
สิ่งแรกสุดที่ควรทำเมื่อรู้ว่าลูกท้องไม่พร้อม
1) ตั้งสติ เพื่อไม่ให้อารมณ์โกรธชั่ววูบทำร้ายจิตใจลูกไปมากกว่าที่เป็นอยู่
1) ตั้งสติ เพื่อไม่ให้อารมณ์โกรธชั่ววูบทำร้ายจิตใจลูกไปมากกว่าที่เป็นอยู่
2) เปิดใจรับฟัง ชวนคุยว่าลูกรู้สึกอย่างไร
2.1) ถ้าลูกรู้สึกดี ผูกพัน อยากมีเด็กไว้และต้องการจะเลี้ยงดู ต้องสร้างข้อตกลงร่วมกันกับลูก บอกให้ลูกรู้ข้อเท็จจริงที่จะตามมาคือ
- (1) หารือกับโรงเรียนที่ลูกเรียน ว่ามีนโบบายให้นักเรียนตั้งครรภ์ระหว่างเรียนได้หรือไม่ หากโรงเรียนไม่มีนโยบาย อาจต้องย้ายโรงเรียน และสมัครเข้าโรงเรียนที่มีเปิดรับนักเรียนตั้งครรภ์ ซึ่งวิธีการเรียนการสอนคือ ให้การบ้านแก่นักเรียนมาทำที่บ้านและส่งงานตามเวลาที่กำหนด และต้องไปฝากครรภ์เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และเด็ก
- (2) ลูกอาจต้องลาออกช่วงระหว่างท้องและช่วงระยะให้นมลูก และกลับไปศึกษาต่อภายหลัง ทั้งนี้ต้องถามความสมัครใจของลูกด้วย
2.2) ถ้าลูกรู้สึกไม่ดีกับเด็กในท้อง รู้สึกเกลียด หรือเป็นตัวถ่วงชีวิต
ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็มีความเสี่ยงสูงที่ลูกจะไปหาทางออกด้วยตัวเอง หลายครั้งที่เด็กมักไปหาวิธีเอาเด็กในท้องออกด้วยการเสิร์ชจากกูเกิล บ้างก็ซื้อยามากินเองเพื่อขับเด็กออก หรือไม่ก็ไปทำแท้งแบบผิดกฎหมาย เช่น การบีบหน้าท้อง และการใส่ของแข็งหรือฉีดสารต่าง ๆ ทางช่องคลอด การขูดมดลูก ส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่พบมากที่สุดคือ อาการตกเลือดมากซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ฉะนั้นพ่อแม่ต้องมาร่วมกันวางแผนกับลูกว่าจะให้ลูกยุติการตั้งครรภ์ 2.2.1 หรือท้องต่อ 2.2.2
- 2.2.1) ประเทศไทยมีบทกฎหมายที่อนุญาตให้ยุติการตั้งครรภ์ได้ ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 แต่ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทุกกรณี จะทำได้คือ
1. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง
2. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง3. ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง
4. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
5. การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี
6. การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ ข่มขู่ เพื่อทำอนาจารสนองความใคร่
- 2.2.2) กรณีที่ไม่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ แต่ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ หรือมีอายุครรภ์เกิน 24 สัปดาห์ จะไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ทุกกรณีตามกฎหมายกำหนด
ทางเลือกขอคำปรึกษากรณีท้องไม่พร้อม
• มูลนิธิเพื่อนหญิง โทร. 0-2513-1001
• มูลนิธิผู้หญิง โทร. 0-2433-5149