เลือดกำเดาไหลครั้งใด ก็ย่อมต้องมีสาเหตุ และบางทีอาการเลือดกำเดาไหล ก็อาจบอกโรคที่ซ่อนอยู่ก็ได้
อาการดังกล่าวอาจเกิดจากเส้นเลือดฝอยในจมูกที่แตก ด้วยการสั่งน้ำมูกที่รุนแรง หรืออาการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเมื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต้นเหตุให้หายสนิทแล้ว เลือดกำเดาก็จะไม่ไหลอีก
ในช่วงที่ฝุ่น PM2.5 ปกคลุม อาจไปกระตุ้นให้มีอาการเลือดกำเดาไหลได้ โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
American Heart Association เผยว่า หากอาการเลือดกำเดาไหลของคุณมาพร้อมกับอาการปวดหัว หนักหัวเป็นอย่างมาก หายใจถี่ สั้น และมีอาการใจสั่น อาจบ่งชี้ภาวะโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินเลือดอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจได้ เพราะภาวะของโรคเหล่านี้อาจทำให้เกิดความดันเลือดที่สูงเกินกว่าปกติ จนเลือดต้องไหลออกมาทางจมูกเพื่อลดความดันเหล่านั้นลง ซึ่งอาการเลือดกำเดาไหลแบบนี้ไม่น่าไว้วางใจเป็นอย่างยิ่งนะคะ เพราะหมายถึงอาการของโรคที่กำลังเป็นอยู่กำลังกำเริบนั่นเอง
อากาศที่แห้งจนเกินไปอาจทำให้เส้นเลือดฝอยในจมูกเปราะและแตกได้ นำมาซึ่งสาเหตุของเลือดกำเดาไหล ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ด้วยการเพิ่มความชื้นในอากาศ โดยในเวลานอนหลับก็ให้นำถ้วยน้ำไปวางข้าง ๆ เตียง หรือจะรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ มะขามป้อม หรือสับปะรด เป็นประจำ ก็จะช่วยป้องกันเลือดกำเดาไหลได้
โดยเฉพาะยาลดการจับตัวของเลือด (blood-thinning) เช่น แอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเลือดกำเดาไหลได้ เนื่องจากตัวยาอาจลดประสิทธิภาพการจับตัวของเลือด ทำให้เลือดไหลออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น จนทำให้เกิดอาการเลือดกำเดาไหลนั่นเอง
เคสนี้อาจสังเกตได้ว่าเลือดกำเดาจะไหลแค่ข้างเดียว และมักจะเป็นที่ข้างเดิม ๆ เนื่องจากผนังกั้นช่องจมูกที่แคบนั้น จะมีลมหายใจหรืออากาศเข้า-ออก มากกว่าและเร็วกว่า ทำให้เยื่อบุจมูกแห้งกว่าอีกข้าง จนทำให้เกิดสะเก็ดและมีเลือดออกได้ง่าย
เนื้องอกที่ว่าอาจเป็นได้ทั้งเนื้อร้ายและเนื้อที่ไม่ร้าย แต่ที่เลือดกำเดาไหลก็เพราะเมื่อร่างกายมีเนื้องอกขึ้นมา เลือดจะมาหล่อเลี้ยงเนื้องอกนั้น ๆ จำนวนมาก และอาจทำให้เลือดออกมาทางจมูกได้
ดังนั้นหากมีเลือดกำเดาแบบเป็น ๆ หาย ๆ ปริมาณเลือดกำเดาที่ไหลมากกว่าปกติ น้ำหนักตัวลด มีก้อนที่คอ เสียงแหบนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือรู้สึกคัดจมูกเรื้อรัง ควรรีบไปส่องกล้องเพื่อตรวจโพรงจมูกจะดีกว่า
เลือดกำเดาไหลอาจเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงจมูก เช่น ภาวะเส้นเลือดโป่งพองหรือเส้นเลือดแดงผิดปกติจากอุบัติเหตุที่มีการกระทบกระเทือนมาถึงโพรงจมูก เป็นต้น
ได้ทราบกันไปแล้วว่าที่เลือดกำเดาไหลเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คราวนี้ลองมาดูวิธีปฐมพยาบาลอาการเลือดกำเดาไหลในเบื้องต้นกันบ้างดีกว่า
วิธีห้ามเลือดกำเดาไหลที่เคยเข้าใจกันมาตลอดว่าเมื่อเลือดกำเดาไหลให้เงยหน้า ซึ่งการเงยหน้าเป็นวิธีห้ามเลือดกำเดาไหลที่ไม่ถูกต้องนะคะ เนื่องจากเมื่อเราเงยหน้า เลือดกำเดาอาจไหลลงคอ ลงปอด และกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดการสำลักและอาเจียนได้ ดังนั้นเมื่อเลือดกำเดาไหลอย่าเงยหน้า แต่ให้ห้ามเลือดกำเดาไหล ตามนี้
ความผิดปกติของร่างกายอย่างการที่มีเลือดกำเดาไหล อาจบ่งชี้ภาวะความเจ็บป่วยของร่างกายได้หลายอย่าง ฉะนั้นเราก็ควรใส่ใจดูแลสุขภาพกันอย่าให้คลาดสายตาเลยนะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อสุขอนามัยที่ดีและร่างกายที่เข็งแรง ปราศจากโรคภัยของเราเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : ชีวจิต, รายการชัวร์ก่อนแชร์, Rama chanel, ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, everydayhealth
เลือดกำเดาไหลเกิดจากอะไร
? หากใครยังหาสาเหตุที่เลือดไหลออกจากจมูกไม่เจอ อย่าได้ทำเฉยเชียวนะคะ
เพราะอาการเลือดกำเดาไหลโดยไม่มีสาเหตุ
แท้จริงแล้วเลือดกำเดาที่ไหลอาจบอกภาวะของโรคหรือความผิดปกติของร่างกายอยู่ก็ได้
ถ้าอย่างนั้นมาดูกัน ว่าจริง ๆ แล้วเลือดกำเดาไหลเกิดจากอะไรได้บ้าง
เลือดกำเดาไหล สาเหตุมาจากอะไร
1. ไข้หวัด อาการแพ้ หรืออาการอักเสบต่าง ๆ
อาการดังกล่าวอาจเกิดจากเส้นเลือดฝอยในจมูกที่แตก ด้วยการสั่งน้ำมูกที่รุนแรง หรืออาการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเมื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต้นเหตุให้หายสนิทแล้ว เลือดกำเดาก็จะไม่ไหลอีก
2. ฝุ่น PM2.5
ในช่วงที่ฝุ่น PM2.5 ปกคลุม อาจไปกระตุ้นให้มีอาการเลือดกำเดาไหลได้ โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
3. ปัญหาสุขภาพ
American Heart Association เผยว่า หากอาการเลือดกำเดาไหลของคุณมาพร้อมกับอาการปวดหัว หนักหัวเป็นอย่างมาก หายใจถี่ สั้น และมีอาการใจสั่น อาจบ่งชี้ภาวะโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินเลือดอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจได้ เพราะภาวะของโรคเหล่านี้อาจทำให้เกิดความดันเลือดที่สูงเกินกว่าปกติ จนเลือดต้องไหลออกมาทางจมูกเพื่อลดความดันเหล่านั้นลง ซึ่งอาการเลือดกำเดาไหลแบบนี้ไม่น่าไว้วางใจเป็นอย่างยิ่งนะคะ เพราะหมายถึงอาการของโรคที่กำลังเป็นอยู่กำลังกำเริบนั่นเอง
4. อากาศที่แห้งจนเกินไป
อากาศที่แห้งจนเกินไปอาจทำให้เส้นเลือดฝอยในจมูกเปราะและแตกได้ นำมาซึ่งสาเหตุของเลือดกำเดาไหล ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ด้วยการเพิ่มความชื้นในอากาศ โดยในเวลานอนหลับก็ให้นำถ้วยน้ำไปวางข้าง ๆ เตียง หรือจะรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ มะขามป้อม หรือสับปะรด เป็นประจำ ก็จะช่วยป้องกันเลือดกำเดาไหลได้
5. ยาบางชนิด
โดยเฉพาะยาลดการจับตัวของเลือด (blood-thinning) เช่น แอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเลือดกำเดาไหลได้ เนื่องจากตัวยาอาจลดประสิทธิภาพการจับตัวของเลือด ทำให้เลือดไหลออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น จนทำให้เกิดอาการเลือดกำเดาไหลนั่นเอง
6. การระคายเคือง หรืออาการบาดเจ็บบริเวณเยื่อบุจมูก
ไม่ว่าจะเป็นการแคะจมูก ขยี้จมูกแรง ๆ การสั่งน้ำมูก
หรือการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศอย่างรวดเร็ว เช่น
ขณะนั่งเครื่องบินหรือดำน้ำ
ลักษณะเช่นนี้อาจทำให้เกิดเลือดกำเดาไหลได้ง่ายกว่าปกติ
7. ผนังกั้นช่องจมูกคด โค้งงอ หรือเป็นสันแหลม
เคสนี้อาจสังเกตได้ว่าเลือดกำเดาจะไหลแค่ข้างเดียว และมักจะเป็นที่ข้างเดิม ๆ เนื่องจากผนังกั้นช่องจมูกที่แคบนั้น จะมีลมหายใจหรืออากาศเข้า-ออก มากกว่าและเร็วกว่า ทำให้เยื่อบุจมูกแห้งกว่าอีกข้าง จนทำให้เกิดสะเก็ดและมีเลือดออกได้ง่าย
8. เนื้องอกในจมูกหรือโพรงอากาศข้างจมูก
เนื้องอกที่ว่าอาจเป็นได้ทั้งเนื้อร้ายและเนื้อที่ไม่ร้าย แต่ที่เลือดกำเดาไหลก็เพราะเมื่อร่างกายมีเนื้องอกขึ้นมา เลือดจะมาหล่อเลี้ยงเนื้องอกนั้น ๆ จำนวนมาก และอาจทำให้เลือดออกมาทางจมูกได้
ดังนั้นหากมีเลือดกำเดาแบบเป็น ๆ หาย ๆ ปริมาณเลือดกำเดาที่ไหลมากกว่าปกติ น้ำหนักตัวลด มีก้อนที่คอ เสียงแหบนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือรู้สึกคัดจมูกเรื้อรัง ควรรีบไปส่องกล้องเพื่อตรวจโพรงจมูกจะดีกว่า
9. ความผิดปกติของหลอดเลือด
เลือดกำเดาไหลอาจเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงจมูก เช่น ภาวะเส้นเลือดโป่งพองหรือเส้นเลือดแดงผิดปกติจากอุบัติเหตุที่มีการกระทบกระเทือนมาถึงโพรงจมูก เป็นต้น
ได้ทราบกันไปแล้วว่าที่เลือดกำเดาไหลเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คราวนี้ลองมาดูวิธีปฐมพยาบาลอาการเลือดกำเดาไหลในเบื้องต้นกันบ้างดีกว่า
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยมีเลือดกำเดาไหล
วิธีห้ามเลือดกำเดาไหลที่เคยเข้าใจกันมาตลอดว่าเมื่อเลือดกำเดาไหลให้เงยหน้า ซึ่งการเงยหน้าเป็นวิธีห้ามเลือดกำเดาไหลที่ไม่ถูกต้องนะคะ เนื่องจากเมื่อเราเงยหน้า เลือดกำเดาอาจไหลลงคอ ลงปอด และกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดการสำลักและอาเจียนได้ ดังนั้นเมื่อเลือดกำเดาไหลอย่าเงยหน้า แต่ให้ห้ามเลือดกำเดาไหล ตามนี้
1. ให้ผู้ป่วยนั่งหลังตรง ก้มศีรษะลงเล็กน้อย แล้วใช้มือบีบปีกจมูกทั้งสองข้าง นานประมาณ 5-10 นาที ระหว่างนั้นให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ ทางปากแทน ซึ่งการบีบจมูกจะเป็นวิธีห้ามเลือดอย่างหนึ่ง เหมือนเวลาเรากดที่แผลเมื่อมีเลือดออกตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง
2. ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดเลือดกำเดาที่ไหลออกมา จากนั้นวางผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งไว้บนดั้ง เพื่อช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ลดการไหลของเลือดกำเดา
3. เมื่อเลือดกำเดาหยุดไหลแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ การแคะจมูก การออกแรงมาก ออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือกิจกรรมที่อาจเกิดการกระทบกระเทือนบริเวณจมูกทุกชนิด ภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก
4. หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้ปฐมพยาบาลดังวิธีข้างต้นซ้ำอีก 2-3 ครั้ง แต่หากเลือดยังไหลอีก ก็ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุที่เลือดกำเดาไหลต่อไป
ความผิดปกติของร่างกายอย่างการที่มีเลือดกำเดาไหล อาจบ่งชี้ภาวะความเจ็บป่วยของร่างกายได้หลายอย่าง ฉะนั้นเราก็ควรใส่ใจดูแลสุขภาพกันอย่าให้คลาดสายตาเลยนะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อสุขอนามัยที่ดีและร่างกายที่เข็งแรง ปราศจากโรคภัยของเราเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : ชีวจิต, รายการชัวร์ก่อนแชร์, Rama chanel, ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, everydayhealth