7 เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ เกี่ยวกับน้ำตา

น้ำตา
 
          คนเราทุกคนต่างผูกพันกับน้ำตาตลอดทุกช่วงชีวิต ลองคิดดูสิ แรกเกิดสิ่งแรกที่เราทำก่อนลืมตาดูโลก นั่นคือการแหกปากร้องไห้จ้า พอโตขึ้น เราก็ใช้น้ำตาแสดงอารมณ์เศร้าเสียใจ (ดีใจในบางครั้ง) และหลายครั้ง มันก็ไหลออกมาเหมือนเขื่อนแตก เพียงเพราะแค่เราหั่นหัวหอม !
   
          ดูเหมือนว่าเจ้าน้ำใส ๆ ที่ไหลอาบแก้มของเรา มีความพิศวงอยู่พอตัว ลองมาทำความรู้จัก 7 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับน้ำตา รับรองว่าคุณต้องประหลาดใจ
 
น้ำตา

1. เรียก "น้ำตา" แต่ไม่ใช่ น้ำ
   
          น้ำที่ไหลออกจากนัยน์ตา ก็ต้องเป็นน้ำอยู่แล้วนะสิ ! ไม่ผิดค่ะ แต่ก็ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด ความจริงแล้ว น้ำตาของเรา มีลักษณะเหมือนแผ่นฟิล์มที่วางซ้อนกัน 3 ชั้น

          ชั้นนอกสุด หรือ "ชั้นไขมัน" (Lipid layer) มีไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก ทำหน้าที่ป้องกัน การระเหยของน้ำตา และหักเหแสง ช่วยในการมองเห็น

          ชั้นที่สอง เรียกว่า "ชั้นสารน้ำ" (Aqueous layer) แน่นอน มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก และยังประกอบด้วยสารสำคัญอื่น ๆ เช่น เกลือแร่, โปรตีน, และสารภูมิคุ้มกันต่าง ๆ หน้าที่ของชั้นน้ำตาที่หนาที่สุดนี้ คือ ให้ออกซิเจนแก่ดวงตา และเป็นแหล่งอาหารสำคัญของดวงตา  

          ชั้นในสุด เป็น "ชั้นเมือก" (Mucous layer) ประกอบด้วยเมือก โปรตีน และเกลือแร่ มีหน้าที่ ทำให้ผิวกระจกตาเรียบ ช่วยให้มองเห็นชัด หล่อลื่นผิวด้านหน้าลูกตา และดักจับสิ่งแปลกปลอม ช่วยป้องกันไม่ให้ตาติดเชื้อ
น้ำตา

2. มากกว่า 1 แต่มีถึง 3
   
          ประโยคนี้ไม่ใช่โปรโมชั่นขายของที่ไหน แต่เป็นชนิด "น้ำตา" ของคนเรานี่เอง แม้จะรูปร่างหน้าตาเหมือนกันหมด แต่ความจริงแล้ว น้ำตามีถึง 3 ชนิด   
   
          - Basal Tear น้ำตาที่ไหลออกมาตลอดเวลา เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา และป้องกันฝุ่นละออง

          - Reflex Tear ถ้าที่เห็น แค่ฝุ่นมันเข้าตา...แต่น้ำตาไหลพราก นั่นแหละ คือ reflex tear น้ำตาที่ไหลในปริมาณมากเมื่อมีบางอย่างเข้าตา หรือเมื่อรู้สึกระคายเคือง เช่น ตอนหั่นหอม หรือเจอแสงจ้า

          - Emotional Tear น้ำตาที่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถหลั่งได้ จะไหลออกมาเมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึก เช่น เศร้า เสียใจ เหงา อกหัก สุข รัก ดีใจ ซึ่งส่วนมาก แน่นอน เป็นน้ำตาแห่งความเสียใจ (อย่าร้องกันนะคะ)

น้ำตา

3. ไม่ร้องไห้ ไม่ได้แปลว่า ไม่มีน้ำตา

          อย่าเพิ่งตกใจ ! อาจฟังดูเศร้า แต่เป็นกลไกปกติของร่างกายคนเราค่ะ น้ำตาชนิด Basal Tear ของเราจะไหลออกมา เพื่อรักษาชุ่มชื่นให้ดวงตาตลอดเวลา แต่ไหลในปริมาณน้อยมาก เพียงวันละ 5–10 ออนซ์ และจะระเหยไป 10–20 % ทุกครั้งเมื่อเราลืมตา เราจึงแทบไม่รู้สึกตัวว่า มีน้ำตาดูแลเราอยู่ 
   
น้ำตา

4. น้ำตากับน้ำทะเล...อย่างเดียวกันมั้ย ?
   
          ทำไมน้ำตาถึงเค็มอย่างกับน้ำทะเล ? เป็นน้ำอย่างเดียวกันหรือเปล่า ?

          เปล่า...คนละเรื่องกันเลย !

          เพราะในน้ำตากับน้ำทะเล มีส่วนประกอบของ "เกลือแกง" หรือโซเดียมคลอไรด์เหมือนกัน แต่ระดับความเค็ม ของน้ำตาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การร้องไห้ 

น้ำตา

5. ขาดน้ำตา...จะมองเห็นไม่ชัด
   
          ใครจะรู้ว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นได้ชัด คือ "น้ำตา" นอกจากจะช่วยให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตาแล้ว ยังช่วยทำความสะอาดกระจกตา ทำให้เรามองเห็นได้ชัดขึ้น ฉะนั้นเราควรดูแลสุขภาพดวงตา ให้มีน้ำตามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา ด้วยการหมั่นกะพริบตาบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมที่ทำให้น้ำตาระเหยง่าย เช่น การใช้สายตานาน ๆ
   
          และหากคุณมีปัญหาเรื่องสุขภาพดวงตา ควรไปพบจักษุแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตา หรือ "นักทัศนมาตร" เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องสำหรับสุขภาพที่ดีของดวงตา
   
น้ำตา

6.เครียดหรอ ร้องไห้สิ !
   
          ส่วนหนึ่งจากการศึกษาเรื่องน้ำตา ของ William Frey นักชีวเคมีแห่งศูนย์วิจัยน้ำตา บอกไว้ว่า ทุกครั้งที่เราร้องไห้ สารเอ็นดอร์ฟินจะหลั่งออกมา ช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดได้อีกด้วย โดยผลการศึกษาของเฟรย์ก็พบอีกว่า ผู้ชายกว่า 73% และผู้หญิงกว่า 75% บอกว่ารู้สึกสบายขึ้นเมื่อได้ร้องไห้   

น้ำตา

7. ผู้หญิงกับผู้ชายร้องไห้เหมือนกันมั้ย ?
   
          การวิจัยจากหลายสถาบัน พบว่า "ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะร้องไห้บ่อยกว่าผู้ชาย" โดยนักชีวเคมี William Frey หัวหน้าทีมที่ใช้เวลาศึกษาน้ำตาโดยเฉพาะเป็นระยะเวลาถึง 15 ปี รายงานว่า ใน 1 เดือน ผู้หญิงร้องไห้ 5.3 ครั้ง ส่วนผู้ชายร้องไห้ประมาณ 1.4 ครั้ง
   
          ความถี่ในการร้องไห้ที่แตกต่างกันนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจาก "ฮอร์โมนโปรแลกติน" ที่ร่างกายจะผลิตออกมาเมื่อเรา "รู้สึกสุด ๆ" ในอารมณ์ เช่น ดีใจสุด ๆ ตื้นตัน หรือเสียใจมากจนรู้สึกหงุดหงิด อัดอั้น แต่ทำอะไรไม่ถูก ช่วงอารมณ์แบบนี้แหละ ร่างกายจะระบายออกมาเป็นหยดน้ำตา เพื่อลดระดับความเครียด ซึ่งผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนนี้ได้มากกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า ! จึงเป็นเหตุให้ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะบ่อน้ำตาตื้นและขี้แยกว่าผู้ชาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้หญิงทุกคนจะต้องขี้แยกว่าผู้ชายเสมอไป ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับยีน ขนาดของท่อน้ำตาของแต่ละคน และการเลี้ยงดูของครอบครัวอีกด้วย

          เห็นไหมคะว่าน้ำตาส่วนเล็ก ๆ ของร่างกาย มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย และยังทำหน้าที่หลัก ช่วยให้เราสามารถมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมหันมาใส่ใจดูแลน้ำตา หมั่นไปพบจักษุแพทย์และนักทัศนมาตรของคุณเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพดวงตา รวมไปถึงตรวจหาอาการผิดปกติบางอย่างเช่น ภาวะตาแห้ง ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ดีที่สุด

          รอติดตามเทคโนโลยีคอนแทคเลนส์ชนิดใหม่ ที่มีคุณสมบัติ "เข้ากันดีกับชั้นน้ำตา" พร้อมอัพเดตทิปส์ การดูแลสุขภาพดวงตาและทุกเรื่องราวเกี่ยวกับคอนแทคเลนส์ ได้ที่เพจ Johnson & Johnson Vision กดติดตาม Johnson & Johnson ได้เลยที่ Facebook : Johnson & Johnson vision 

          ค้นหาสาขาร้านเพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา และทดลองคอนแทคเลนส์นวัตกรรมล่าสุด คลิก 



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
7 เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ เกี่ยวกับน้ำตา อัปเดตล่าสุด 1 พฤศจิกายน 2560 เวลา 12:25:08 99,989 อ่าน
TOP
x close