ดอกดาวเรือง ที่มาพร้อมสีสันสวยงามอร่ามตา แต่นอกจากนี้แล้วสรรพคุณของดอกดาวเรืองยังจัดว่าไม่ธรรมดาเลยด้วย
หลายคนอาจรู้จักสรรพคุณดอกดาวเรืองในด้านที่เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสายตา หรือบางคนอาจได้ยินว่าดอกดาวเรืองมีสรรพคุณช่วยดูแลผิวพรรณ นำสารสกัดจากดอกดาวเรืองมาแต้มสิว แก้ปัญหาริ้วรอยบนผิวพรรณได้ ทว่านอกจากดอกดาวเรืองจะมีสรรพคุณเหล่านี้แล้ว ทราบกันไหมคะว่าดอกดาวเรืองสีเหลืองสวยนี้ ยังมีสรรพคุณทางยา และประโยชน์เพื่อสุขภาพอีกเพียบเลย เอาเป็นว่าเรามารู้จักดอกดาวเรืองให้มากขึ้นกันดีกว่า
หลายคนอาจรู้จักสรรพคุณดอกดาวเรืองในด้านที่เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสายตา หรือบางคนอาจได้ยินว่าดอกดาวเรืองมีสรรพคุณช่วยดูแลผิวพรรณ นำสารสกัดจากดอกดาวเรืองมาแต้มสิว แก้ปัญหาริ้วรอยบนผิวพรรณได้ ทว่านอกจากดอกดาวเรืองจะมีสรรพคุณเหล่านี้แล้ว ทราบกันไหมคะว่าดอกดาวเรืองสีเหลืองสวยนี้ ยังมีสรรพคุณทางยา และประโยชน์เพื่อสุขภาพอีกเพียบเลย เอาเป็นว่าเรามารู้จักดอกดาวเรืองให้มากขึ้นกันดีกว่า
ดอกดาวเรือง ดอกไม้สีเหลืองสวย กับความเป็นมา
ดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้ที่คุ้นตาคนไทยมาช้านาน เพราะเป็นดอกไม้ปลูกง่าย สีสันก็สวยสดใสสะดุดตา ซึ่งนอกจากดอกดาวเรืองจะมีให้เห็นในบ้านเราแล้ว ในต่างประเทศก็รู้จักดอกดาวเรืองด้วยเช่นกันค่ะ โดยดอกดาวเรือง ภาษาอังกฤษจะเรียกกันว่า Marigold เนื่องจากดอกดาวเรืองมีสีเหลืองทอง ส่วนดอกดาวเรืองในชื่อวิทยาศาสตร์ก็จะเรียกกันว่า Tagetes erecta L. เป็นดอกไม้ในวงศ์ Asteraceae และนอกจากนี้ในบ้านเรายังมีชื่อเรียกดอกดาวเรืองต่างกันตามท้องถิ่นด้วย โดยดอกดาวเรือง ภาษาเหนือ หรือในภาคเหนือจะเรียกว่า ดอกคำปู้จู้ หรือในแถบแม่ฮ่องสอนจะเรียกดอกดาวเรืองว่า พอทู เป็นต้น
ส่วนถิ่นกำเนิดของดอกดาวเรืองเริ่มต้นที่ประเทศเม็กซิโกและแถบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชาวท้องถิ่นปลูกดอกดาวเรืองไว้เพื่อบูชาเทพเจ้า ก่อนจะมีผู้นำไปขยายพันธุ์ในทวีปยุโรป แต่ต่อมาก็ได้ขยายพันธุ์ดอกดาวเรืองไปในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลก โดยปัจจุบันดอกดาวเรืองก็มีอยู่ด้วยกันถึง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ดาวเรืองอเมริกัน (American marigold), ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds), ดาวเรืองนักเก็ต (Nugget Marigolds), ดาวเรืองซิกเน็ต (Signet Marigold), ดาวเรืองใบ (Foliage Marigold) นอกจากนี้ดอกดาวเรืองยังเป็นพืชเศรษฐกิจทั้งในอียิปต์ สเปน และฝรั่งเศส อีกด้วย
สำหรับในไทยนั้น จะปลูกดอกดาวเรืองกันมากในบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปลูกเป็นไม้ตัดดอกเพื่อการค้า ไม้กระถาง และประดับประดาสถานที่ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ
ดอกดาวเรือง ความหมายที่แสนลึกซึ้ง
ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณจะเชื่อกันว่า การปลูกดอกดาวเรืองไว้ในบ้านจะช่วยนำเงินทองเข้ามาให้ ช่วยหนุนนำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง เนื่องจากดอกดาวเหลืองมีสีเหลืองทองนั่นเอง นอกจากนี้ดอกดาวเรืองยังเป็นดอกไม้ที่แข็งแกร่ง ปลูกง่าย โตเร็ว และทนทาน จึงมีความหมายอันเป็นมงคลซึ่งหมายถึงความมั่นคง โดยมักสื่อความหมายถึงครอบครัวใหม่ หรือทางด้านความรักด้วย
ทั้งนี้นอกจากดอกดาวเรืองจะมีสีเหลืองตามสีของวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แล้ว ดอกดาวเรืองยังมีความหมายอันลึกซึ้งที่แสดงถึงความรำลึกในมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ กล่าวคือ ดอกดาวเรืองมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง เปรียบเหมือนพระองค์ที่ทรงนำความชื่นบาน ความเจริญมาสู่ชาติบ้านเมือง อีกทั้งพระราชจริยวัตรของพระองค์ท่านที่เรียบง่าย ยึดหลักพอเพียง และทรงไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคใด ๆ ก็เปรียบเสมือนดอกดาวเรืองที่ปลูกง่าย โตเร็ว และทนทาน อวดสีเหลืองงามบานสะพรั่งได้เนิ่นนาน ไม่หวั่นแดด ลม และฝนใด ๆ
ลักษณะทางพันธุศาสตร์ของดอกดาวเรือง
ดาวเรือง เป็นไม้ล้มลุก อายุไม่ถึง 1 ปี ลำต้นมีสีเขียวผิวเกลี้ยงและเป็นสัน ขึ้นแบบตั้งตรง ด้านในมีเนื้ออ่อน ความสูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร แตกกิ่งเป็นทรงพุ่มแน่น มีใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ มีใบย่อยประมาณ 11-17 ใบ ลักษณะคล้ายรูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ใบยาวประมาณ 4-11 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายก้าน สีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ได้แก่ เหลือง ส้ม ทอง ขาว ฯลฯ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-15 เซนติเมตร มีสันเป็นทางยาว 7-13 สัน เมล็ดมีลักษณะแห้ง เป็นสีดำ โคนมนกว้างปลายเรียว
ทำความรู้จักดอกดาวเรืองกันไปคร่าว ๆ แล้ว เรามาดูกันบ้างค่ะว่า ดอกดาวเรืองมีสรรพคุณด้านสุขภาพมากมายขนาดไหน
ประโยชน์ของดอกดาวเรือง สรรพคุณลือเลื่อง
บำรุงสายตา
ดอกดาวเรืองมีสารแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ (สารต้านอนุมูลอิสระ) ชนิดหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบเป็นโมเลกุลที่มีออกซิเจน อันได้แก่ ลูทีนและซีแซนธิน ซึ่งจัดว่าเป็นสารบำรุงสายตาจากพืชมีสี โดยทั้งสองสารนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตาได้ ช่วยกรองแสงสีฟ้า และยังเป็นสารออกซิเดชั่น ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่จะทำลายประสิทธิภาพการทำงานของจอประสาทตา โดยการนำเอาสารบำรุงสายตาจากดอกดาวเรืองมาใช้ แนะนำให้นำดอกดาวเรืองไปตากแห้ง แล้วนำมาชงเป็นชาดื่ม 1 หยิบมือ ต่อน้ำร้อน 1 แก้วกาแฟ เท่านี้ก็จะได้รับสารบำรุงสายตาที่ซ่อนอยู่ในดอกดาวเรืองแล้วล่ะค่ะ
ดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้ที่คุ้นตาคนไทยมาช้านาน เพราะเป็นดอกไม้ปลูกง่าย สีสันก็สวยสดใสสะดุดตา ซึ่งนอกจากดอกดาวเรืองจะมีให้เห็นในบ้านเราแล้ว ในต่างประเทศก็รู้จักดอกดาวเรืองด้วยเช่นกันค่ะ โดยดอกดาวเรือง ภาษาอังกฤษจะเรียกกันว่า Marigold เนื่องจากดอกดาวเรืองมีสีเหลืองทอง ส่วนดอกดาวเรืองในชื่อวิทยาศาสตร์ก็จะเรียกกันว่า Tagetes erecta L. เป็นดอกไม้ในวงศ์ Asteraceae และนอกจากนี้ในบ้านเรายังมีชื่อเรียกดอกดาวเรืองต่างกันตามท้องถิ่นด้วย โดยดอกดาวเรือง ภาษาเหนือ หรือในภาคเหนือจะเรียกว่า ดอกคำปู้จู้ หรือในแถบแม่ฮ่องสอนจะเรียกดอกดาวเรืองว่า พอทู เป็นต้น
ส่วนถิ่นกำเนิดของดอกดาวเรืองเริ่มต้นที่ประเทศเม็กซิโกและแถบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชาวท้องถิ่นปลูกดอกดาวเรืองไว้เพื่อบูชาเทพเจ้า ก่อนจะมีผู้นำไปขยายพันธุ์ในทวีปยุโรป แต่ต่อมาก็ได้ขยายพันธุ์ดอกดาวเรืองไปในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลก โดยปัจจุบันดอกดาวเรืองก็มีอยู่ด้วยกันถึง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ดาวเรืองอเมริกัน (American marigold), ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds), ดาวเรืองนักเก็ต (Nugget Marigolds), ดาวเรืองซิกเน็ต (Signet Marigold), ดาวเรืองใบ (Foliage Marigold) นอกจากนี้ดอกดาวเรืองยังเป็นพืชเศรษฐกิจทั้งในอียิปต์ สเปน และฝรั่งเศส อีกด้วย
สำหรับในไทยนั้น จะปลูกดอกดาวเรืองกันมากในบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปลูกเป็นไม้ตัดดอกเพื่อการค้า ไม้กระถาง และประดับประดาสถานที่ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ
ดอกดาวเรือง ความหมายที่แสนลึกซึ้ง
ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณจะเชื่อกันว่า การปลูกดอกดาวเรืองไว้ในบ้านจะช่วยนำเงินทองเข้ามาให้ ช่วยหนุนนำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง เนื่องจากดอกดาวเหลืองมีสีเหลืองทองนั่นเอง นอกจากนี้ดอกดาวเรืองยังเป็นดอกไม้ที่แข็งแกร่ง ปลูกง่าย โตเร็ว และทนทาน จึงมีความหมายอันเป็นมงคลซึ่งหมายถึงความมั่นคง โดยมักสื่อความหมายถึงครอบครัวใหม่ หรือทางด้านความรักด้วย
ทั้งนี้นอกจากดอกดาวเรืองจะมีสีเหลืองตามสีของวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แล้ว ดอกดาวเรืองยังมีความหมายอันลึกซึ้งที่แสดงถึงความรำลึกในมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ กล่าวคือ ดอกดาวเรืองมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง เปรียบเหมือนพระองค์ที่ทรงนำความชื่นบาน ความเจริญมาสู่ชาติบ้านเมือง อีกทั้งพระราชจริยวัตรของพระองค์ท่านที่เรียบง่าย ยึดหลักพอเพียง และทรงไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคใด ๆ ก็เปรียบเสมือนดอกดาวเรืองที่ปลูกง่าย โตเร็ว และทนทาน อวดสีเหลืองงามบานสะพรั่งได้เนิ่นนาน ไม่หวั่นแดด ลม และฝนใด ๆ
ลักษณะทางพันธุศาสตร์ของดอกดาวเรือง
ดาวเรือง เป็นไม้ล้มลุก อายุไม่ถึง 1 ปี ลำต้นมีสีเขียวผิวเกลี้ยงและเป็นสัน ขึ้นแบบตั้งตรง ด้านในมีเนื้ออ่อน ความสูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร แตกกิ่งเป็นทรงพุ่มแน่น มีใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ มีใบย่อยประมาณ 11-17 ใบ ลักษณะคล้ายรูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ใบยาวประมาณ 4-11 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายก้าน สีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ได้แก่ เหลือง ส้ม ทอง ขาว ฯลฯ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-15 เซนติเมตร มีสันเป็นทางยาว 7-13 สัน เมล็ดมีลักษณะแห้ง เป็นสีดำ โคนมนกว้างปลายเรียว
ทำความรู้จักดอกดาวเรืองกันไปคร่าว ๆ แล้ว เรามาดูกันบ้างค่ะว่า ดอกดาวเรืองมีสรรพคุณด้านสุขภาพมากมายขนาดไหน
ประโยชน์ของดอกดาวเรือง สรรพคุณลือเลื่อง
บำรุงสายตา
ดอกดาวเรืองมีสารแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ (สารต้านอนุมูลอิสระ) ชนิดหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบเป็นโมเลกุลที่มีออกซิเจน อันได้แก่ ลูทีนและซีแซนธิน ซึ่งจัดว่าเป็นสารบำรุงสายตาจากพืชมีสี โดยทั้งสองสารนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตาได้ ช่วยกรองแสงสีฟ้า และยังเป็นสารออกซิเดชั่น ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่จะทำลายประสิทธิภาพการทำงานของจอประสาทตา โดยการนำเอาสารบำรุงสายตาจากดอกดาวเรืองมาใช้ แนะนำให้นำดอกดาวเรืองไปตากแห้ง แล้วนำมาชงเป็นชาดื่ม 1 หยิบมือ ต่อน้ำร้อน 1 แก้วกาแฟ เท่านี้ก็จะได้รับสารบำรุงสายตาที่ซ่อนอยู่ในดอกดาวเรืองแล้วล่ะค่ะ
บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ทำการวิจัยสารสกัดจากดอกดาวเรืองและพบว่า สารสกัดจากดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมบวกอย่าง S.aureus และ S. epidermidis ได้ดี และสารสกัดดอกดาวเรืองที่ได้ยังสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี เนื่องจากมีกรดฟีนอลิกที่สำคัญ ได้แก่ กรดแกลลิก กรดวานิลลิก กรดคาเฟอิก กรดคูมาริก และกรดไซรินจิก ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดริ้วรอยและทำให้ผิวพรรณดูอ่อนวัย อีกทั้งยังสามารถป้องกันผิวหนังจากรังสียูวีได้ดีอีกด้วย
โดยเพียงแค่นำดอกดาวเรืองสดหรือนำดอกดาวเรืองไปตากแห้ง แล้วแช่ในเอทานอล อาจแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ หรือแช่ในน้ำบริสุทธิ์แล้วให้ความร้อนอย่างน้อย 15 นาที โดยใช้เตาไมโครเวฟ 15-35 นาที จะทำให้ได้สารสกัดจากดอกดาวเรืองที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ เช่น บาล์ม ยาหม่อง สเปรย์น้ำฉีดผิวหน้าและผิวกาย ให้ความชุ่มชื้น บรรเทาอาการระคายเคืองต่อผิว แก้ผื่นคัน หรือถ้านำไปผสมในครีมหรือโลชั่นทาบำรุงผิวพรรณเพื่อช่วยลดริ้วรอยก็ได้เช่นกัน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ทำการวิจัยสารสกัดจากดอกดาวเรืองและพบว่า สารสกัดจากดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมบวกอย่าง S.aureus และ S. epidermidis ได้ดี และสารสกัดดอกดาวเรืองที่ได้ยังสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี เนื่องจากมีกรดฟีนอลิกที่สำคัญ ได้แก่ กรดแกลลิก กรดวานิลลิก กรดคาเฟอิก กรดคูมาริก และกรดไซรินจิก ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดริ้วรอยและทำให้ผิวพรรณดูอ่อนวัย อีกทั้งยังสามารถป้องกันผิวหนังจากรังสียูวีได้ดีอีกด้วย
โดยเพียงแค่นำดอกดาวเรืองสดหรือนำดอกดาวเรืองไปตากแห้ง แล้วแช่ในเอทานอล อาจแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ หรือแช่ในน้ำบริสุทธิ์แล้วให้ความร้อนอย่างน้อย 15 นาที โดยใช้เตาไมโครเวฟ 15-35 นาที จะทำให้ได้สารสกัดจากดอกดาวเรืองที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ เช่น บาล์ม ยาหม่อง สเปรย์น้ำฉีดผิวหน้าและผิวกาย ให้ความชุ่มชื้น บรรเทาอาการระคายเคืองต่อผิว แก้ผื่นคัน หรือถ้านำไปผสมในครีมหรือโลชั่นทาบำรุงผิวพรรณเพื่อช่วยลดริ้วรอยก็ได้เช่นกัน
ในดอกดาวเรืองมีสารคาเลนดูลา (Calendula) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาปัญหาผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ แผลเป็น และผิวหนังแห้งแตก โดยการนำดอกดาวเรืองมาบรรเทาและดูแลปัญหาผิวหนังเหล่านี้ ควรใช้สารสกัดจากดอกดาวเรืองที่อยู่ในรูปครีมยา น้ำมันหอมระเหย หรือโลชั่นบำรุงผิวพรรณนะคะ
รักษาสิว
สาว ๆ ที่มีปัญหาสิวจะใช้ดอกดาวเรืองแต้มสิวก็ได้เหมือนกันค่ะ แต่ควรใช้ดอกดาวเรืองที่สกัดมาเรียบร้อยแล้วนะคะ เนื่องจากสารสกัดจากดอกดาวเรืองอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มไตรเทอปีน ฟลาโวนอยด์ และซาโปนิน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มีคุณสมบัติในการสมานแผล ช่วยทำความสะอาดเนื้อเยื่อ และป้องกันการติดเชื้อบนผิวหนัง ดังนั้นสาว ๆ ที่มีปัญหาสิวและผิวพรรณอักเสบ สามารถใช้สารสกัดจากดอกดาวเรืองช่วยแก้ปัญหาสิว ๆ เหล่านี้ได้
ทว่าหากใครอยากได้ฟีลแบบธรรมชาติบำบัดจริง ๆ ก็สามารถนำใบดอกดาวเรืองมาล้างให้สะอาด จากนั้นนำใบดอกดาวเรืองไปตำแล้วเอามาพอกบริเวณที่เป็นสิว หรือจะนำใบไปต้มแล้วนำน้ำมาล้างบริเวณที่เป็นสิวก็ได้ เพราะใบดอกดาวเรืองก็มีรสชุ่มเย็น ใช้แก้ฝี แผลพุพอง ตุ่มมีหนอง และอาการบวม อาการอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุได้
แก้ร้อนใน
ด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และแก้ปัญหาผิวหนังแตกแห้ง รวมทั้งฤทธิ์ต้านอาการอักเสบที่มีอยู่ในดอกดาวเรือง จึงทำให้ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้รักษาอาการร้อนในได้ โดยการใช้ก็เพียงแค่นำดอกดาวเรืองไปตากแห้งแล้วมาชงเป็นชาดื่ม จะช่วยลดความร้อนในร่างกายและทำให้อาการร้อนในลดลงได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำชาจากดอกดาวเรืองมาบ้วนปากเป็นประจำเพื่อรักษาแผลร้อนในได้อีกด้วยค่ะ
แก้ปวดฟัน
ดอกดาวเรืองที่เราคุ้นเคยชนิดนี้มีดีมากกว่าแค่เพียงไว้ใช้ประดับให้สวยงามเท่านั้น เพราะถ้าหากนำดอกแห้ง 7-8 ดอกไปต้มกับน้ำในปริมาณที่พอเหมาะแล้วจิบทั้งวัน ก็สามารถลดอาการปวดฟันได้โดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด อีกทั้งยังสามารถขับร้อนในร่างกายได้อีกด้วย
ละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอ
ช่อดอกดาวเรืองมีรสขม กลิ่นฉุนเล็กน้อย ทว่าก็มีสรรพคุณทางยาช่วยกล่อมตับ ขับร้อนจากร่างกาย ละลายเสมหะ แก้ไอหวัด ไอกรน บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ คางทูม และสามารถสมานแผลให้หายเร็วขึ้นได้ โดยการใช้ภายในให้นำช่อดอกดาวเรือง 3-10 กรัม ต้มน้ำแล้วจิบเป็นชา ส่วนวิธีใช้ดอกดาวเรืองรักษาแผลภายนอก ให้นำช่อดอกดาวเรืองต้ม รอให้อุ่น แล้วนำน้ำต้มดาวเรืองมาชะล้างบริเวณที่เป็นแผล
แก้วิงเวียนศีรษะ
น้ำมันหอมระเหยจากดอกดาวเรืองมีคุณสมบัติแก้อาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลม ได้ และยังมีประโยชน์ช่วยบำรุงเส้นผมและลดริ้วรอยจากอาการผิวแตกลายได้ด้วยนะคะ
ขับลม แก้ท้องผูก รักษาริดสีดวงทวารหนัก
เห็นดอกเล็ก ๆ เหลืองสวยอย่างนี้ แต่ดอกดาวเรืองถือว่ามีพิษร้ายต่อโรคริดสีดวงทวารหนักเลยล่ะค่ะ เพราะดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ขับลมในกระเพาะอาหาร และมีฤทธิ์รักษาโรคริดสีดวงทวารโดยตรง โดยตำรับจากอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากช่อดอกดาวเรืองมาดื่มแก้ริดสีดวงทวาร หรือบางกรณีจะใช้น้ำคั้นจากช่อดอกผสมน้ำอุ่นแล้วนั่งแช่ลดอาการบวมของแผลริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งจะช่วยให้หลอดเลือดหดตัว อาการริดสีดวงทวารก็จะบรรเทาลงได้
แก้ปวดประจำเดือน
ชาดอกดาวเรืองมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดประจำเดือนของสาว ๆ ได้ โดยสารในดอกดาวเรืองจะช่วยในการขับลมจากอาการท้องอืด พร้อมทั้งมีส่วนช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ตึงเครียดคลายตัวลง อาการปวดประจำเดือนก็จะบรรเทาลงด้วย
ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
จากการศึกษาของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า สารสกัดดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase) ซึ่งมีหน้าที่ย่อยสลายน้ำตาลในลำไส้ส่วนเล็กเพื่อให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ดีขึ้น ดังนั้นสารสกัดจากดอกดาวเรืองจึงมีฤทธิ์ลดการดูดซึมกลูโคสในร่างกาย มีคุณสมบัติช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดี โดยเฉพาะในกรณีน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นหลังรับประทานอาหาร และการที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงก็จะส่งผลดีในด้านช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative stress) ที่อาจเกิดในผนังหลอดเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้อัตราความเสี่ยงโรคแทรกซ้อน (Vascular complication) ในผู้ป่วยเบาหวานลดลงได้อีกด้วย
นอกจากสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือดแล้ว สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังพบว่า สารสกัดดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปส (Pancreatic lipase) เอนไซม์ช่วยย่อยไขมันจากตับอ่อน ได้เทียบเท่ากับสารสกัดของดอกดาวกระจาย และดอกเฟื่องฟ้า โดยจัดเป็นสารพฤกษเคมีประเภทสารประกอบฟีนอลิก มีฤทธิ์ทำให้เอนไซม์ย่อยไขมันทำงานไม่เป็นปกติ ส่งผลให้การย่อยอาหารที่มีไขมันและการดูดซึมไขมันของร่างกายลดลง จึงช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด และลดโอกาสเกิดโรคอ้วนได้
ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเซลล์มะเร็ง
จากการศึกษาสารสกัดน้ำของดอกไม้ 4 ชนิด (ดาวเรือง ดาวกระจาย พวงชมพู และเฟื่องฟ้า) ของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า สารสกัดจากดอกดาวเรืองจะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด เมื่อทดสอบด้วยวิธี Ferric Reducing Antioxidant Power (FRAP assay) และวิธี Cellular Antioxidant Activity (CAA assay) และสารที่พบในดอกไม้ทั้ง 4 ชนิด พบว่าส่วนใหญ่เป็นพวกกรดฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ โดยดอกดาวเรืองจะมีกรดฟีนอลิกสูงกว่าดอกไม้อื่น ๆ ประมาณ 3-4 เท่า
ส่วนการทดลองฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี พบว่า สารสกัดน้ำจากดอกดาวเรืองมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิดได้เทียบเท่ากับสารสกัดน้ำดอกพวงชมพูและดอกเฟื่องฟ้า อีกทั้งการศึกษายังพบว่า สารสกัดดอกดาวเรืองจะมีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ (IC50 เท่ากับ 1.5 mg/ml)
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์สมเพียร เกษมทรัพย์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ยังเผยผลการศึกษาที่ระบุว่า ดอกดาวเรืองเป็นพืชดอกที่มีประโยชน์มาก โดยพบว่าดอกดาวเรืองให้สารเบต้า-แคโรทีนจากธรรมชาติโดยตรง และเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเบต้า-แคโรทีนจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ทั้งยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับและมะเร็งปอดในร่างกายด้วยนะคะ
เห็นไหมคะว่าสรรพคุณของดอกดาวเรืองไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ ดังนั้นหากใครปลูกดอกดาวเรืองอยู่ก็ลองนำดอกดาวเรืองมาใช้เป็นยาดูบ้างก็ได้ หรือใครอยากจะปลูกดอกดาวเรืองไว้ที่บ้านบ้าง เราก็มีวิธีปลูกดอกดาวเรืองมาฝากด้วยล่ะ
- วิธีปลูกดาวเรืองในกระถางด้วยเมล็ด ขยายพันธุ์ขายจากสิบเป็นร้อยต้น
อย่างไรก็ตาม ดอกดาวเรืองก็มีข้อควรระวังในการใช้ด้วยเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ดอกดาวเรือง ใช้เป็นยาอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ
* หลีกเลี่ยงการซื้อดอกดาวเรืองมาทำยาหรือต้มเป็นชา เพราะอาจเสี่ยงได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายได้ ทางที่ดีจึงควรนำดอกดาวเรืองที่ปลูกเอง และเด็ดจาดต้นเองมาใช้เป็นยาเพื่อความปลอดภัย
* ไม่ควรกินดอกดาวเรืองตูมสด เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดที่ยืนยันถึงประโยชน์ของดอกดาวเรืองตูมสด มีเพียงงานวิจัยจากสารสกัดดอกดาวเรืองเท่านั้น เพราะสิ่งที่เราต้องการจากดอกดาวเรืองคือสารสีเหลือง ซึ่งจำเป็นต้องผ่านกระบวนการสกัดด้วยวิธีต่าง ๆ มาก่อน
* ควรรับประทานดอกดาวเรืองที่ตากแห้ง โดยนำมาชงดื่มเป็นชา ส่วนในเคสที่ใช้ภายนอก สามารถนำน้ำดอกดาวเรือง หรือน้ำจากใบดอกดาวเรือง รวมถึงใบดอกดาวเรืองสด ๆ ตำละเอียดได้ แต่หากใช้ภายใน (ดื่ม-กิน) ควรใช้ดอกดาวเรืองตากแห้ง
* ผู้ป่วยโรคตับและโรคไตไม่ควรรับประทานดอกดาวเรืองไม่ว่าจะในรูปแบบใด ๆ เนื่องจากร่างกายอาจมีปัญหาในการขับสารจากดอกดาวเรือง ส่งผลให้ตับและไตทำงานหนักได้
* หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานดอกดาวเรือง เพราะอาจส่งผลเสียต่อทารกได้
* ไม่ควรรับประทานดอกดาวเรืองบ่อยเกินไป ควรกินบ้าง หยุดบ้าง หรือหมุนเวียนกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เพื่อป้องกันการตกค้างของสารชีวเคมีจากดอกดาวเรืองในร่างกาย เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดที่ศึกษาผลข้างเคียงจากการรับประทานดอกดาวเรืองในระยะเวลานาน ๆ ว่าทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหรือไม่
สมุนไพรทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดอกดาวเรืองหรือสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หากใช้อย่างเหมาะสมและถูกต้องก็จะเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ถือเป็นการรักษาโรค และวิธีบรรเทาปัญหาสุขภาพอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าลอง
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวทิยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, Rayong hip, โรงพยาบาลยันฮี, ไทยเกษตรศาสตร์, พืชเกษตร, Dr. Axe