ได้ยินชื่อกันอยู่บ่อย ๆ สำหรับ ไวรัสตับอักเสบบี หรือ โรคไวรัสตับอักเสบบี แต่หลายคนก็ยังไม่ทราบว่า ไวรัสตับอักเสบบี เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีอันตรายมากน้อยขนาดไหน วันนี้เรามาเจาะลึกเรื่อง ไวรัสตับอักเสบบี กันดีกว่า
การระบาดของไวรัสตับอักเสบบี ในประเทศไทย
ในประเทศไทยพบผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีมานานแล้ว และพบค่อนข้างมาก โดยก่อนหน้านี้พบว่า ใน 100 คน จะพบคนที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี อยู่ประมาณ 8-10 คน ซึ่งคนที่เป็นพาหะนั้นไม่ได้เป็นโรค ไม่มีอาการป่วยไวรัสตับอักเสบบี เพียงแต่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกายนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป และสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่น ซึ่งสามารถตรวจเลือดพิสูจน์ได้ว่าเป็นพาหะหรือไม่
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีนี้จะพบในเลือดมากที่สุด และสามารถติดต่อกันได้ผ่านช่องทางเดียวกับการติดต่อโรคเอดส์ คือ
1. ทางเพศสัมพันธ์
ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ปกติ หรือแบบรักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่ไม่ได้ป้องกัน จึงถือว่า โรคไวรัสตับอักเสบบี จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง
2. ทางเลือดและน้ำเหลือง
เช่น การถ่ายเลือด หรือการฟอกเลือดด้วยไตเทียม ซึ่งเลือดทุกขวดที่จะถ่ายไปสู่ผู้อื่น หรือที่ได้รับการบริจาคมา ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเสียก่อน
3. การใช้สิ่งของร่วมกัน
เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฝังเข็ม การสัก การเจาะหูที่ไม่สะอาด การใช้มีดโกน มีดตัดเล็บ หรือ แปรงสีฟัน ร่วมกัน
4. จากแม่สู่ลูก
แม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะกำลังคลอด โดยหากแม่มีเชื้อนี้อยู่ ลูกมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อด้วยถึง 90% และส่งผลอันตรายต่อทารก
ทารกที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จากหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี หรือป่วยเป็นโรคนี้ จะไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปได้เอง เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้อมาจากสาเหตุอื่น โดยทารกแรกเกิดมักไม่มีอาการว่า ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบี แต่จะกลายเป็นพาหะเรื้อรังนานหลายสิบปี หรือตลอดชีวิต และเมื่อทารกเหล่านี้โตขึ้นอยู่ในวัยกลางคน จะมีโอกาสเป็นโรคตับเรื้อรัง ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ โดยเพศชายจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคทางตับมากกว่าเพศหญิง ส่วนเพศหญิงก็จะเป็นพาหะถ่ายทอดโรคไปสู่ลูกต่อไป ดังนั้น เพื่อเป็นการตัดวงจร เด็กทารกทุกคนที่เพิ่งคลอดมา ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี เพื่อป้องกันไม่ให้โรคดำเนินต่อไป
5. ทางบาดแผล ผิวหนัง
หากผู้มีเชื้อมีบาดแผลถลอก ก็อาจทำให้เกิดการติดต่อได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ไวรัสตับอักเสบบี นี้ไม่ติดต่อกันผ่านทางการสัมผัสทางผิวหนัง กอด การมองหน้า ไอจามรดกัน รวมทั้งการรับประทานอาหารและน้ำ ยกเว้นมีแผลในช่องปากหรือไรฟัน แต่เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน หากเราไม่แน่ใจก็ควรใช้ช้อนส่วนตัว เพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากน้ำลายของผู้ที่เป็นพาหะ
กลุ่มเสี่ยงติดไวรัสตับอักเสบบี
เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อผ่านทางของเหลวของร่างกายผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะได้ ดังนั้น บุคคลดังต่อไปนี้จึงมีความเสี่ยงสูงในการรับเชื้อ
2. ชายรักร่วมเพศ
3. ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
4. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
5. คนที่เกิดในถิ่นที่มีการระบาดสูง
6. เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ
อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ทั้งนี้ ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ คือ 30-180 วัน โดยเฉลี่ยคือ 60-90 วัน โดยทั่วไปผู้ที่ได้รับเชื้อร้อยละ 90 จะสามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ และหายเป็นปกติ พร้อมกับสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้ตลอดชีวิต ซึ่งเราสามารถตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบว่ามีภูมิต้านทานโรคไวรัสตับอักเสบหรือไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบางคนที่ยังมีเชื้ออยู่ในร่างกายอยู่ หรือเรียกว่าเป็นพาหะ แต่ตับยังทำงานได้ตามปกติ ไม่เกิดความผิดปกติแต่อย่างใด แต่ผู้ที่เป็นพาหะนี้ ก็มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนปกติถึง 223-250 เท่า และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคตับอักเสบเรื้อรัง, ตับแข็ง และมะเร็งตับ แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่จะเป็นโรคตับร้ายแรงเหล่านี้ จะต้องมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในตัวนานกว่า 20-30 ปีขึ้นไป นั่นคือ ต้องได้รับเชื้อมาตั้งแต่เด็กนั่นเอง
หากรู้ว่าเป็นพาหะ ไวรัสตับอักเสบบี ควรทำอย่างไร
ผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
1. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ และสามารถทานอาหารร่วมกับผู้อื่นได้ โดยใช้ช้อนกลาง
2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น การกินยาบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารพิษจากเชื้อรา เป็นต้น
3. หากพบอาการผิดปกติ เช่น เท้าบวม ท้องบวม อุจจาระเป็นสีดำ ตัวเหลือง ตาเหลือง ควรรีบปรึกษาแพทย์
4. เจาะเลือดปีละครั้ง เพื่อตรวจการทำงานของตับ และตรวจหาสารแอลฟา ฟีโตโปรตีน (Alpha Fetoprotein) ในเลือด ที่บ่งบอกว่าจะเกิดมะเร็งตับหรือไม่ และจะตรวจถี่ขึ้นในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
5. งดบริจาคเลือด และแยกใช้ข้าวของเครื่องใช้ เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น
6. ให้บุคคลใกล้ชิดเข้ารับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เพื่อสร้างภูมิต้านทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กแรกเกิดควรได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม การให้วัคซีนแก่ผู้ที่เป็นพาหะแล้ว ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสให้หมดไปได้
หากรู้ว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบี ควรทำอย่างไร
แม้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี จะสามารถหายได้เอง และสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ แต่เมื่อตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ก็ควรปฏิตัวดังนี้
1. กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
2. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบอาการว่า เป็นมากหรือน้อย
3. บอกคนใกล้ชิดให้ทราบ เพื่อป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน
4. งดการบริจาคเลือดโดยเด็ดขาด ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หลีกเลี่ยงการสักร่างกาย
5. ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะส่งผลร้ายต่อตับ
6. ไม่ควรใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะจะมีผลต่อตับโดยตรง
7. พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะจะทำให้การอ่อนเพลียลดลง
8. สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันเชื้อที่จะส่งต่อไปยังผู้อื่น
ไวรัสตับอักเสบบี รักษาอย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีโดยตรง เป็นเพียงแค่การรักษาตามอาการเท่านั้น แต่ดังที่กล่าวข้างต้น ร้อยละ 90 ของผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ มีเพียงส่วนน้อยที่จะเกิดอันตรายขึ้น แต่ในบางรายที่มีอาการตับอักเสบร่วมด้วย ก็อาจฉีดยา หรือให้กินยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการเสื่อมของตับ
การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
สำหรับคนที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถป้องกันได้โดย
- หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ร่วมกันคนไข้ หรือคนที่เป็นพาหะ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด น้ำเลือด น้ำลาย ของคนไข้ หรือคนที่เป็นพาหะ
- ตรวจสอบความสะอาดของอุปกรณ์ เช่น เข็มฉีดยา เข็มสำหรับเจาะหู การฝังเข็ม ว่าเป็นของใหม่ หรือผ่านการฆ่าเชื้อโรคมาแล้วเป็นอย่างดี
- รักษาสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งการเลือกรับประทานอาหาร และน้ำด้วย
- ใช้ช้อนกลาง ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- ไม่ส่ำส่อนทางเพศ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- ฉีดวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ
การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น
ผู้ที่จะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
ต้องตรวจเลือดก่อนว่าเคยได้รับเชื้อหรือไม่
เพราะผู้ที่เคยได้รับเชื้อและหายขาด
จะทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อสู้โรคนี้ไปตลอดชีวิต
หรือหากใครที่เป็นพาหะแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีก
เพราะจะไม่สามารถช่วยทำให้เชื้อหมดไปจากร่างกายได้ โดยการตรวจเลือด
จะตรวจกันอยู่ 3 อย่างคือ
1. ตรวจ HBs Ag หรือตรวจการติดเชื้อ หรือเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี
2. ตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ HBs Ab หรือ anti HBs
3. ตรวจภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสตับอักเสบบี หรือเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน ได้แก่ HBc Ab หรือ anti HBcซึ่ง ถ้าพบตัวใดตัวหนึ่งเป็นบวก (Positive) ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่หากเป็นลบ (Negative) ทั้งหมด ก็สามารถฉีดวัคซีนได้
ไวรัสตับอักเสบบี ภาษาอังกฤษคือ Hepatitis B คือ โรคตับอักเสบ ชนิดหนึ่ง
ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส บี แต่ถ้าหากเกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่น ๆ เช่น ไวรัส
เอ ไวรัส ซี ก็จะเรียกชื่อต่าง ๆ กันไป แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายคลึงกัน
เพียงแต่ไวรัสตับอักเสบบีเป็นตัวที่อันตรายและรุนแรงมากที่สุด
เพราะเชื้อไวรัสจะซ่อนตัวอยู่ในคน ก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง
และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งตับ ตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับแข็งได้
การระบาดของไวรัสตับอักเสบบี ในประเทศไทย
ในประเทศไทยพบผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีมานานแล้ว และพบค่อนข้างมาก โดยก่อนหน้านี้พบว่า ใน 100 คน จะพบคนที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี อยู่ประมาณ 8-10 คน ซึ่งคนที่เป็นพาหะนั้นไม่ได้เป็นโรค ไม่มีอาการป่วยไวรัสตับอักเสบบี เพียงแต่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกายนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป และสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่น ซึ่งสามารถตรวจเลือดพิสูจน์ได้ว่าเป็นพาหะหรือไม่
มีการคาดคะเนกันว่า มีคนไทยประมาณ 6-7 ล้านคน เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี ขณะที่คนทั่วโลกมีผู้เป็นพาหะประมาณ 300-400 ล้านคน โดยจะพบมากที่ตอนกลางของแอฟริกา ตอนใต้ของประเทศจีน
ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในมหาสมุทรแปซิฟิก
ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาทั้งสิ้น และในผู้ใหญ่ทุก
ๆ 100 คน จะมีคนที่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีนี้มาแล้ว 50 คน
คือครึ่งต่อครึ่งนั่นเอง
การติดต่อของไวรัสตับอักเสบบี
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีนี้จะพบในเลือดมากที่สุด และสามารถติดต่อกันได้ผ่านช่องทางเดียวกับการติดต่อโรคเอดส์ คือ
1. ทางเพศสัมพันธ์
ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ปกติ หรือแบบรักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่ไม่ได้ป้องกัน จึงถือว่า โรคไวรัสตับอักเสบบี จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง
2. ทางเลือดและน้ำเหลือง
เช่น การถ่ายเลือด หรือการฟอกเลือดด้วยไตเทียม ซึ่งเลือดทุกขวดที่จะถ่ายไปสู่ผู้อื่น หรือที่ได้รับการบริจาคมา ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเสียก่อน
3. การใช้สิ่งของร่วมกัน
เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฝังเข็ม การสัก การเจาะหูที่ไม่สะอาด การใช้มีดโกน มีดตัดเล็บ หรือ แปรงสีฟัน ร่วมกัน
4. จากแม่สู่ลูก
แม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะกำลังคลอด โดยหากแม่มีเชื้อนี้อยู่ ลูกมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อด้วยถึง 90% และส่งผลอันตรายต่อทารก
ทารกที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จากหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี หรือป่วยเป็นโรคนี้ จะไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปได้เอง เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้อมาจากสาเหตุอื่น โดยทารกแรกเกิดมักไม่มีอาการว่า ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบี แต่จะกลายเป็นพาหะเรื้อรังนานหลายสิบปี หรือตลอดชีวิต และเมื่อทารกเหล่านี้โตขึ้นอยู่ในวัยกลางคน จะมีโอกาสเป็นโรคตับเรื้อรัง ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ โดยเพศชายจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคทางตับมากกว่าเพศหญิง ส่วนเพศหญิงก็จะเป็นพาหะถ่ายทอดโรคไปสู่ลูกต่อไป ดังนั้น เพื่อเป็นการตัดวงจร เด็กทารกทุกคนที่เพิ่งคลอดมา ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี เพื่อป้องกันไม่ให้โรคดำเนินต่อไป
5. ทางบาดแผล ผิวหนัง
หากผู้มีเชื้อมีบาดแผลถลอก ก็อาจทำให้เกิดการติดต่อได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ไวรัสตับอักเสบบี นี้ไม่ติดต่อกันผ่านทางการสัมผัสทางผิวหนัง กอด การมองหน้า ไอจามรดกัน รวมทั้งการรับประทานอาหารและน้ำ ยกเว้นมีแผลในช่องปากหรือไรฟัน แต่เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน หากเราไม่แน่ใจก็ควรใช้ช้อนส่วนตัว เพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากน้ำลายของผู้ที่เป็นพาหะ
เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อผ่านทางของเหลวของร่างกายผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะได้ ดังนั้น บุคคลดังต่อไปนี้จึงมีความเสี่ยงสูงในการรับเชื้อ
1. คนที่ใช้ยาเสพติด ฉีดเข้าหลอดเลือด คนที่ชอบสักตามร่างกาย เจาะหู
2. ชายรักร่วมเพศ
3. ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
4. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
5. คนที่เกิดในถิ่นที่มีการระบาดสูง
6. เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ
7. บุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี
8. คนที่ใช้สิ่งของที่มีโอกาสปนเปื้อนน้ำลายหรือเลือดร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
9. ทารกในครรภ์ที่มารดามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มักไม่มีอาการป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก หลายคนจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อไปบริจาคเลือดแล้วตรวจพบ
แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการป่วยแสดงออก เช่น มีอาการเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีไข้ต่ำ ๆ ในวันแรก ๆ
มีอาการจุกแน่นท้อง ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง มีปัสสาวะสีเข้ม
อาการเหมือนดีซ่าน เป็นอยู่ 2-3 สัปดาห์หรือเป็นเดือน แล้วจะหายเป็นปกติ
มีเพียงส่วนน้อยที่อาจทำให้ตับเสีย มีอาการเพ้อคลั่ง ซึม มีน้ำในท้อง
ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
ทั้งนี้ ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ คือ 30-180 วัน โดยเฉลี่ยคือ 60-90 วัน โดยทั่วไปผู้ที่ได้รับเชื้อร้อยละ 90 จะสามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ และหายเป็นปกติ พร้อมกับสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้ตลอดชีวิต ซึ่งเราสามารถตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบว่ามีภูมิต้านทานโรคไวรัสตับอักเสบหรือไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบางคนที่ยังมีเชื้ออยู่ในร่างกายอยู่ หรือเรียกว่าเป็นพาหะ แต่ตับยังทำงานได้ตามปกติ ไม่เกิดความผิดปกติแต่อย่างใด แต่ผู้ที่เป็นพาหะนี้ ก็มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนปกติถึง 223-250 เท่า และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคตับอักเสบเรื้อรัง, ตับแข็ง และมะเร็งตับ แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่จะเป็นโรคตับร้ายแรงเหล่านี้ จะต้องมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในตัวนานกว่า 20-30 ปีขึ้นไป นั่นคือ ต้องได้รับเชื้อมาตั้งแต่เด็กนั่นเอง
หากรู้ว่าเป็นพาหะ ไวรัสตับอักเสบบี ควรทำอย่างไร
ผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
1. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ และสามารถทานอาหารร่วมกับผู้อื่นได้ โดยใช้ช้อนกลาง
2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น การกินยาบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารพิษจากเชื้อรา เป็นต้น
3. หากพบอาการผิดปกติ เช่น เท้าบวม ท้องบวม อุจจาระเป็นสีดำ ตัวเหลือง ตาเหลือง ควรรีบปรึกษาแพทย์
4. เจาะเลือดปีละครั้ง เพื่อตรวจการทำงานของตับ และตรวจหาสารแอลฟา ฟีโตโปรตีน (Alpha Fetoprotein) ในเลือด ที่บ่งบอกว่าจะเกิดมะเร็งตับหรือไม่ และจะตรวจถี่ขึ้นในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
5. งดบริจาคเลือด และแยกใช้ข้าวของเครื่องใช้ เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น
6. ให้บุคคลใกล้ชิดเข้ารับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เพื่อสร้างภูมิต้านทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กแรกเกิดควรได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม การให้วัคซีนแก่ผู้ที่เป็นพาหะแล้ว ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสให้หมดไปได้
แม้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี จะสามารถหายได้เอง และสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ แต่เมื่อตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ก็ควรปฏิตัวดังนี้
1. กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
2. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบอาการว่า เป็นมากหรือน้อย
3. บอกคนใกล้ชิดให้ทราบ เพื่อป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน
4. งดการบริจาคเลือดโดยเด็ดขาด ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หลีกเลี่ยงการสักร่างกาย
5. ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะส่งผลร้ายต่อตับ
6. ไม่ควรใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะจะมีผลต่อตับโดยตรง
7. พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะจะทำให้การอ่อนเพลียลดลง
8. สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันเชื้อที่จะส่งต่อไปยังผู้อื่น
9. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ไขมันสูง น้ำหวาน
เพราะจะทำให้เกิดไขมันสะสมที่ตับ จึงควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
และมีประโยชน์ต่อร่างกาย
10. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
11. วางแผนครอบครัวก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการติดต่อจากแม่สู่ลูก
ไวรัสตับอักเสบบี รักษาอย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีโดยตรง เป็นเพียงแค่การรักษาตามอาการเท่านั้น แต่ดังที่กล่าวข้างต้น ร้อยละ 90 ของผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ มีเพียงส่วนน้อยที่จะเกิดอันตรายขึ้น แต่ในบางรายที่มีอาการตับอักเสบร่วมด้วย ก็อาจฉีดยา หรือให้กินยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการเสื่อมของตับ
สำหรับคนที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถป้องกันได้โดย
- หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ร่วมกันคนไข้ หรือคนที่เป็นพาหะ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด น้ำเลือด น้ำลาย ของคนไข้ หรือคนที่เป็นพาหะ
- ตรวจสอบความสะอาดของอุปกรณ์ เช่น เข็มฉีดยา เข็มสำหรับเจาะหู การฝังเข็ม ว่าเป็นของใหม่ หรือผ่านการฆ่าเชื้อโรคมาแล้วเป็นอย่างดี
- รักษาสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งการเลือกรับประทานอาหาร และน้ำด้วย
- ใช้ช้อนกลาง ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- ไม่ส่ำส่อนทางเพศ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- ฉีดวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ
การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
1. ตรวจ HBs Ag หรือตรวจการติดเชื้อ หรือเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี
2. ตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ HBs Ab หรือ anti HBs
3. ตรวจภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสตับอักเสบบี หรือเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน ได้แก่ HBc Ab หรือ anti HBcซึ่ง ถ้าพบตัวใดตัวหนึ่งเป็นบวก (Positive) ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่หากเป็นลบ (Negative) ทั้งหมด ก็สามารถฉีดวัคซีนได้
ทั้งนี้
วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด
และควรฉีดเมื่ออายุยังน้อย ๆ เพื่อป้องกันก่อนได้รับเชื้อ โดยทารกแรกเกิดหลังปี พ.ศ. 2535 จะได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีจำนวน 3 เข็มตั้งแต่แรกเกิดทุกราย ตามสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยฉีดเข็มแรกตั้งแต่แรกคลอด, เข็มที่สอง หลังผ่านไป 1-2 เดือน และเข็มสุดท้าย เมื่ออายุ 6-12 เดือน หลังได้รับวัคซีนครบ 3 ครั้ง ร้อยละ 95 จะมีภูมิคุ้มกันในระดับที่ป้องกันการติดเชื้อได้ และภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนจะลดลงตามระยะเวลาที่ได้รับวัคซีน อย่างไรก็ตาม พบว่าภูมิคุ้มกันสามารถอยู่ได้นานถึง 30 ปี
ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีในประเทศไทยลดลงแล้ว เนื่องจากเด็กที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา จะได้รับวัคซีนป้องกัน แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ควรทำพฤติกรรมเสี่ยงที่จะส่งผลร้ายต่อตับจะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด และหากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 12 มิถุนายน 2563