สตอกโฮล์ม ซินโดรม (Stockholm syndrome) อาการทางจิตแปลก ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นกับตัวประกันที่ถูกจับตัวไป แต่ดันไม่เอาผิดคนร้ายหรือบางเคสก็กลับเข้าข้างคนร้ายซะอย่างนั้น
ที่มาของสตอกโฮล์ม ซินโดรม (Stockholm syndrome)
จุดแรกเริ่มของสตอกโฮล์ม ซินโดรม เกิดขึ้นจากคดีปล้นธนาคารที่เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้มีคนร้ายจับตัวประกันซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารประมาณ 4-5 คน และควบคุมตัวประกันทุกคนในธนาคารแห่งนั้นยาวนานเกือบ 5 วัน แต่ในขณะที่ตำรวจจะบุกเข้าไปจับกุมคนร้าย ตัวประกันทั้งหมดกลับปกป้องคนร้ายอย่างจริงจัง แม้กระทั่งตอนขึ้นศาลก็ยังให้การเข้าข้างคนร้าย ที่อึ้งที่สุดก็คือ มีตัวประกันบางคนถึงขั้นแต่งงานกับคนร้ายด้วย ทำให้นักจิตวิทยาต้องหาคำอธิบายเหตุการณ์พิลึกพิลั่นนี้ให้จงได้ และสุดท้ายก็มีคำว่า "สตอกโฮล์ม ซินโดรม" เกิดขึ้นมานี่ล่ะค่ะ
สตอกโฮล์ม ซินโดรม คืออะไร
สตอกโฮล์ม ซินโดรม คือ อาการทางจิตที่เกิดขึ้นกับตัวประกันหรือเชลยที่ถูกจับตัวไป และได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนร้ายในสถานที่อันจำกัดเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันระหว่างกัน ก่อเกิดความเห็นอกเห็นใจ สงสาร จนในที่สุดตัวประกันอาจเห็นผิดเป็นชอบไปกับคนร้าย กลายเป็นพวกเดียวกันเลยก็มี หรือบางเคสอาจโดนคนร้ายขู่ซ้ำ ๆ ว่าหากเหยื่อกระโตกกระตาก แจ้งตำรวจ จะทำร้ายหรือฆ่าทิ้งให้รู้แล้วรู้รอด ซึ่งตัวประกันก็จะรู้สึกหวาดหลัว และโอนเอียงไปในทางร่วมมือกับคนร้าย และทำตามความต้องการของคนร้ายอย่างว่าง่ายมากขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้ตัวประกันเห็นใจคนร้ายมากขึ้น นั่นก็อาจเป็นเพราะโจรที่จับตัวประกันไปไม่ได้มีพฤติกรรมเลวร้ายจนเหยื่อทนไม่ได้ หนำซ้ำยังอาจดูแลเอาใจใส่เหยื่อเป็นอย่างดี ทำให้เหยื่อเกิดความรู้สึกผูกพันมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่คิดจะหลบหนีหรือดิ้นรนเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากการจับกุมแต่อย่างใด ซึ่งจุดนี้ก็จะเพิ่มความลำบากในการติดตามหาเหยื่อ หรือหากจับกุมคนร้ายได้แล้วก็อาจดำเนินคดีความกับคนร้ายได้ไม่มากเท่าที่ควร
ส่วนในเรื่องการบำบัดรักษาสตอกโฮล์ม ซินโดรม ยังไม่มีวิธีรักษาที่แน่ชัด แต่อาจบำบัดอาการได้โดยอาศัยเวลา ที่จะทำให้ความรู้สึกผูกพันกับคนร้ายนั้นค่อย ๆ เจือจางลงไปด้วยตัวของมันเอง
อย่างไรก็ดี เราอาจจะเคยเห็นอาการสตอกโฮล์ม ซินโดรมในรูปแบบของคู่รัก สามี-ภรรยา ที่ดำเนินความสัมพันธ์กับแบบสายโหด มีการตบตีทำร้ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซ้ำ ๆ แต่คนโดนกระทำกลับยังทนและรักอยู่อย่างนั้นไม่เสื่อมคลาย ซึ่งจะว่าไปก็คล้าย ๆ ละครตบจูบ หรือนิยายสไตล์ปล้นรักหักสวาทยังไงยังงั้นเลยเนอะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
howstuffworks
counsellingresource
ถ้าจะเปรียบเทียบกับละครหลาย ๆ เรื่องเราก็จะเห็นพระเอกที่จับตัวนางเอกไปขัง ไปใช้ชีวิตตกระกำลำบากกันในช่วงเวลาหนึ่ง แต่แทนที่จะแจ้งความดำเนินคดีกับตัวพระเอกให้สมกับความผิดที่กระทำ ตัวนางเอกกลับเห็นอกเห็นใจ และลงเอยกันด้วยดีกับพระเอก กลายเป็นความแฮปปี้เอนด์ดิ้งของเรื่องไปเสียได้ ซึ่งถ้าจะอธิบายในแง่ของหลักจิตวิทยา อาการใจอ่อนของตัวประกันดังที่กล่าวมาก็คืออาการของโรคสตอกโฮล์ม ซินโดรม นั่นเองค่ะ
ที่มาของสตอกโฮล์ม ซินโดรม (Stockholm syndrome)
จุดแรกเริ่มของสตอกโฮล์ม ซินโดรม เกิดขึ้นจากคดีปล้นธนาคารที่เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้มีคนร้ายจับตัวประกันซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารประมาณ 4-5 คน และควบคุมตัวประกันทุกคนในธนาคารแห่งนั้นยาวนานเกือบ 5 วัน แต่ในขณะที่ตำรวจจะบุกเข้าไปจับกุมคนร้าย ตัวประกันทั้งหมดกลับปกป้องคนร้ายอย่างจริงจัง แม้กระทั่งตอนขึ้นศาลก็ยังให้การเข้าข้างคนร้าย ที่อึ้งที่สุดก็คือ มีตัวประกันบางคนถึงขั้นแต่งงานกับคนร้ายด้วย ทำให้นักจิตวิทยาต้องหาคำอธิบายเหตุการณ์พิลึกพิลั่นนี้ให้จงได้ และสุดท้ายก็มีคำว่า "สตอกโฮล์ม ซินโดรม" เกิดขึ้นมานี่ล่ะค่ะ
สตอกโฮล์ม ซินโดรม คืออะไร
สตอกโฮล์ม ซินโดรม คือ อาการทางจิตที่เกิดขึ้นกับตัวประกันหรือเชลยที่ถูกจับตัวไป และได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนร้ายในสถานที่อันจำกัดเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันระหว่างกัน ก่อเกิดความเห็นอกเห็นใจ สงสาร จนในที่สุดตัวประกันอาจเห็นผิดเป็นชอบไปกับคนร้าย กลายเป็นพวกเดียวกันเลยก็มี หรือบางเคสอาจโดนคนร้ายขู่ซ้ำ ๆ ว่าหากเหยื่อกระโตกกระตาก แจ้งตำรวจ จะทำร้ายหรือฆ่าทิ้งให้รู้แล้วรู้รอด ซึ่งตัวประกันก็จะรู้สึกหวาดหลัว และโอนเอียงไปในทางร่วมมือกับคนร้าย และทำตามความต้องการของคนร้ายอย่างว่าง่ายมากขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้ตัวประกันเห็นใจคนร้ายมากขึ้น นั่นก็อาจเป็นเพราะโจรที่จับตัวประกันไปไม่ได้มีพฤติกรรมเลวร้ายจนเหยื่อทนไม่ได้ หนำซ้ำยังอาจดูแลเอาใจใส่เหยื่อเป็นอย่างดี ทำให้เหยื่อเกิดความรู้สึกผูกพันมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่คิดจะหลบหนีหรือดิ้นรนเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากการจับกุมแต่อย่างใด ซึ่งจุดนี้ก็จะเพิ่มความลำบากในการติดตามหาเหยื่อ หรือหากจับกุมคนร้ายได้แล้วก็อาจดำเนินคดีความกับคนร้ายได้ไม่มากเท่าที่ควร
ส่วนในเรื่องการบำบัดรักษาสตอกโฮล์ม ซินโดรม ยังไม่มีวิธีรักษาที่แน่ชัด แต่อาจบำบัดอาการได้โดยอาศัยเวลา ที่จะทำให้ความรู้สึกผูกพันกับคนร้ายนั้นค่อย ๆ เจือจางลงไปด้วยตัวของมันเอง
อย่างไรก็ดี เราอาจจะเคยเห็นอาการสตอกโฮล์ม ซินโดรมในรูปแบบของคู่รัก สามี-ภรรยา ที่ดำเนินความสัมพันธ์กับแบบสายโหด มีการตบตีทำร้ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซ้ำ ๆ แต่คนโดนกระทำกลับยังทนและรักอยู่อย่างนั้นไม่เสื่อมคลาย ซึ่งจะว่าไปก็คล้าย ๆ ละครตบจูบ หรือนิยายสไตล์ปล้นรักหักสวาทยังไงยังงั้นเลยเนอะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
howstuffworks
counsellingresource