
หากพูดถึงโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หลายคนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่โรคดังกล่าวกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจในสังคมอีกครั้ง หลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อ้างว่าป่วยเป็นโรคดังกล่าว จนไม่สามารถมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวได้ ตามมาซึ่งความสงสัยว่าโรคนี้มีสาเหตุจากอะไร และผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไร

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคเมเนียร์ (Meniere’s disease) เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย มักพบได้ในผู้คนอายุ 30-60 ปี สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในที่ควบคุมระบบการได้ยินและการทรงตัว ทำให้มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน, การได้ยินลดลง, เสียงก้องในหู และแน่นหู ส่วนใหญ่มักเป็นกับหูเพียงข้างเดียว แต่อาจเป็นกับหูทั้ง 2 ข้างได้เช่นกัน
- ภาวะเครียดทางจิตใจ การอดหลับอดนอน ร่างกายเหนื่อยล้า การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาแอสไพริน)
- การติดเชื้อไวรัส เช่น หูชั้นในอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซิฟิลิส ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ
- โรคทางกาย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคของหลอดเลือดในหู ปวดศีรษะไมเกรน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไทรอยด์
- เคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อน
- การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน
- ความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่
- กรรมพันธุ์ ทำให้ผู้ป่วยมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติมาแต่กำเนิด
- เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ (พบได้เป็นส่วนใหญ่)
อาการโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ประกอบด้วย
1. เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน และคลื่นไส้อาเจียน
2. ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง
3. เสียงดังในหู แน่นหู อาจทนเสียงดังไม่ได้

การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เบื้องต้นผู้ป่วยต้องงดอาหารเค็ม, เหล้า, บุหรี่, ชา, กาแฟ, นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์ช่วยลดความดันในหูชั้นใน รวมถึงการไปพบแพทย์เพื่อฉีดยาเข้าในหูชั้นกลาง หรืออาจจะมีการผ่าตัด เป็นต้น
สำหรับโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แม้จะยังไม่มีวิธีที่ทำให้โรคหายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมได้ด้วยการรักษาและปฏิบัติตัวให้ถูกหลัก ซึ่งการรักษาอาจต้องใช้ความอดทนและความร่วมมือจากผู้ป่วย และหากปฏิบัติตามคำที่แพทย์แนะนำก็มีโอกาสที่จะกลับมาหายเกือบปกติได้
เรียกได้ว่าไม่ใช่โรคอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตอยู่ไม่น้อย...ดังนั้นก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี ๆ ไม่เช่นนั้นคุณก็อาจจะเป็นโรคนี้เข้าโดยบังเอิญได้เหมือนกัน
ภาพและข้อมูลจาก medthai.com
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
