กินแคลเซียมอย่างไรบำรุงกระดูกได้จริง


Calcium

          ภาวะกระดูกของเราจะเสื่อมสภาพลงตอนไหน เชื่อว่าคงไม่มีใครบอกเวลาที่แน่นอนได้ เพราะแม้สุขภาพร่างกายภายนอกจะดูแข็งแรงดี แต่ใครจะรู้ว่าตอนนี้กระดูกของเราอาจเริ่มกร่อนอยู่ภายใน โดยเฉพาะคนอายุ 30 ปีขึ้นไป และวัยหมดประจำเดือน ที่อาจรู้สึกปวดตรงนั้น เคล็ดขัดยอกตรงนี้บ่อย ๆ พอไปตรวจอย่างจริงจังเข้ากลับพบว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุนซะงั้น ! เอ้า...ทำไงดีล่ะคราวนี้

          โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่มวลกระดูกมีการลดลงไป ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ทำให้โครงสร้างของกระดูกอ่อนแอลงและแตกหักได้ง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ซึ่งโรคนี้น่ากลัวตรงที่ไม่มีอาการเตือน ต้องเป็นแล้วถึงรู้ แล้วถ้าเป็นจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก เช่น ทำให้บุคลิกภาพบางอย่างเปลี่ยนแปลง เกิดอาการปวดหลัง กระดูกหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง กระดูกแขน ขา เปราะและหัก หรือบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง ร้ายแรงถึงขั้นทำให้พิการ เดินไม่ได้อีกเลย

Calcium

          มาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยแล้วว่า มีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เรามาถึงจุดของโรคกระดูกพรุน บอกตรงนี้เลยค่ะว่ามีหลายปัจจัยเหลือเกิน ทั้งนิสัยขี้เกียจออกกำลังกาย พฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การพร่อง หรือขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งฮอร์โมนเพศหญิงนี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการรักษาสมดุลความแข็งแรงของกระดูก โดยปกติคนเราจะมีอัตราการสลายตัวของกระดูกหลังอายุ 30 อยู่ที่ปีละ 0.3%-0.5% แต่ผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้นอัตราการสลายตัวของกระดูกจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติถึง 10 เท่า ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเร็วจนน่าใจหาย ยิ่งถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย ก็เหมือนยิ่งเร่งให้กระดูกมีความบอบบาง และแตกหักได้ง่ายมากกว่าคนอื่นเลยทีเดียว

          นอกจากนี้ยังมีสาเหตุของโรคกระดูกพรุนที่หลายคนมองข้ามไป นั่นก็คือภาวะขาดสารอาหารสำคัญต่อการสร้างมวลกระดูกอย่าง "แคลเซียม" ดังนั้นหากต้องการบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ไม่ว่าจะเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนหรือรักษาภาวะกระดูกพรุนที่เป็นอยู่ การทานแคลเซียมให้เพียงพอจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก โดยหาทานได้จากอาหารประเภทนม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เต้าหู้ ถั่วเหลือง

Calcium

          แต่ถ้าต้องการให้แคลเซียมที่ทานเข้าไปบำรุงกระดูกได้จริง ๆ เราแนะนำให้ทานแคลเซียมในรูปแบบแคปซูลนิ่ม ที่มีสารสกัดไอโซฟลาโวนจากจมูกถั่วเหลืองด้วยค่ะ เพราะมีการศึกษาพบว่า สารสกัดจากจมูกถั่วเหลืองเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติที่อุดมไปด้วย "ไอโซฟลาโวน" ในปริมาณที่สูงมาก และไอโซฟลาโวนนี่เองที่เป็นเกราะป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบจากจมูกถั่วเหลือง เพื่อให้ได้รับไอโซฟลาโวนสกัดเข้มข้นมากกว่าการแนะนำให้รับประทานถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียว

          แล้วไอโซฟลาโวนในจมูกถั่วเหลืองก็ไม่ได้มีทีเด็ดแค่ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนนะคะ แต่ยังมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ และช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยทองได้อีกต่างหาก

          และหากกำลังมองหาแคลเซียมที่มีสารไอโซฟลาโวนจากจมูกถั่วเหลืองอยู่ละก็ "แคลเซียม ดี วิท ซอย เจิร์ม" (Calcium-D with soy germ) จะช่วยตอบโจทย์ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ ด้วยพลังแห่งคุณค่าจากจมูกถั่วเหลืองเพื่อกระดูกที่แข็งแรงทุกวัน โดยใน 1 แคปซูลอัดแน่นไปด้วยสารอาหารมากมาย ทั้งจมูกถั่วเหลืองที่มีปริมาณไอโซฟลาโวนสูง, แคลเซียม, วิตามินดี 3, แมกนีเซียม, ซิงค์, คอปเปอร์ และแมงกานีส ที่มีความสำคัญต่อการบำรุงกระดูกได้อย่างทันที เรียกว่าเป็นสูตรครบถ้วนที่ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ในเม็ดเดียว

Calcium


          เห็นส่วนประกอบตัวเด็ดในแคลเซียม ดี วิท ซอย เจิร์ม แล้วคงไม่ต้องสงสัยถ้าเราจะบอกว่า แคลเซียม ดี วิท ซอย เจิร์ม เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รวบรวมสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อกระดูก เหมาะกับผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน หรือมีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน เช่น ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป, ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือแม้แต่ผู้ที่ขาดแคลเซียมก็ทานได้ เพราะแคลเซียม ดี วิท ซอย เจิร์ม จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในกระดูกได้มากขึ้น

          คราวนี้ก็ได้ทราบกันไปแล้วนะคะว่า กินแคลเซียมอย่างไรให้บำรุงกระดูกได้จริง ๆ ซึ่งนอกจากการออกกำลังกาย งดการดื่มแอลกฮอล์ ลดการสูบบุหรี่ และรับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการแล้ว การทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อกระดูกก็เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยทำให้มวลกระดูกแข็งแรงมากขึ้น ไม่เปราะหักง่าย ทีนี้ก็บอกลาโรคกระดูกพรุนไปได้เลย สามารถติดตามข้อมูลดี ๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/MEGAWeCare และสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแบบส่วนตัวได้ที่ Line : @megawecare   



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กินแคลเซียมอย่างไรบำรุงกระดูกได้จริง อัปเดตล่าสุด 15 มิถุนายน 2559 เวลา 09:19:05 8,221 อ่าน
TOP
x close