สรรพคุณของไพล สมุนไพรที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ รักษาอาการได้สารพัด โดยเฉพาะแก้ปวด บวม ช้ำ สมานแผลก็เริด
แม้ "ไพล" จะถูกนำมาใช้รักษาอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหรือระบบทางเดินอาหารเสียมากกว่า แต่ไพลก็ยังมีดีตรงที่ช่วยบำรุงผิวพรรณได้เช่นเดียวกัน อย่างที่บอกไปว่า ถ้านำไพลไปต้มน้ำอาบ ถูนวดตัวจะช่วยบำรุงผิวพรรณได้ นั่นเพราะในไพลมีสารสำคัญคือ สารในกลุ่มเคอร์คิวมินอยด์ (curcuminoids) เหมือนกับที่พบในขมิ้น ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวขาว ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ
วิธีใช้ไพลรักษาอาการต่าง ๆ
- สูตรน้ำมันไพล
คนโบราณมีการนำไพลมาทอดเป็นน้ำมันไพลเพื่อใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยมีส่วนประกอบคือ
- หัวไพลสดหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ 2 ถ้วยตวง
- น้ำมันมะพร้าว 1 ถ้วยตวง
- การบูร 1 ช้อนชา
- ดอกกานพลู 1 ช้อนชา
วิธีทำ
- เทน้ำมันมะพร้าวลงกระทะแล้วยกขึ้นตั้งไฟ พอน้ำมันร้อนจัดให้ใส่ไพลที่หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ เตรียมไว้แล้วลงไปทอดในน้ำมัน
- ลดไฟลงให้ร้อนปานกลาง ทอดจนไพลกรอบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ (ระวังไหม้) จะได้น้ำมันเป็นสีเหลืองใส ช้อนเอาเนื้อไพลออก
- จากนั้นตำกานพลูให้ป่น นำลงทอดในน้ำมันต่อ และลดไฟให้เหลือไฟอ่อน ๆ เพื่อกันไม่ให้น้ำมันที่อยู่ในกานพลูระเหยไป
- ทอดประมาณ 10 นาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง พอน้ำมันอุ่นจึงผสมการบูรลงในน้ำมัน แล้วเทลงภาชนะที่สามารถปิดฝาได้สนิท เพื่อป้องกันการระเหย
- เมื่อน้ำมันเย็นดีแล้ว ให้เขย่าหรือใช้ช้อนคนจนเข้ากันดี แล้วแบ่งบรรจุขวดเล็กปิดฝาให้แน่น เพื่อนำไปใช้ต่อไป
สรรพคุณและวิธีใช้
- แก้แผลช้ำ ให้ทาน้ำมันเพียงบาง ๆ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น (ก่อนทาน้ำมันควรทำความสะอาดแผลทุกครั้ง)
- แก้เคล็ด-บวมช้ำ ทาน้ำมันให้ทั่วบริเวณที่มีอาการ ใช้ฝ่ามือนวดเบา ๆ ควรทาน้ำมันสัก 3-4 ครั้งต่อวัน
- แก้ข้อบวมและเหน็บชา ควรทาน้ำมันให้โชก แล้วใช้ขวดใส่น้ำร้อนห่อด้วยผ้า ประคบบริเวณที่มีอาการวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาที่มีอาการปวดชา
- สูตรรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
นำหัวไพลมาฝนบริเวณที่มีอาการ อาจจะฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วนำมาถูก็ได้ หรือนำเหง้าไพล 1 เหง้ามาตำแล้วคั้นเอาน้ำมาถูนวดบริเวณที่มีอาการ นอกจากนี้ยังสามารถนำไพลไปตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อย คลุกให้เข้ากันแล้วนำไปห่อลูกประคบ นำลูกประคบไปอังไอน้ำให้ความร้อนแล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็น
- สูตรรักษาโรคผิวหนัง
นำเหง้าไพลมาบดเป็นผง ผสมน้ำ หรือนำเหง้าสดมาล้างให้สะอาดแล้วนำไปฝน เอาน้ำมาทาบริเวณที่มีปัญหา
- สูตรแก้นิ้วล็อก
ข้อมูลจากรายการนารีกระจ่าง ทางช่องไทยพีบีเอส ระบุว่า ให้นำไพลสด ขิงสด ตะไคร้สด มาหั่นสไลด์ นำไปต้มในน้ำเปล่าให้เดือด ทิ้งไว้จนอุ่น จากนั้นจึงเอามือจุ่มลงไป แช่ไว้แล้วบีบนวดสัก 5-10 นาที จะช่วยบรรเทาอาการนิ้วล็อกได้
- สูตรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม
นำเหง้าแห้งบดเป็นผง ประมาณ 1/2 ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย แล้วดื่ม
- สูตรแก้บิด ท้องเสีย
นำเหง้าไพลสด 4-5 แว่นมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือนำเหง้าไปฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน
- สูตรยารักษาหืด
ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน แล้วนำผงยาที่ได้มา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น
- สูตรยาแก้เล็บถอด
ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง
- สูตรบำรุงผิวหนังและสมานแผล
ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบาง ๆ ต้มรวมกับสมุนไพรอื่น ๆ เนื่องจากไพลมีน้ำมันหอมระเหย
ไพล กับ ขมิ้น ต่างกันอย่างไร
บางคนจำสับสนระหว่าง ไพล กับ ขมิ้น เพราะเห็นมีสีเหลืองเหมือนกัน แต่ถึงกระนั้นก็สามารถแยกออกได้ไม่ยากนัก โดยขมิ้นจะมีหัวเล็กกว่าไพล แต่ไพลจะมีหัวใหญ่กว่าจะมีลักษณะใกล้เคียงกับขิงมากกว่านั่นเอง
ขมิ้นชัน
- ขมิ้นชัน สมุนไพรชั้นเลิศ ช่วยดูแลสุขภาพ
ข้อควรระวังในการใช้ไพล
แม้การทดสอบพิษในห้องทดลองจะไม่พบอาการเป็นพิษเมื่อใช้ไพลในขนาดที่ใช้รักษาปกติ แต่ก็มีคำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานไพลในปริมาณมากหรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะจะไปสะสมในตับทำให้เป็นพิษต่อตับได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นไพลหรือสมุนไพรชนิดไหน หากจะนำมารับประทานควรศึกษาวิธีใช้อย่างรอบคอบเสียก่อน หรือหากมีอาการป่วยและโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันก่อนเพื่อความปลอดภัย
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 มีนาคม 2561
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โดย ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร
- ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
- กรมวิชาการเกษตร
- samunpri
คนไทยสมัยก่อนมักนำไพลมาเป็นส่วนประกอบในการทำลูกประคบ
ด้วยมีฤทธิ์แก้ฟกช้ำ ปวดบวม ปวดเมื่อย และนำมาฝนทา สมานแผลต่าง ๆ นานา
อย่างที่เราเห็นในละครบุพเพสันนิวาส
ที่พี่หมื่นฝนไพลให้แม่หญิงการะเกดใช้ทาหลังรักษาแผลโดนโบย แต่จริง ๆ แล้ว "ไพล" ไม่ได้มีสรรพคุณดี ๆ แค่ใช้ภายนอกเท่านั้น ประโยชน์ของไพลยังมีอีกมากมายที่กระปุกดอทคอมอยากชวนทุกคนไปรู้จักกัน
ไพล คืออะไร รู้จักไว้ได้ใช้ประโยชน์
ไพล เป็นสมุนไพรไทยที่มีชื่อท้องถิ่นหลากหลาย เช่น ว่านไพล, ไพลเหลือง, สีไพล, ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ (ภาคกลาง), ว่านปอบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr. หรือ Zingiber cassumunar Roxb. จัดเป็นสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae พบปลูกในทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของไพล
ไพล จัดเป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในมีสีเหลืองแกมเขียว ซึ่งส่วนนี้จะมีกลิ่นเฉพาะตัว หากเป็นเหง้าสดจะฉ่ำน้ำ มีรสฝาด ขื่น เอียน ร้อนซ่า แต่หากเป็นเหง้าแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย
ตัวเหง้าจะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ มีกาบหรือโคนใบสีเขียวเข้มหุ้นซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะเรียวแหลม โคนใบมนหรือเว้ารูปหัวใจ ใบประดับสีม่วง ดอกเป็นรูปไข่หรือยาวรี ดูคล้ายกระสวย แทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ผลเป็นผลแห้ง รูปกลม
สรรพคุณของไพล ประโยชน์ไม่ใช่น้อย ๆ
ไพลเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่ครัวเรือนไทยมาช้านานแล้ว ถือเป็นมรดกที่ควบคู่กับวิถีชีวิตคนไทยเลยก็ว่าได้ โดยตามตำรายาไทยสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของไพลมาใช้เป็นยาได้แทบทั้งนั้น อย่างเช่น
- เหง้า
จัดว่าเป็นส่วนที่มีประโยชน์มากที่สุดของไพล เพราะสามารถนำมาใช้รักษาอาการต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้งนำมาเป็นส่วนประกอบของลูกประคบ หรือนำมาฝนเพื่อใช้สมานแผล แก้ฟกช้ำ ปวด บวม เหน็บชา เส้นตึง ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง ทาบรรเทาอาการผื่นคันจากการแพ้ โรคผิวหนัง แก้ฝี ดูดหนอง เป็นยากันเล็บถอด
ขณะที่น้ำคั้นหัวไพลยังมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่และช่วยลดอาการปวด เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง หรือหากนำไปต้มน้ำอาบ ถูนวดตัวก็ช่วยบำรุงผิวพรรณได้อีก หญิงเพิ่งคลอดบุตรก็สามารถนำเหง้าไปต้มน้ำอาบหลังคลอดได้
หากนำมารับประทานเป็นยาภายใน ก็มีสรรพคุณช่วยแก้บิด แก้ท้องเสีย แก้หืด ผสมยาอื่น เช่น ตำรับยาประสะไพล เป็นยารับประทาน ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับระดู ขับโลหิตเสีย
ทั้งนี้มีการพบว่า น้ำมันหอมระเหยในเหง้ามีสารออกฤทธิ์มากมาย ซึ่งการศึกษาในห้องทดลองพบว่าเป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยลดอาการบวมและอาการปวดได้ จึงช่วยยับยั้งอาการอักเสบด้วยกระบวนการเดียวกับยาแก้ปวดและยาลดอาการอักเสบแผนปัจจุบันเลยทีเดียว ปัจจุบันจึงมีการนำสารสกัดไพลมาผสมในครีมหรือขี้ผึ้งเพื่อทาบรรเทาอาการปวด
นอกจากนี้เหง้ายังมีสาร Veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม โดยมีการทดลองให้ผู้ป่วยโรคหืดรับประทานเหง้าไพลแล้วพบว่า ช่วยรักษาโรคหืดได้ผลทั้งหืดชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
- ราก
มีรสขื่นเอียน มีสรรพคุณช่วยขับโลหิต ขับระดูให้มาตามปกติ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ท้องผูก เคล็ดขัดยอก โรคผิวหนัง โรคอันบังเกิดแต่โลหิตอันออกทางปากและจมูก แก้อาเจียนเป็นโลหิต
- ดอก
มีรสขื่น ช่วยกระจายเลือดที่เป็นลิ่มก้อน กระจายโลหิตอันเกิดแต่อภิญญาณธาตุ ขับโลหิต แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้เลือดกำเดาออกทางจมูก แก้ช้ำใน ขับระดูประจำเดือน ทำลายเลือดเสีย
- ต้น
มีรสฝาด ขื่นเอียน แก้ธาตุพิการ แก้อุจจาระพิการ
- ใบ
ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด เช่น sabinene, β-pinene, caryophyllene oxide และ caryophyllene มีรสขื่นเอียน ช่วยแก้ไข้ แก้ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ปวดเมื่อย
- ช่อดอก
ต้มจิ้มน้ำพริก เป็นผักได้
ตำรับยาจากไพล
ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้เหง้าไพล ในยาหลายขนาน เช่น
- ยาประสะกานพลู นำไพลมาผสมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เช่น ดอกกานพลู เหง้าขิงแห้ง เทียนดำ เทียนขาว ฯลฯ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้ไม่ควรใช้ยานี้
- ยาประสะไพล ประกอบด้วยเหง้าไพลผสมกับผิวมะกรูด การบูร ฯลฯ ใช้ในสตรีที่ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ เพื่อช่วยขับระดูให้ออกมากขึ้น และขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอดบุตร แต่ไม่ควรใช้ในหญิงที่มีระดูมากกว่าปกติ หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงตกเลือดหลังคลอด
- ยาแก้ลมอัมพฤกษ์ ประกอบด้วยเหง้าไพล เหง้าขมิ้นอ้อย เหง้าข่า ผักเสี้ยนผี การบูร ผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ ใช้บรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา แต่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และเด็ก
- ยาผสมเถาวัลย์เปรียง ประกอบด้วยเหง้าไพลผสมกับเถาวัลย์เปรียง และสมุนไพรอื่น ๆ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร เพราะเถาวัลย์เปรียงมีกลไกออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
ไพล คืออะไร รู้จักไว้ได้ใช้ประโยชน์
ไพล เป็นสมุนไพรไทยที่มีชื่อท้องถิ่นหลากหลาย เช่น ว่านไพล, ไพลเหลือง, สีไพล, ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ (ภาคกลาง), ว่านปอบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr. หรือ Zingiber cassumunar Roxb. จัดเป็นสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae พบปลูกในทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของไพล
ไพล จัดเป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในมีสีเหลืองแกมเขียว ซึ่งส่วนนี้จะมีกลิ่นเฉพาะตัว หากเป็นเหง้าสดจะฉ่ำน้ำ มีรสฝาด ขื่น เอียน ร้อนซ่า แต่หากเป็นเหง้าแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย
ตัวเหง้าจะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ มีกาบหรือโคนใบสีเขียวเข้มหุ้นซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะเรียวแหลม โคนใบมนหรือเว้ารูปหัวใจ ใบประดับสีม่วง ดอกเป็นรูปไข่หรือยาวรี ดูคล้ายกระสวย แทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ผลเป็นผลแห้ง รูปกลม
สรรพคุณของไพล ประโยชน์ไม่ใช่น้อย ๆ
ไพลเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่ครัวเรือนไทยมาช้านานแล้ว ถือเป็นมรดกที่ควบคู่กับวิถีชีวิตคนไทยเลยก็ว่าได้ โดยตามตำรายาไทยสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของไพลมาใช้เป็นยาได้แทบทั้งนั้น อย่างเช่น
- เหง้า
จัดว่าเป็นส่วนที่มีประโยชน์มากที่สุดของไพล เพราะสามารถนำมาใช้รักษาอาการต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้งนำมาเป็นส่วนประกอบของลูกประคบ หรือนำมาฝนเพื่อใช้สมานแผล แก้ฟกช้ำ ปวด บวม เหน็บชา เส้นตึง ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง ทาบรรเทาอาการผื่นคันจากการแพ้ โรคผิวหนัง แก้ฝี ดูดหนอง เป็นยากันเล็บถอด
ขณะที่น้ำคั้นหัวไพลยังมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่และช่วยลดอาการปวด เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง หรือหากนำไปต้มน้ำอาบ ถูนวดตัวก็ช่วยบำรุงผิวพรรณได้อีก หญิงเพิ่งคลอดบุตรก็สามารถนำเหง้าไปต้มน้ำอาบหลังคลอดได้
หากนำมารับประทานเป็นยาภายใน ก็มีสรรพคุณช่วยแก้บิด แก้ท้องเสีย แก้หืด ผสมยาอื่น เช่น ตำรับยาประสะไพล เป็นยารับประทาน ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับระดู ขับโลหิตเสีย
ทั้งนี้มีการพบว่า น้ำมันหอมระเหยในเหง้ามีสารออกฤทธิ์มากมาย ซึ่งการศึกษาในห้องทดลองพบว่าเป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยลดอาการบวมและอาการปวดได้ จึงช่วยยับยั้งอาการอักเสบด้วยกระบวนการเดียวกับยาแก้ปวดและยาลดอาการอักเสบแผนปัจจุบันเลยทีเดียว ปัจจุบันจึงมีการนำสารสกัดไพลมาผสมในครีมหรือขี้ผึ้งเพื่อทาบรรเทาอาการปวด
นอกจากนี้เหง้ายังมีสาร Veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม โดยมีการทดลองให้ผู้ป่วยโรคหืดรับประทานเหง้าไพลแล้วพบว่า ช่วยรักษาโรคหืดได้ผลทั้งหืดชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
- ราก
มีรสขื่นเอียน มีสรรพคุณช่วยขับโลหิต ขับระดูให้มาตามปกติ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ท้องผูก เคล็ดขัดยอก โรคผิวหนัง โรคอันบังเกิดแต่โลหิตอันออกทางปากและจมูก แก้อาเจียนเป็นโลหิต
- ดอก
มีรสขื่น ช่วยกระจายเลือดที่เป็นลิ่มก้อน กระจายโลหิตอันเกิดแต่อภิญญาณธาตุ ขับโลหิต แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้เลือดกำเดาออกทางจมูก แก้ช้ำใน ขับระดูประจำเดือน ทำลายเลือดเสีย
- ต้น
มีรสฝาด ขื่นเอียน แก้ธาตุพิการ แก้อุจจาระพิการ
- ใบ
ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด เช่น sabinene, β-pinene, caryophyllene oxide และ caryophyllene มีรสขื่นเอียน ช่วยแก้ไข้ แก้ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ปวดเมื่อย
- ช่อดอก
ต้มจิ้มน้ำพริก เป็นผักได้
ตำรับยาจากไพล
ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้เหง้าไพล ในยาหลายขนาน เช่น
- ยาประสะกานพลู นำไพลมาผสมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เช่น ดอกกานพลู เหง้าขิงแห้ง เทียนดำ เทียนขาว ฯลฯ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้ไม่ควรใช้ยานี้
- ยาประสะไพล ประกอบด้วยเหง้าไพลผสมกับผิวมะกรูด การบูร ฯลฯ ใช้ในสตรีที่ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ เพื่อช่วยขับระดูให้ออกมากขึ้น และขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอดบุตร แต่ไม่ควรใช้ในหญิงที่มีระดูมากกว่าปกติ หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงตกเลือดหลังคลอด
- ยาแก้ลมอัมพฤกษ์ ประกอบด้วยเหง้าไพล เหง้าขมิ้นอ้อย เหง้าข่า ผักเสี้ยนผี การบูร ผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ ใช้บรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา แต่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และเด็ก
- ยาผสมเถาวัลย์เปรียง ประกอบด้วยเหง้าไพลผสมกับเถาวัลย์เปรียง และสมุนไพรอื่น ๆ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร เพราะเถาวัลย์เปรียงมีกลไกออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
ไพล กับสรรพคุณบำรุงผิว
แม้ "ไพล" จะถูกนำมาใช้รักษาอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหรือระบบทางเดินอาหารเสียมากกว่า แต่ไพลก็ยังมีดีตรงที่ช่วยบำรุงผิวพรรณได้เช่นเดียวกัน อย่างที่บอกไปว่า ถ้านำไพลไปต้มน้ำอาบ ถูนวดตัวจะช่วยบำรุงผิวพรรณได้ นั่นเพราะในไพลมีสารสำคัญคือ สารในกลุ่มเคอร์คิวมินอยด์ (curcuminoids) เหมือนกับที่พบในขมิ้น ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวขาว ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ
วิธีใช้ไพลรักษาอาการต่าง ๆ
- สูตรน้ำมันไพล
คนโบราณมีการนำไพลมาทอดเป็นน้ำมันไพลเพื่อใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยมีส่วนประกอบคือ
- หัวไพลสดหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ 2 ถ้วยตวง
- น้ำมันมะพร้าว 1 ถ้วยตวง
- การบูร 1 ช้อนชา
- ดอกกานพลู 1 ช้อนชา
วิธีทำ
- เทน้ำมันมะพร้าวลงกระทะแล้วยกขึ้นตั้งไฟ พอน้ำมันร้อนจัดให้ใส่ไพลที่หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ เตรียมไว้แล้วลงไปทอดในน้ำมัน
- ลดไฟลงให้ร้อนปานกลาง ทอดจนไพลกรอบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ (ระวังไหม้) จะได้น้ำมันเป็นสีเหลืองใส ช้อนเอาเนื้อไพลออก
- จากนั้นตำกานพลูให้ป่น นำลงทอดในน้ำมันต่อ และลดไฟให้เหลือไฟอ่อน ๆ เพื่อกันไม่ให้น้ำมันที่อยู่ในกานพลูระเหยไป
- ทอดประมาณ 10 นาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง พอน้ำมันอุ่นจึงผสมการบูรลงในน้ำมัน แล้วเทลงภาชนะที่สามารถปิดฝาได้สนิท เพื่อป้องกันการระเหย
- เมื่อน้ำมันเย็นดีแล้ว ให้เขย่าหรือใช้ช้อนคนจนเข้ากันดี แล้วแบ่งบรรจุขวดเล็กปิดฝาให้แน่น เพื่อนำไปใช้ต่อไป
สรรพคุณและวิธีใช้
- แก้แผลช้ำ ให้ทาน้ำมันเพียงบาง ๆ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น (ก่อนทาน้ำมันควรทำความสะอาดแผลทุกครั้ง)
- แก้เคล็ด-บวมช้ำ ทาน้ำมันให้ทั่วบริเวณที่มีอาการ ใช้ฝ่ามือนวดเบา ๆ ควรทาน้ำมันสัก 3-4 ครั้งต่อวัน
- แก้ข้อบวมและเหน็บชา ควรทาน้ำมันให้โชก แล้วใช้ขวดใส่น้ำร้อนห่อด้วยผ้า ประคบบริเวณที่มีอาการวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาที่มีอาการปวดชา
- สูตรรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
นำหัวไพลมาฝนบริเวณที่มีอาการ อาจจะฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วนำมาถูก็ได้ หรือนำเหง้าไพล 1 เหง้ามาตำแล้วคั้นเอาน้ำมาถูนวดบริเวณที่มีอาการ นอกจากนี้ยังสามารถนำไพลไปตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อย คลุกให้เข้ากันแล้วนำไปห่อลูกประคบ นำลูกประคบไปอังไอน้ำให้ความร้อนแล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็น
- สูตรรักษาโรคผิวหนัง
นำเหง้าไพลมาบดเป็นผง ผสมน้ำ หรือนำเหง้าสดมาล้างให้สะอาดแล้วนำไปฝน เอาน้ำมาทาบริเวณที่มีปัญหา
- สูตรแก้นิ้วล็อก
ข้อมูลจากรายการนารีกระจ่าง ทางช่องไทยพีบีเอส ระบุว่า ให้นำไพลสด ขิงสด ตะไคร้สด มาหั่นสไลด์ นำไปต้มในน้ำเปล่าให้เดือด ทิ้งไว้จนอุ่น จากนั้นจึงเอามือจุ่มลงไป แช่ไว้แล้วบีบนวดสัก 5-10 นาที จะช่วยบรรเทาอาการนิ้วล็อกได้
- สูตรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม
นำเหง้าแห้งบดเป็นผง ประมาณ 1/2 ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย แล้วดื่ม
- สูตรแก้บิด ท้องเสีย
นำเหง้าไพลสด 4-5 แว่นมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือนำเหง้าไปฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน
- สูตรยารักษาหืด
ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน แล้วนำผงยาที่ได้มา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น
- สูตรยาแก้เล็บถอด
ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง
- สูตรบำรุงผิวหนังและสมานแผล
ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบาง ๆ ต้มรวมกับสมุนไพรอื่น ๆ เนื่องจากไพลมีน้ำมันหอมระเหย
ไพล กับ ขมิ้น ต่างกันอย่างไร
บางคนจำสับสนระหว่าง ไพล กับ ขมิ้น เพราะเห็นมีสีเหลืองเหมือนกัน แต่ถึงกระนั้นก็สามารถแยกออกได้ไม่ยากนัก โดยขมิ้นจะมีหัวเล็กกว่าไพล แต่ไพลจะมีหัวใหญ่กว่าจะมีลักษณะใกล้เคียงกับขิงมากกว่านั่นเอง
ขมิ้นชัน
ข้อควรระวังในการใช้ไพล
แม้การทดสอบพิษในห้องทดลองจะไม่พบอาการเป็นพิษเมื่อใช้ไพลในขนาดที่ใช้รักษาปกติ แต่ก็มีคำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานไพลในปริมาณมากหรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะจะไปสะสมในตับทำให้เป็นพิษต่อตับได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นไพลหรือสมุนไพรชนิดไหน หากจะนำมารับประทานควรศึกษาวิธีใช้อย่างรอบคอบเสียก่อน หรือหากมีอาการป่วยและโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันก่อนเพื่อความปลอดภัย
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 มีนาคม 2561
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โดย ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร
- ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
- กรมวิชาการเกษตร
- samunpri