เพชรสังฆาต สมุนไพรไทยที่ไม่ได้มีดีแค่ช่วยระบาย รักษาริดสีดวงทวารก็ได้ แต่ยังช่วยลดน้ำหนัก และมีประโยชน์ต่อสุขภาพนานับปการ อย่าเพิ่งสบประมาทว่าเป็นแค่ไม้ประดับ ถ้ายังไม่ได้รู้ถึงสรรพคุณ
เพชรสังฆาต รักษาโรคริดสีดวงทวารก็ดี
เพชรสังฆาตถือเป็นสมุนไพรรักษาโรคริดสีดวงสรรพคุณเด็ด เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซี ตัวช่วยส่งเสริมกระบวนการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยลดอาการอักเสบ รวมทั้งช่วยให้หลอดเลือดดำหดตัวลงได้ ซึ่งสำหรับคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร จะเกิดภาวะเลือดดำคั่งจนทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก การรับประทานเพชรสังฆาตจึงช่วยบรรเทาอาการได้ รวมทั้งรักษาอาการอักเสบและทำให้หลอดเลือดดำที่บวมเป่งอยู่บริเวณทวารหนักหดตัวลงได้นั่นเอง
ทั้งนี้การศึกษาจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ยังยืนยันถึงข้อดีของการใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตในการรักษาโรคริดสีดวงทวารว่า สรรพคุณเพชรสังฆาตมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน หรือยาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเลยล่ะค่ะ แถมในปัจจุบัน เพชรสังฆาตยังถูกใช้เป็นยารักษาหลักในผู้ป่วยริดสีดวงทวารหนักที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอีกด้วย
เพชรสังฆาต ช่วยบำรุงกระดูก
ในตำรายาของหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวทได้ใช้เพชรสังฆาตช่วยบำรุงกระดูกกันอย่างแพร่หลาย โดยระบุว่า สรรพคุณของเพชรสังฆาตช่วยบำรุงกระดูก เพิ่มมวลกระดูก สมานกระดูกที่หัก โดยสารในเพชรสังฆาตจะช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก และบรรเทาอาการบวมและอาการอักเสบได้
เพชรสังฆาตยังช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจนในเซลล์สร้างกระดูก และยังมีฤทธิ์ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกในหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่ (เพื่อจำลองให้เกิดสภาวะเหมือนหญิงวัยหมดประจำเดือน) เทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน เนื่องจากในหนูที่ได้รับเพชรสังฆาต พบการเพิ่มขึ้นของระดับเอสโตรเจนและวิตามินดีในเลือด จึงสันนิษฐานได้ว่า สมุนไพรเพชรสังฆาตมีสารในกลุ่มเอสโตรเจนสูงมากนั่นเอง
และเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนจะพบว่า เพชรสังฆาตให้ผลดีทั้งในเรื่องของความหนา ความแข็งแรง และความหนาแน่นมวลกระดูก ขณะที่เอสโตรเจนจะไม่มีผลในเรื่องความหนาแน่นของมวลกระดูก ที่สำคัญเพชรสังฆาตยังมีฤทธิ์ลดอาการปวดได้อีกด้วย
แก้ท้องผูก
เพชรสังฆาตมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก ถ่ายยาก และช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรครืดสีดวงทวารได้ แต่ทั้งนี้ผลของการช่วยระบายก็ต้องขึ้นอยู่กับธาตุของแต่ละบุคคลด้วยนะคะ ฉะนั้นหากรับประทานเพชรสังฆาตแล้วรู้สึกระบายมากเกินไป มีอาการถ่ายบ่อย ก็ควรลดขนาดรับประทานลงสักครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิมที่กินเพชรสังฆาตอยู่
ช่วยลดน้ำหนัก
เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรที่มีไฟเบอร์สูง ช่วยให้กินอาหารได้น้อยลง โดยไฟเบอร์ในเพชรสังฆาตจะเข้าไปลดเนื้อที่ของกระเพาะอาหาร ทำให้อิ่มเร็วขึ้น และมีผลยับยั้งเอนไซม์ที่ย่อยแป้ง น้ำตาล และไขมัน จึงช่วยลดการดูดซึมสารอาหารดังกล่าวเช้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น ซึ่งสรรพคุณช่วยลดน้ำหนักของเพชรสังฆาตก็ผ่านการศึกษาทดลองในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน โดยการทดลองได้คัดคนที่มีดัชนีมวลกาย หรือ BMI มากกว่า 26 kg/m2 ให้กินเพชรสังฆาตมื้อละ 150 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร วันละ 2 มื้อ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนการกินและการออกกำลังกาย
โดยผลการทดลองพบว่า อาสาสมัครกลุ่มนี้มีน้ำหนักลดลง 8.8% (จากเดิมน้ำหนักเฉลี่ยของผู้ทดลองก่อนทานเพชรสังฆาต 98.92 กิโลกรัม ลดเหลือ 90.19 กิโลกรัม) ไขมันในร่างกายลด 14.6% เส้นรอบเอวลดลง 8.6% (จากเดิมเส้นรอบเอวเฉลี่ยของผู้ทดลองก่อนทานเพชรสังฆาต 40 นิ้ว ลดเหลือ 36 นิ้ว) และยังมีผลลดระดับคอเลสเตอรอล ไขมันตัวร้าย LDL และระดับน้ำตาลในเลือด ได้ 26.69%, 20.16% และ 14.85% ตามลำดับ
นอกจากนี้จากการศึกษาในห้องทดลองยังพบว่า เพชรสังฆาตมีผลเพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้ง่าย และยังช่วยลดสารอักเสบที่พบในเลือดของผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน (Metabolic syndrome) ซึ่งผลดีของเพชรสังฆาตในข้อนี้น่าจะมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหา Metabolic syndrome ต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่อยากคุมน้ำหนัก ยังคงแนะนำว่าต้องคุมอาหารเป็นหลัก โดยอาจทานเพชรสังฆาตวันละ 1-2 แคปซูล หลังอาหารเช้า ต่อเนื่องสัก 10 สัปดาห์ ร่วมกับการคุมอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย
ข้อควรระวังในการใช้เพชรสังฆาต
เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์ก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะในเถาของเพชรสังฆาตนั้นมีสารแคลเซียม ออกซาเลท (Calcium Oxalate) สูง จึงอาจทำให้เกิดการตกค้างได้หากรับประทานเข้าไปมากเกินพอดี อีกทั้งสารออกซาเลทนั้นยังอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองที่คอ เยื่อบุภายในปากและทางเดินอาหารส่วนบน ดังนั้นหากจะนำเถาของเพชรสังฆาตมารับประทานสด ๆ ควรหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ หุ้มด้วยกล้วยสุก หรือมะขามเปียก จะเป็นใบผักกาดดองก็ได้ แล้วค่อยรับประทาน และห้ามเคี้ยวโดยเด็ดขาด แต่ถ้าจะให้สะดวกยิ่งกว่านั้นก็สามารถรับประทานแบบที่เป็นแคปซูล วิธีนี้ก็ยังทำให้ได้คุณประโยชน์จากเพชรสังฆาตเช่นเดียวกับการรับประทานแบบสด ๆ ค่ะ
นอกจากนี้สำหรับการรับประทานเพชรสังฆาตเพื่อช่วยลดน้ำหนัก หากรับประทานเพชรสังฆาตก่อนมื้ออาหารแล้วเกิดอาการไม่สบายท้อง แนะนำให้ปรับมารับประทานหลังมื้ออาหารแทนได้นะคะ
ได้เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของเพชรสังฆาตกันไปแล้ว ใครที่มีเจ้าสมุนไพรชนิดนี้อยู่ที่บ้านก็อย่าลืมนำมาลองใช้กันนะ แต่ที่สำคัญคือต้องรู้วิธีและปริมาณการใช้ที่ถูกต้องไม่อย่างนั้นแทนที่จะได้ผลดี อาจจะได้ผลเสียกลับมาแทนไม่คุ้มกันแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เฟซบุ๊กสมุนไพรอภัยภูเบศร
สมุนไพรไทยเป็นของดีของไทยที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน
แถมยังชอบซุกซ่อนอยู่ในที่ที่เราคาดไม่ถึงเสียก็มาก บางอย่างก็อยู่ในอาหาร
สมุนไพรบางชนิดก็เป็นไม้ประดับที่เราเห็นกันจนชินตา อย่างเช่น เพชรสังฆาต ที่หลายคนอาจจะปลูกเอาไว้เป็นไม้ประดับในบ้าน
แต่กลับไม่รู้เลยว่าภายใต้ความสวยงามที่แปลกตานั้น
สรรพคุณของเจ้าสมุนไพรชนิดนี้น่ะมากมายเพียงไหน
ได้เวลาหันมาให้ความสนใจกับเจ้าสมุนไพรชนิดนี้แล้วล่ะค่ะ
ลองมาทำความรู้จักประโยชน์ของเพชรสังฆาตกัน โดยเฉพาะคนที่ถ่ายยาก
และยังอยากลดน้ำหนักมามุงตรงนี้ด่วนเลยจ้า
เพชรสังฆาต มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cissus quadrangularis L. และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่นอื่น ๆ อีกว่า สันชะควด (กรุงเทพฯ) ขั่นข้อ (ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) เพชรสังฆาต เป็นพื้นประเภทไม้เถาเลื้อย ซึ่งโดยปกติแล้วมักนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ เนื่องจากเป็นพืชที่มีรูปร่างแปลกตา และมีดอกและช่อสีแดงสวยงาม อีกทั้งยังสามารถปลูกเป็นรายได้เสริมด้วยการนำเถามาหั่นแล้วตากแห้งทำเป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วยค่ะ
เพชรสังฆาต หน้าตาเป็นอย่างไร
เพชรสังฆาตเป็นไม้เถาทรงสี่เหลี่ยมเป็นข้อปล้องต่อกัน เปลือกเถาเรียบสีเขียวอ่อน ขนาดของปล้องแต่ละปล้องยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร มีมือสำหรับเกาะยึด ยื่นออกมาจากตรงข้อระหว่างใบ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ แผ่นใบเรียบมัน สีเขียวสด ดอกมีสีแดง กลีบดอกมี 4 กลีบ มักออกเป็นช่อเล็ก ๆ ขนาด 2-4 เซนติเมตร ผลสดมีรูปกลม ผลเรียบเป็นมัน ขนาด 4-7 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จัดจะมีสีดำหรือแดง เมล็ดมีทรงกลมสีน้ำตาล อยู่ในผล ผลละ 1 เมล็ด
เพชรสังฆาต สรรพคุณโดดเด่นชวนให้ลิ้มลอง
สรรพคุณของเพชรสังฆาตที่ชวนให้น่าลิ้มลองก็คงจะเป็นสรรพคุณทางยาที่ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อีกสรรพคุณหนึ่งอันโด่งดังของเพชรสังฆาตก็คือรักษาโรคริดสีดวงทวารนั่นเอง ซึ่งสรรพคุณที่ว่ามานี้ต่างก็มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเพชรสังฆาต โดยเฉพาะในราก ต้น ใบ เถา และน้ำจากต้นของเพชรสังฆาต ดังนี้ค่ะ
* ราก - ช่วยในการสมานตัวของกระดูกที่แตกหักทำให้กระดูกกลับมาเชื่อมต่อกันได้เร็วขึ้น
* ต้น - แก้อาการหูน้ำหนวก แก้อาการเลือดกำเดา รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติในสตรี ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
* ใบ - ช่วยในการสมานตัวของกระดูกเช่นเดียวกับราก รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ช่วยขับน้ำเหลืองที่เสีย
* เถา - แก้กระดูกหักซ้น ขับลม แก้จุดเสียดแน่นท้อง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาโรคลักปิดลักเปิด
ซึ่งนอกจากสรรพคุณดังกล่าวแล้ว งานวิจัยต่าง ๆ ยังเผยสรรพคุณของเพชรสังฆาตเพิ่มเติมมาหลายด้าน ลองมาดูกันค่ะว่า เพชรสังฆาต รักษาโรคอะไรได้บ้าง
เพชรสังฆาต มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cissus quadrangularis L. และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่นอื่น ๆ อีกว่า สันชะควด (กรุงเทพฯ) ขั่นข้อ (ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) เพชรสังฆาต เป็นพื้นประเภทไม้เถาเลื้อย ซึ่งโดยปกติแล้วมักนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ เนื่องจากเป็นพืชที่มีรูปร่างแปลกตา และมีดอกและช่อสีแดงสวยงาม อีกทั้งยังสามารถปลูกเป็นรายได้เสริมด้วยการนำเถามาหั่นแล้วตากแห้งทำเป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วยค่ะ
เพชรสังฆาตเป็นไม้เถาทรงสี่เหลี่ยมเป็นข้อปล้องต่อกัน เปลือกเถาเรียบสีเขียวอ่อน ขนาดของปล้องแต่ละปล้องยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร มีมือสำหรับเกาะยึด ยื่นออกมาจากตรงข้อระหว่างใบ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ แผ่นใบเรียบมัน สีเขียวสด ดอกมีสีแดง กลีบดอกมี 4 กลีบ มักออกเป็นช่อเล็ก ๆ ขนาด 2-4 เซนติเมตร ผลสดมีรูปกลม ผลเรียบเป็นมัน ขนาด 4-7 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จัดจะมีสีดำหรือแดง เมล็ดมีทรงกลมสีน้ำตาล อยู่ในผล ผลละ 1 เมล็ด
เพชรสังฆาต สรรพคุณโดดเด่นชวนให้ลิ้มลอง
สรรพคุณของเพชรสังฆาตที่ชวนให้น่าลิ้มลองก็คงจะเป็นสรรพคุณทางยาที่ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อีกสรรพคุณหนึ่งอันโด่งดังของเพชรสังฆาตก็คือรักษาโรคริดสีดวงทวารนั่นเอง ซึ่งสรรพคุณที่ว่ามานี้ต่างก็มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของเพชรสังฆาต โดยเฉพาะในราก ต้น ใบ เถา และน้ำจากต้นของเพชรสังฆาต ดังนี้ค่ะ
* ราก - ช่วยในการสมานตัวของกระดูกที่แตกหักทำให้กระดูกกลับมาเชื่อมต่อกันได้เร็วขึ้น
* ต้น - แก้อาการหูน้ำหนวก แก้อาการเลือดกำเดา รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติในสตรี ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
* ใบ - ช่วยในการสมานตัวของกระดูกเช่นเดียวกับราก รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ช่วยขับน้ำเหลืองที่เสีย
* เถา - แก้กระดูกหักซ้น ขับลม แก้จุดเสียดแน่นท้อง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาโรคลักปิดลักเปิด
ซึ่งนอกจากสรรพคุณดังกล่าวแล้ว งานวิจัยต่าง ๆ ยังเผยสรรพคุณของเพชรสังฆาตเพิ่มเติมมาหลายด้าน ลองมาดูกันค่ะว่า เพชรสังฆาต รักษาโรคอะไรได้บ้าง
เพชรสังฆาตถือเป็นสมุนไพรรักษาโรคริดสีดวงสรรพคุณเด็ด เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซี ตัวช่วยส่งเสริมกระบวนการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยลดอาการอักเสบ รวมทั้งช่วยให้หลอดเลือดดำหดตัวลงได้ ซึ่งสำหรับคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร จะเกิดภาวะเลือดดำคั่งจนทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก การรับประทานเพชรสังฆาตจึงช่วยบรรเทาอาการได้ รวมทั้งรักษาอาการอักเสบและทำให้หลอดเลือดดำที่บวมเป่งอยู่บริเวณทวารหนักหดตัวลงได้นั่นเอง
ทั้งนี้การศึกษาจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ยังยืนยันถึงข้อดีของการใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตในการรักษาโรคริดสีดวงทวารว่า สรรพคุณเพชรสังฆาตมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน หรือยาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเลยล่ะค่ะ แถมในปัจจุบัน เพชรสังฆาตยังถูกใช้เป็นยารักษาหลักในผู้ป่วยริดสีดวงทวารหนักที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอีกด้วย
เพชรสังฆาต ช่วยบำรุงกระดูก
ในตำรายาของหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวทได้ใช้เพชรสังฆาตช่วยบำรุงกระดูกกันอย่างแพร่หลาย โดยระบุว่า สรรพคุณของเพชรสังฆาตช่วยบำรุงกระดูก เพิ่มมวลกระดูก สมานกระดูกที่หัก โดยสารในเพชรสังฆาตจะช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก และบรรเทาอาการบวมและอาการอักเสบได้
เพชรสังฆาตยังช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจนในเซลล์สร้างกระดูก และยังมีฤทธิ์ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกในหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่ (เพื่อจำลองให้เกิดสภาวะเหมือนหญิงวัยหมดประจำเดือน) เทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน เนื่องจากในหนูที่ได้รับเพชรสังฆาต พบการเพิ่มขึ้นของระดับเอสโตรเจนและวิตามินดีในเลือด จึงสันนิษฐานได้ว่า สมุนไพรเพชรสังฆาตมีสารในกลุ่มเอสโตรเจนสูงมากนั่นเอง
และเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนจะพบว่า เพชรสังฆาตให้ผลดีทั้งในเรื่องของความหนา ความแข็งแรง และความหนาแน่นมวลกระดูก ขณะที่เอสโตรเจนจะไม่มีผลในเรื่องความหนาแน่นของมวลกระดูก ที่สำคัญเพชรสังฆาตยังมีฤทธิ์ลดอาการปวดได้อีกด้วย
แก้ท้องผูก
เพชรสังฆาตมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก ถ่ายยาก และช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรครืดสีดวงทวารได้ แต่ทั้งนี้ผลของการช่วยระบายก็ต้องขึ้นอยู่กับธาตุของแต่ละบุคคลด้วยนะคะ ฉะนั้นหากรับประทานเพชรสังฆาตแล้วรู้สึกระบายมากเกินไป มีอาการถ่ายบ่อย ก็ควรลดขนาดรับประทานลงสักครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิมที่กินเพชรสังฆาตอยู่
เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรที่มีไฟเบอร์สูง ช่วยให้กินอาหารได้น้อยลง โดยไฟเบอร์ในเพชรสังฆาตจะเข้าไปลดเนื้อที่ของกระเพาะอาหาร ทำให้อิ่มเร็วขึ้น และมีผลยับยั้งเอนไซม์ที่ย่อยแป้ง น้ำตาล และไขมัน จึงช่วยลดการดูดซึมสารอาหารดังกล่าวเช้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น ซึ่งสรรพคุณช่วยลดน้ำหนักของเพชรสังฆาตก็ผ่านการศึกษาทดลองในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน โดยการทดลองได้คัดคนที่มีดัชนีมวลกาย หรือ BMI มากกว่า 26 kg/m2 ให้กินเพชรสังฆาตมื้อละ 150 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร วันละ 2 มื้อ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนการกินและการออกกำลังกาย
โดยผลการทดลองพบว่า อาสาสมัครกลุ่มนี้มีน้ำหนักลดลง 8.8% (จากเดิมน้ำหนักเฉลี่ยของผู้ทดลองก่อนทานเพชรสังฆาต 98.92 กิโลกรัม ลดเหลือ 90.19 กิโลกรัม) ไขมันในร่างกายลด 14.6% เส้นรอบเอวลดลง 8.6% (จากเดิมเส้นรอบเอวเฉลี่ยของผู้ทดลองก่อนทานเพชรสังฆาต 40 นิ้ว ลดเหลือ 36 นิ้ว) และยังมีผลลดระดับคอเลสเตอรอล ไขมันตัวร้าย LDL และระดับน้ำตาลในเลือด ได้ 26.69%, 20.16% และ 14.85% ตามลำดับ
นอกจากนี้จากการศึกษาในห้องทดลองยังพบว่า เพชรสังฆาตมีผลเพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้ง่าย และยังช่วยลดสารอักเสบที่พบในเลือดของผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน (Metabolic syndrome) ซึ่งผลดีของเพชรสังฆาตในข้อนี้น่าจะมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหา Metabolic syndrome ต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่อยากคุมน้ำหนัก ยังคงแนะนำว่าต้องคุมอาหารเป็นหลัก โดยอาจทานเพชรสังฆาตวันละ 1-2 แคปซูล หลังอาหารเช้า ต่อเนื่องสัก 10 สัปดาห์ ร่วมกับการคุมอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย
เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์ก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะในเถาของเพชรสังฆาตนั้นมีสารแคลเซียม ออกซาเลท (Calcium Oxalate) สูง จึงอาจทำให้เกิดการตกค้างได้หากรับประทานเข้าไปมากเกินพอดี อีกทั้งสารออกซาเลทนั้นยังอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองที่คอ เยื่อบุภายในปากและทางเดินอาหารส่วนบน ดังนั้นหากจะนำเถาของเพชรสังฆาตมารับประทานสด ๆ ควรหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ หุ้มด้วยกล้วยสุก หรือมะขามเปียก จะเป็นใบผักกาดดองก็ได้ แล้วค่อยรับประทาน และห้ามเคี้ยวโดยเด็ดขาด แต่ถ้าจะให้สะดวกยิ่งกว่านั้นก็สามารถรับประทานแบบที่เป็นแคปซูล วิธีนี้ก็ยังทำให้ได้คุณประโยชน์จากเพชรสังฆาตเช่นเดียวกับการรับประทานแบบสด ๆ ค่ะ
นอกจากนี้สำหรับการรับประทานเพชรสังฆาตเพื่อช่วยลดน้ำหนัก หากรับประทานเพชรสังฆาตก่อนมื้ออาหารแล้วเกิดอาการไม่สบายท้อง แนะนำให้ปรับมารับประทานหลังมื้ออาหารแทนได้นะคะ
ได้เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของเพชรสังฆาตกันไปแล้ว ใครที่มีเจ้าสมุนไพรชนิดนี้อยู่ที่บ้านก็อย่าลืมนำมาลองใช้กันนะ แต่ที่สำคัญคือต้องรู้วิธีและปริมาณการใช้ที่ถูกต้องไม่อย่างนั้นแทนที่จะได้ผลดี อาจจะได้ผลเสียกลับมาแทนไม่คุ้มกันแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เฟซบุ๊กสมุนไพรอภัยภูเบศร