปรงออกไปทั้งทางด้านบน ด้านนอก และด้านล่าง หลีกเลี่ยงบริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณผิวหนังที่มีแผลหรือระคายเคือง
- ปลดปล่อยอารมณ์ สะท้อนเอาความรู้สึกที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดออกมา จากนั้นก็หาวิธีผ่อนคลายมันออกมา อาจเป็นการขว้างหินลงน้ำ, เต้นรำ, เขียนจดหมายและเผามันทิ้งอะไรก็ได้ที่ช่วยปลดปล่อยออกมา
- หายใจลึก ๆ เทคนิคการหายใจเป็นการช่วยนวดหน้าท้องจากภายใน ช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยเมตาบอลิซึม หายใจลึก ๆ หาย ๆ ครั้งโดยนับหนึ่งถึงห้า ปล่อยให้หน้าท้องกางออกตอนหายใจเข้า และหดตัวตอนหายใจออก ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก