ไข้เลือดออก 10 เรื่องนี้อยากบอกให้รู้ไว้

 
          โรคไข้เลือดออก โรคที่มียุงลายเป็นพาหะ และเป็นโรคระบาดหน้าฝนที่ต้องระวังให้ดี เพราะมีคนไม่น้อยที่ยังไม่กระจ่างกับโรคไข้เลือดออกเท่าไร
         
          ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ ความจริงข้อนี้รู้ดีกันอยู่แล้ว แต่โรคไข้เลือดออกอันตรายแค่ไหน อาการไข้เลือดออกระยะเริ่มต้นสังเกตจากอะไร เชื่อไหมคะว่าหลายคนยังสับสนโรคไข้เลือดออกกับโรคไข้หวัดใหญ่กั­­­นอยู่เลย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย มารู้จักโรคไข้เลือดออกให้มากขึ้นกันดีกว่า

ไข้เลือดออก
 


 1. ไข้เลือดออกอันตราย แต่ไม่ถึงตายถ้ารักษาทัน

          โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ที่มียุงเป็น­­­พาหะนำเชื้อมาให้ แต่โรคไข้เลือดออกที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน มักจะเป็นไข้เลือดออกที่แสดงอาการมีไข้ ตัวร้อน ปวดศีรษะ ผื่นแดงขึ้นใต้ผิวหนัง และมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งหากเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างทันท่วงที ความเสี่ยงต่อชีวิตก็แทบจะเป็นศูนย์ แต่อาจต้องนอนซมกับอาการป่วยราว 10 วัน ซึ่งควรดื่มน้ำและพักผ่อนให้มาก ๆ ในช่วงนี้

          ทว่าในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกบางรายอาจมีอาการหนักภายใน 3-5 วันนับจากได้รับเชื้อไวรัส โดยอาจมีไข้สูงจนเสี่ยงต่อภาวะช็อก หรืออาจมีเลือดออกภายในร่างกาย เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ เลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือเลือดออกบริเวณอื่น ๆ ซึ่งเมื่อป่วยก็ควรสังเกตอาการตัวเองให้ดี โดยเฉพาะหากใครเพิ่งโดนยุงกัดมาแล้วป่วย รีบเช็กเลยว่าไข้สูงถึง 39-40 องศาหรือไม่ มีจุดแดงเล็ก ๆ ใต้ผิวหนัง หรือถ่ายเป็นสีดำคล้ายมีเลือดปนหรือเปล่า ถ้ามีอาการเหล่านี้รีบพาตัวเองไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดนะคะ

 2. อาการไข้เลือดออก ป่วยแล้วกลับมาป่วยได้อีกนะ

          โรคไข้เลือดออกจัดเป็นโรคระบาดที่มีอยู่ด้วยกันถึง 4 สายพันธุ์ (DEN1-4) โดยผลัดเปลี่ยนกันมาระบาดตามแต่ความชุกที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงหมายความว่า เราสามารถกลับมาเป็นโรคไข้เลือดออกได้ถึง 4 ครั้งในช่วงชีวิตหนึ่ง ซึ่งวิธีที่จะรอดจากโรคไข้เลือดได้ดีที่สุดก็ควรกำจัดแหล่งเพาะ­­­พันธุ์ยุงลายในบ้านทุกจุด รวมถึงป้องกันตัวเองจากการโดนยุงลายกัดด้วยล่ะ

ไข้เลือดออก

 3. สาเหตุไข้เลือดออก ยุงลายตัวเมียเท่านั้นที่เป็นพาหะ

          เหตุผลคือ ยุงลายตัวเมียต้องการโปรตีนจากเลือดของเราไปเพิ่มในกระบวนการสร­­­้างไข่ของตัวมันเอง ดังนั้นยุงลายตัวเมียเลยจ้องแต่จะดูดเลือดจากมนุษย์ให้ได้มากที­­­่สุด ความเสี่ยงโรคไข้เลือดออกจึงมาจากยุงลายตัวเมียเท่านั้นค่ะ ส่วนเจ้ายุงตัวผู้จะชอบหากินตามต้นไม้และพืชมากกว่า

          นอกจากนี้ยุงลายตัวเมียที่แฝงเชื้อไวรัสเด็งกี่มาด้วยก็มักจะออ­­­กหาเหยื่อในช่วงเวลากลางวันมากกว่ากลางคืนอีกต่างหากนะ ฉะนั้นหากเป็นไปได้ควรระมัดระวังยุงกัดในช่วงกลางวันให้ดี แต่ทั้งนี้ช่วงเวลาไหน ๆ ก็อย่ายอมให้ยุงมาดูดเลือดเลยน่าจะปลอดภัยกว่า

 4. วัฏจักรธรรมชาติช่วยลดความเสี่ยงโรคไข้เลือดออกได้

          ยุงเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่วางไข่ไปทั่ว แต่ไข่ยุงมักจะไม่ค่อยอยู่รอดหากธรรมชาติ ณ จุดนั้น ๆ ค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะไข่ยุงมักจะเป็นอาหารอันโอชะของเหล่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ­­­อย่างกบ เขียด อึ่งอ่าง แมงมุม และเต่าทอง รวมไปถึงปลาหางนกยูงก็เป็นมิตรแท้สำหรับการป้องกันการแพร่พันธุ­­­์ของยุงลายได้อีกทางด้วย หรือจะป้องกันยุงมาวอแวด้วยการปลูกต้นตะไคร้หอมรอบ ๆ บ้านก็เวิร์กพอสมควร ดังนั้นพยายามใช้วัฏจักรธรรมชาติเหล่านี้ปกป้องเราจากโรคไข้เลื­­­อดออกดูนะคะ



 5. ป่วยไข้เลือดออก ห้ามกินยาแอสไพรินเด็ดขาด !

          ประเด็นนี้ควรจำให้ขึ้นใจไว้เลยค่ะว่า หากป่วยเป็นไข้เลือดออกเมื่อไร ไม่ว่าอาการจะมากหรือน้อยก็ไม่ควรจะบรรเทาอาการป่วยด้วยยาแอสไพ­­­รินและยากลุ่ม NSAIDS (เช่น ibuprofen, Naproxen) เด็ดขาด เนื่องจากยาทั้ง 2 ตัวที่ว่ามีคุณสมบัติต้านการจับตัวเป็นก้อนของเลือด ซึ่งอาจไปกระตุ้นอาการเลือดออกที่เป็นอาการบ่งชี้ของไข้เลือดออ­­­กได้ อีกทั้งก็ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะเลยด้วยนะ เพราะไข้เลือดออกไม่ใช่อาการไข้หวัด แต่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้นร่างกายเราจึงไม่มีเชื้อแบคทีเรียให้ยาปฏิชีวนะจัดการนั­­­่นเอง

 6. ไข้เลือดออกในเด็ก ผู้ใหญ่ ก็เสี่ยงได้ไม่แพ้กัน

          ไม่ใช่แค่เด็ก ๆ เท่านั้นที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ทว่าคนทุกเพศทุกวัยที่โดนยุงลายกัดต่างก็มีสิทธิ์ป่วยโรคนี้เท่­­­าเทียมกันหมด คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะป้องกันตัวเองจากยุงลายได้ดีกว่าก­­­ันแล้วล่ะ

ไข้เลือดออก

 7. ป่วยขั้นไหน จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล

          โดยปกติแล้วอาการไข้เลือดออกจะคล้าย ๆ อาการไข้หวัดธรรมดาเลยล่ะค่ะ ต่างกันตรงที่มักจะไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูก ดังนั้นเลยมีคนจำนวนไม่น้อยที่ป่วยไข้เลือดออกแล้วไม่รู้ตัว แต่เมื่อใดก็ตามที่อาการป่วยลุกลามถึงขั้นมีเลือดออกผิดปกติในข­­­ณะที่มีไข้ อาเจียนมาก ปวดท้อง ปัสสาวะออกน้อย มือเท้าเย็น ตัวลาย เหงื่อออกมากในช่วงที่ไข้ลด ลักษณะอาการป่วยตามนี้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจเช็กอาการโดยด่วน­­­

 8. ไข้เลือดออก รักษาได้ สังเกตอาการพ้นขีดอันตรายจากตรงไหน

          อาการป่วยของไข้เลือดออกที่เข้าสู่ระยะปลอดภัยกับผู้ป่วยแล้ว สามารถดูได้จากอาการไข้ที่ลดลงภายใน 24-48 ชั่วโมง ผู้ป่วยรู้สึกตัวและร่าเริงขึ้น เริ่มกินอาหารได้ แสดงว่าเกือบจะหายจากโรคไข้เลือดออกแล้วล่ะค่ะ

ไข้เลือดออก

 9. แจ้งให้สาธารณสุขทราบทันที่เมื่อพบผู้ป่วยโรคนี้

          หากมีคนในบ้านหรือละแวกข้างเคียงป่วยเป็นโรคนี้ เราควรรีบแจ้งให้สาธารณสุขทราบทันที เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รีบมาพ่นยากันยุงกำจัดพาหะน­­­ำโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้น พร้อมทั้งแนะนำการป้องกันยุงลายแพร่กระจายในพื้นที่อาศัยของคุณ­­­ด้วย

ไข้เลือดออก

 10. การป้องกันโรคไข้เลือดออก

          เริ่มแรกควรจัดการกำจัดลูกน้ำยุงลายตามแอ่งน้ำรอบ ๆ บริเวณบ้าน อย่าลืมตรวจสอบภายในบ้านให้ดีนะคะว่า มีถ้วยน้ำรองขาโต๊ะหรือน้ำในแจกันที่ไม่ได้ถ่ายทิ้งบ้างหรือเปล­­­่า นอกจากนี้ควรติดมุ้งลวดให้แน่นหนา หรือใครจะกางมุ้งป้องกันยุงก็ทำได้ ที่สำคัญควรป้องกันยุงกัดด้วยการทายากันยุงเสมอ โดยกระทรวงสาธารณสุขก็แนะนำว่า การทายากันยุงสามารถปกป้องเราจากการถูกยุงกัดได้ดีมาก ๆ เลยเชียวล่ะ

          ช่วงหน้าฝนนี้เป็นช่วงไพร์ไทม์ของไข้เลือดออกที่กำลังจะออกมาอา­­­ละวาดแล้วนะคะ ดังนั้นเราควรรีบทำความเข้าใจกับโรคไข้เลือดออกให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ระวังและเตรียมรับมือกับโรคนี้อย่างถูกวิธี ลดความเสี่ยงโรค และเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตของตัวคุณเอง รวมไปถึงคนที่คุณรัก




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ไข้เลือดออก 10 เรื่องนี้อยากบอกให้รู้ไว้ อัปเดตล่าสุด 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 15:38:00 40,142 อ่าน
TOP
x close