อาการกล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากอะไร?
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบมีด้วยกันหลายสาเหตุ ได้แก่ เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อเกินกำลัง, ใช้งานผิดวิธี เช่น นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเกิดจากอุบัติเหตุ และการเล่นกีฬา เช่น กล้ามเนื้อแพลง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อฉีกขาด เป็นตะคริว ซึ่งสาเหตุในกลุ่มนี้เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด และพบได้บ่อยเกือบ ทุกวันในการใช้ชีวิตประจำวัน
ส่วนที่พบไม่บ่อยคือ เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทของสมอง, ไขสันหลัง, จากโรคของสมอง, โรคหลอดเลือดสมอง, ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาลดไขมันบางชนิด, ยาต้านฮอร์โมนบางชนิด, ยารักษาโรคมะเร็งเต้านมบางชนิด หรือจากพันธุกรรม
ทำไมทายาบรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อแล้วถึงไม่หายปวด?
1. บีบนวดบ่อย, บีบนวดแรงจนเกินไป และการบีบนวดอย่างผิดวิธีก็มีผลให้กล้ามเนื้อที่มันอักเสบอยู่แล้ว อักเสบหนักมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการปวดอักเสบกล้ามเนื้อที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ข้อเท้าแพลง, กล้ามเนื้อฉีกขาด ห้ามนวดและใช้ยาสูตรร้อนโดยเด็ดขาด
2. เลือกใช้ยาไม่ถูกต้อง ควรอ่านฉลากยาให้ละเอียดว่ายาที่เรา จะเลือกใช้นั้นมีสรรพคุณตรงกับโรคที่เราต้องการจะรักษาหรือไม่
เพราะการที่เราเลือกใช้ยาผิด ไม่ตรงกับอาการ หรือไม่มีตัวยาที่ช่วยบรรเทาได้จริงอาจทำให้หายช้าหรือเป็นเรื้อรังได้ สำหรับยาใช้ภายนอกที่ช่วยบรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น Diclofenac, Naproxen, Piroxicam, Indomethacin เป็นต้น
3. ไม่ควรใช้ยาสูตรร้อน เพราะความร้อนจะไปกระตุ้นการอักเสบ
มีวิธีการรักษาอย่างไร?
1. การรักษาที่ได้ผลดีต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด เพื่อจะได้แก้ที่ต้นเหตุของโรค เช่น เกิดจากการยกของหนักหรือยกของผิดท่า, ท่านั่งทำงาน, ท่านอน หรือเกิดจากการออกกำลังกาย มิฉะนั้นการรักษาแต่ปลายเหตุอาจทำให้อาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อกลับมาเป็นซ้ำอีก
2. ให้บรรเทาอาการด้วยยาบรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อ
3. หลีกเลี่ยงการบีบนวด เพื่อเลี่ยงการเกิดอาการอักเสบ เพราะถ้าบีบนวดบ่อย, บีบแรงจนเกินไป และการบีบนวดอย่างผิดวิธีก็มีผลให้กล้ามเนื้อที่มันอักเสบอยู่แล้ว อักเสบหนักมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ประคบเย็น หรือใช้ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบสเปรย์สูตรเย็น
หากอาการปวดอักเสบไม่บรรเทาลงเลยภายใน 2 สัปดาห์ หลังการใช้ยาควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนนะครับ
ถ้าใครเกิดอาการปวดเมื่อยและปวดอักเสบเป็นประจำก็ควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำบ่อย ๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดเมื่อยปวดอักเสบด้วยนะครับ !!!
เรียบเรียงโดย
วีระเดช ผเด็จพล
Nutrition & Exercise Specialist
Certified Strength & Conditioning Specialist, NSCA.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
goo.gl/tdByY2
goo.gl/hCeK8V
www.facebook.com/unirenspray