แผลรองเท้ากัด ปัญหากวนใจที่สร้างความห่างเหินให้กับรองเท้าคู่สวย แก้ไขได้ด้วยวิธีแก้รองเท้ากัดง่าย ๆ รับรองตุ่มใส ตุ่มน้ำที่ผุดขึ้นมาสร้างความเจ็บปวดจะหายได้แน่นอน
แผลรองเท้ากัด เป็นความเจ็บปวดที่ต้องแลกมากับความสวยงาม ซึ่งหลายคนต้องก้มหน้ายอมรับเพราะอดใจไม่ได้ที่จะซื้อรองเท้าสวย ๆ มาสวมใส่ และเมื่อโดนรองเท้ากัดแล้วก็ต้องมาทนกับแผลตุ่มน้ำใส ๆ ที่จะเจาะก็เดี๋ยวจะอักเสบ จะสวมรองเท้าที่คับแน่น เดี๋ยวก็ยิ่งเป็นหนักเข้าไปใหญ่ จะรอให้หายดีก็อาจจะต้องทนสวมรองเท้าแตะกันไปหลายวัน แน่นอนล่ะว่าคงไม่มีใครอยากสวมรองเท้าแตะคู่กับชุดสวย ๆ ไปไหนมาไหนหรอกใช่ไหมล่ะ ถ้าอย่างนั้นรีบมาดูวิธีรักษาแผลรองเท้ากัด จะได้จัดการเจ้าแผลนี้ให้หายเสียที
รองเท้ากัด รักษายังไงดี
เมื่อเราโดนรองเท้ากัดจะทำให้เกิดแผลจากการเสียดสีระหว่างผิวหนังและขอบรองเท้า หากเป็นแผลเล็ก ๆ สามารถใช้พลาสเตอร์ยาปิดแผลได้เลย และเปลี่ยนพลาสเตอร์บ่อย ๆ แผลน่าจะหายดีภายใน 3-4 วัน
แต่สำหรับบางคน อาจถูกรองเท้ากัดจนมีแผลผิวหนังเปิด ถลอก ทำให้รู้สึกแสบแผล หรือกลายเป็นตุ่มพุพอง ซึ่งเราสามารถรักษาแผลรองเท้ากัดได้ด้วยวิธีต่อไปนี้เลย
รักษาแผลถลอก ผิวหนังเปิด
* ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนทำแผล
* ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด (น้ำไหล) เพื่อล้างฝุ่นและคราบสกปรกออกจากแผลและผิวหนังโดยรอบ จากนั้นใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผล เพื่อทำความสะอาดแผลและฆ่าเชื้อโรค
* สามารถใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบ ๆ แผล เพื่อทำความสะอาดผิวหนังได้ แต่ห้ามใช้แอลกอฮอล์เช็ดที่แผลโดยตรง เพราะแอลกอฮอล์จะทำลายเนื้อเยื่อและทำให้รู้สึกแสบแผลมากขึ้น
* ทายาเบตาดีนหรือยาทาแผลสดชนิดครีม หรือขี้ผึ้งที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย โดยใช้ไม้พันสำลีแทนการใช้มือป้ายยาลงบนแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
* ปิดพลาสเตอร์ยา หรือผ้าก๊อซ บริเวณแผลรองเท้ากัด
รักษาแผลตุ่มพองจากการเสียดสี
หากรองเท้ากัดเป็นแผลตุ่มพอง มีของเหลวอยู่ข้างใน แผลลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะค่อย ๆ หายไปเองด้วยกระบวนการรักษาแผลตามธรรมชาติของร่างกายเรา โดยผิวหนังใหม่จะขึ้นแทนที่ตุ่มน้ำ ส่วนของเหลวในตุ่มพองร่างกายก็จะดูดซึมกลับไป และเมื่อแผลแห้ง ผิวหนังด้านนอกก็จะแห้งและหลุดร่อนได้เอง ดังนั้นไม่จำเป็นต้องเจาะตุ่มพอง แต่หากตุ่มพองนั้นใหญ่มาก และอยู่ในจุดที่เดินไม่สะดวก ก็สามารถเจาะตุ่มน้ำได้ ทว่าต้องรักษาความสะอาดขั้นสุด อุปกรณ์ต้องปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผล โดยทำตามขั้นตอนนี้
* ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนทำแผล
* ล้างแผลด้วยสบู่กับน้ำสะอาด (น้ำไหล) เพื่อล้างฝุ่นและคราบสกปรกออกจากแผลและผิวหนังโดยรอบ จากนั้นใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผล เพื่อทำความสะอาดแผลและฆ่าเชื้อโรค
* ใช้เข็มที่ล้างด้วยแอลกอฮอล์จนสะอาด เจาะตุ่มน้ำพองจนของเหลวในตุ่มไหลออกมาหมด โดยเจาะเพียงรูเล็ก ๆ รูเดียวเท่านั้น และอย่าลอกผิวหนังบนแผลออกมาเด็ดขาด หากพบว่าของเหลวเป็นสีขาวขุ่น หรือสีเหลือง แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์
* ใช้ไม้พันสำลีป้ายยารักษาแผลสดชนิดครีม หรือขี้ผึ้งที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ทาลงบนแผลให้ทั่ว
* ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ผ้าพันแผลแบบไม่ติดแผล หรือผ้าก๊อซ สามารถถอดผ้าพันแผลออกได้บ้างเมื่ออยู่ในบ้าน เพื่อลดการอับชื้น และจะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น
* ทายาทุกวันจนกว่าแผลจะหายดี
ข้อควรระวัง
- เพื่อความสะอาดควรเปลี่ยนผ้าปิดแผลทุกวัน พยายามอย่าให้แผลโดนน้ำ
- พยายามอย่าให้แผลไปเสียดสีกับรองเท้าอีก โดยอาจจะใส่รองเท้าหลวม ๆ หรือหากจำเป็นต้องใส่ผ้าใบ ควรสวมถุงเท้าหนา ๆ ด้วยทุกครั้งเพื่อลดการเสียดสีของแผล
- กรณีเป็นผู้ป่วยบางโรคที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย หรือโรคเบาหวานที่แผลหายยาก ไม่ควรเจาะตุ่มพองเองเด็ดขาด
- หมั่นสังเกตแผลทุกวันด้วย หากพบว่าแผลเป็นหนอง มีของเหลวสีขาวขุ่น หรือสีเหลือง สีเขียว ไหลออกมา หรือเป็นไข้ มีอาการปวดบวมมาก ตุ่มพองอักเสบมากขึ้น รู้สึกร้อนบริเวณรอบบาดแผล อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วแผลรองเท้ากัดจะหายได้ในเวลาไม่นาน แต่อาจต้องทนกับการใส่รองเท้าแตะไปไหนมาไหนสัก 3-4 วัน จนกว่าแผลจะเริ่มแห้งและหายดี ซึ่งใครที่ไม่อยากเจ็บปวดกับแผลรองเท้ากัดอีก เรามีวิธีป้องกันรองเท้ากัดมาฝากด้วย
- 6 วิธีป้องกันรองเท้ากัด เลือกใช้ซะเท้าจะได้ไม่เป็นแผล
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 20 ตุลาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลจาก
รามา แชนแนล, healthline, nhs.uk, mayoclinic.org
แผลรองเท้ากัด เป็นความเจ็บปวดที่ต้องแลกมากับความสวยงาม ซึ่งหลายคนต้องก้มหน้ายอมรับเพราะอดใจไม่ได้ที่จะซื้อรองเท้าสวย ๆ มาสวมใส่ และเมื่อโดนรองเท้ากัดแล้วก็ต้องมาทนกับแผลตุ่มน้ำใส ๆ ที่จะเจาะก็เดี๋ยวจะอักเสบ จะสวมรองเท้าที่คับแน่น เดี๋ยวก็ยิ่งเป็นหนักเข้าไปใหญ่ จะรอให้หายดีก็อาจจะต้องทนสวมรองเท้าแตะกันไปหลายวัน แน่นอนล่ะว่าคงไม่มีใครอยากสวมรองเท้าแตะคู่กับชุดสวย ๆ ไปไหนมาไหนหรอกใช่ไหมล่ะ ถ้าอย่างนั้นรีบมาดูวิธีรักษาแผลรองเท้ากัด จะได้จัดการเจ้าแผลนี้ให้หายเสียที
รองเท้ากัด รักษายังไงดี
เมื่อเราโดนรองเท้ากัดจะทำให้เกิดแผลจากการเสียดสีระหว่างผิวหนังและขอบรองเท้า หากเป็นแผลเล็ก ๆ สามารถใช้พลาสเตอร์ยาปิดแผลได้เลย และเปลี่ยนพลาสเตอร์บ่อย ๆ แผลน่าจะหายดีภายใน 3-4 วัน
แต่สำหรับบางคน อาจถูกรองเท้ากัดจนมีแผลผิวหนังเปิด ถลอก ทำให้รู้สึกแสบแผล หรือกลายเป็นตุ่มพุพอง ซึ่งเราสามารถรักษาแผลรองเท้ากัดได้ด้วยวิธีต่อไปนี้เลย
รักษาแผลถลอก ผิวหนังเปิด
* ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนทำแผล
* ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด (น้ำไหล) เพื่อล้างฝุ่นและคราบสกปรกออกจากแผลและผิวหนังโดยรอบ จากนั้นใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผล เพื่อทำความสะอาดแผลและฆ่าเชื้อโรค
* สามารถใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบ ๆ แผล เพื่อทำความสะอาดผิวหนังได้ แต่ห้ามใช้แอลกอฮอล์เช็ดที่แผลโดยตรง เพราะแอลกอฮอล์จะทำลายเนื้อเยื่อและทำให้รู้สึกแสบแผลมากขึ้น
* ทายาเบตาดีนหรือยาทาแผลสดชนิดครีม หรือขี้ผึ้งที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย โดยใช้ไม้พันสำลีแทนการใช้มือป้ายยาลงบนแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
* ปิดพลาสเตอร์ยา หรือผ้าก๊อซ บริเวณแผลรองเท้ากัด
รักษาแผลตุ่มพองจากการเสียดสี
หากรองเท้ากัดเป็นแผลตุ่มพอง มีของเหลวอยู่ข้างใน แผลลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะค่อย ๆ หายไปเองด้วยกระบวนการรักษาแผลตามธรรมชาติของร่างกายเรา โดยผิวหนังใหม่จะขึ้นแทนที่ตุ่มน้ำ ส่วนของเหลวในตุ่มพองร่างกายก็จะดูดซึมกลับไป และเมื่อแผลแห้ง ผิวหนังด้านนอกก็จะแห้งและหลุดร่อนได้เอง ดังนั้นไม่จำเป็นต้องเจาะตุ่มพอง แต่หากตุ่มพองนั้นใหญ่มาก และอยู่ในจุดที่เดินไม่สะดวก ก็สามารถเจาะตุ่มน้ำได้ ทว่าต้องรักษาความสะอาดขั้นสุด อุปกรณ์ต้องปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผล โดยทำตามขั้นตอนนี้
* ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนทำแผล
* ล้างแผลด้วยสบู่กับน้ำสะอาด (น้ำไหล) เพื่อล้างฝุ่นและคราบสกปรกออกจากแผลและผิวหนังโดยรอบ จากนั้นใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผล เพื่อทำความสะอาดแผลและฆ่าเชื้อโรค
* ใช้เข็มที่ล้างด้วยแอลกอฮอล์จนสะอาด เจาะตุ่มน้ำพองจนของเหลวในตุ่มไหลออกมาหมด โดยเจาะเพียงรูเล็ก ๆ รูเดียวเท่านั้น และอย่าลอกผิวหนังบนแผลออกมาเด็ดขาด หากพบว่าของเหลวเป็นสีขาวขุ่น หรือสีเหลือง แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์
* ใช้ไม้พันสำลีป้ายยารักษาแผลสดชนิดครีม หรือขี้ผึ้งที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ทาลงบนแผลให้ทั่ว
* ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ผ้าพันแผลแบบไม่ติดแผล หรือผ้าก๊อซ สามารถถอดผ้าพันแผลออกได้บ้างเมื่ออยู่ในบ้าน เพื่อลดการอับชื้น และจะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น
* ทายาทุกวันจนกว่าแผลจะหายดี
ข้อควรระวัง
- เพื่อความสะอาดควรเปลี่ยนผ้าปิดแผลทุกวัน พยายามอย่าให้แผลโดนน้ำ
- พยายามอย่าให้แผลไปเสียดสีกับรองเท้าอีก โดยอาจจะใส่รองเท้าหลวม ๆ หรือหากจำเป็นต้องใส่ผ้าใบ ควรสวมถุงเท้าหนา ๆ ด้วยทุกครั้งเพื่อลดการเสียดสีของแผล
- กรณีเป็นผู้ป่วยบางโรคที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย หรือโรคเบาหวานที่แผลหายยาก ไม่ควรเจาะตุ่มพองเองเด็ดขาด
- หมั่นสังเกตแผลทุกวันด้วย หากพบว่าแผลเป็นหนอง มีของเหลวสีขาวขุ่น หรือสีเหลือง สีเขียว ไหลออกมา หรือเป็นไข้ มีอาการปวดบวมมาก ตุ่มพองอักเสบมากขึ้น รู้สึกร้อนบริเวณรอบบาดแผล อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วแผลรองเท้ากัดจะหายได้ในเวลาไม่นาน แต่อาจต้องทนกับการใส่รองเท้าแตะไปไหนมาไหนสัก 3-4 วัน จนกว่าแผลจะเริ่มแห้งและหายดี ซึ่งใครที่ไม่อยากเจ็บปวดกับแผลรองเท้ากัดอีก เรามีวิธีป้องกันรองเท้ากัดมาฝากด้วย
- 6 วิธีป้องกันรองเท้ากัด เลือกใช้ซะเท้าจะได้ไม่เป็นแผล
รามา แชนแนล, healthline, nhs.uk, mayoclinic.org