x close

8 สัญญาณเสี่ยงสุขภาพจิตมีปัญหา หลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์รุนแรง

8 สัญญาณเสี่ยงสุขภาพจิตมีปัญหา

          ปัญหาสุขภาพจิต อาจเกิดขึ้นได้กับคนที่เพิ่งประสบเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต แต่จำเป็นต้องไปพบจิตแพทย์หรือไม่ ลองสังเกตอาการและสัญญาณเตือนเหล่านี้

          ไม่มีใครเลี่ยงการเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ ซึ่งหากใครประสบพบเจอกับเรื่องร้าย ๆ หรือเหตุการณ์ความรุนแรงอย่างกะทันหัน ย่อมไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่สภาพจิตใจของเราจะรู้สึกย่ำแย่ บางคนอาจมีอาการโกรธ หงุดหงิด วิตกกังวล เศร้า ร้องไห้ อาจมีอารมณ์รุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมหรือเฉื่อยชาลงมากกว่าเดิม ครุ่นคิด คิดซ้ำ ๆ ถึงภาพและเหตุการณ์ความรุนแรงที่ได้พบ สับสน ไม่มีสมาธิ เงียบขึ้น หรือแยกตัว นอน  ไม่หลับ ฝันร้าย ฯลฯ

          สารพัดอาการเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตก เพราะกรมสุขภาพจิตยืนยันว่า ถือเป็นปฏิกิริยา "ปกติ" ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ "ไม่ปกติ" และอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป บางคนอาจมีอาการเหล่านี้เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนได้ แต่ไม่ควรเกิน 1 เดือน

8 สัญญาณเสี่ยงสุขภาพจิตมีปัญหา

          ที่สำคัญ ต้องเข้าใจว่าผู้ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ใช่ผู้เจ็บป่วยทางจิต และไม่ใช่ผู้อ่อนแอแต่อย่างใด อาการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการแสดงออกทางจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเท่านั้น ทั้งนี้ หากได้รับการช่วยเหลือและดูแลทางด้านจิตใจอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่จะสามารถปรับตัวและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้

          อย่างไรก็ตาม มีเพียงประมาณ ร้อยละ 5-10 ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลและบำบัดรักษาจากจิตแพทย์หรือทีมสุขภาพจิต ซึ่ง นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้แนะนำให้สังเกต 8 สัญญาณเตือน ที่บ่งชี้ว่าบุคคลต้องได้รับการช่วยเหลือจากจิตแพทย์หรือบุคลากรสุขภาพจิต ได้แก่

          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 1. มีความสับสนรุนแรง รู้สึกราวกับว่าโลกนี้ไม่มีอยู่จริง เหมือนกำลังฝันไป ล่องลอย
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 2. รู้สึกถึงเหตุการณ์นั้นอยู่ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ หยุดไม่ได้ จำแต่ภาพโหดร้ายได้ติดตา ฝันร้าย ย้ำคิดแต่เรื่องเดิม ๆ 
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 3. หลีกหนีสังคม กลัวที่กว้าง ไม่กล้าเข้าสังคม
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 4. ตื่นกลัวเกินเหตุ ฝันร้ายน่ากลัว ควบคุมตนเองให้มีสมาธิไม่ได้ กลัวว่าจะตาย
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 5. วิตกกังวลมากเกินไปจนทำอะไรไม่ได้ หวาดกลัวรุนแรง มีความคิดฝังใจ ประสาทมึนชา
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 6. ซึมเศร้าอย่างรุนแรง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ท้อแท้ ตำหนิตัวเอง หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบ อยากตาย
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 7. ติดสุราและสารเสพติด
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 8. มีอาการทางจิต หลงผิด ประสาทหลอน ฯลฯ

8 สัญญาณเสี่ยงสุขภาพจิตมีปัญหา

สำหรับการดูแลจิตใจตนเองและคนรอบข้างเมื่อประสบเหตุรุนแรง ทำได้ดังนี้

          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 1. พักผ่อนให้เพียงพอ
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 2. ไม่ใช้สุรา ยาเสพติด
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 3. พยายามหากิจกรรมทำให้เกิดความเพลิดเพลิน
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 4. พยายามใช้ชีวิตประจำวันให้เป็นปกติ
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 5. ปรึกษา พูดคุยเรื่องไม่สบายใจ หรือขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด หรือจากคนที่ไว้ใจ
          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 6. เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชมหรือสังคม เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมทางศาสนา ฯลฯ

          ทั้งนี้ยังสามารถขอรับคำปรึกษา ได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสุขภาพจิต


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
8 สัญญาณเสี่ยงสุขภาพจิตมีปัญหา หลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์รุนแรง อัปเดตล่าสุด 20 สิงหาคม 2558 เวลา 14:52:04 2,983 อ่าน
TOP