การกินคือความสุข...หลายครั้งและหลายคนคลายทุกข์ได้เพราะการกิน แต่ถ้าความสุขชั่วครู่ตามมาด้วยโรคร้ายที่จะเกาะติดร่างกายไปตลอดชีวิต ไม่ว่าจะโรคไต โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ ฯลฯ คงไม่คุ้มแน่...
คนรักสุขภาพยุคใหม่ตั้งใจที่จะลด "รสจัด" หันไปหา "รสจืด" ซึ่งความจริงแล้ว ทางออกของคนที่อยากสุขภาพดี แต่ไม่ต้องกินเค็ม กินหวานนั้นมี...วันนี้เรามีเคล็ดลับมาฝาก แต่ก่อนอื่นไปรู้ประโยชน์และโทษจากการกิน "เค็ม" และ "หวาน" สู่การปรับระบบการกินใหม่ ๆ ที่ไฉไลกว่า
เติมรสหวานสักนิดเพราะชีวิตขาดหวานไม่ได้
นอกจากรสชาติของความหวานจะหอมหวน ได้กินแล้วกระชุ่มกระชวย ยังมีประโยชน์กับร่างกายมากมาย เพราะน้ำตาลจัดอยู่หมวดคาร์โบไฮเดรตที่กินเข้าไปเมื่อไรก็ให้พลังงานกับร่างกายทันที เราจึงสดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้แบบรวดเร็ว และยังช่วยลดการปวดเกร็งของกล้ามเนื้ออีกด้วย ยิ่งในคนที่ระบบย่อยไม่ค่อยแข็งแรง พลังม้ามบกพร่อง ให้กินของหวานมากขึ้นจะช่วยเติมจุดบกพร่องได้
* โทษและโรคร้ายจากรสหวาน
รู้กันดีอยู่แล้วว่าน้ำตาลให้พลังงานกับร่างกาย แต่ถ้าเราไม่ใช้และเผาผลาญพลังงานนั้นมันจะเปลี่ยนไปเป็นแป้งและสะสมในร่างกายจนทำให้อ้วน การกินหวานทำเรารู้สึกง่วงง่ายกว่าปกติและยังขี้เกียจอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาพบว่า การกินหวานมากไปเป็นสาเหตุของ "โรคไฮโปไกลซีเมีย หรือ โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง" ที่น่ากลัวกว่านั้น ทุกคนรู้จักดีแต่ว่าบางทีก็ห้ามไม่ได้ว่า กินหวานมากไป เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เพราะน้ำตาลที่มากไปทำให้เลือดขาดความสมดุล ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินมามากขึ้นเพื่อเคลียร์น้ำตาลส่วนเกินออกไป ยิ่งกินหวานจัด ตับอ่อนคุณนั้นก็ยิ่งทำงานหนัก "เบาหวานจะเป็นเรื้อรังรักษาไม่หายนะ" นี่ยังไม่รวมโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมาอีก ทั้งฝันผุ โรคไต และโรคหัวใจ
เติมรสเค็มสักหน่อยก็อร่อยขึ้นแล้ว
อาจเป็นประโยคติดปากของใครหลายคน เพราะรสเค็มเป็นเสมือนสารตั้งต้นของ "รสนัว" แต่ยังมีประโยชน์กับร่างกายมากกว่าความอร่อยอีกด้วย เช่น หากกินเค็มพอดีจะช่วยปรับความดันโลหิตไม่ให้ต่ำหรือสูงเกินไป ช่วยให้อยากอาหาร และช่วยปรับระดับเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล
รสเค็มส่งผลร้ายโดยตรงกับ "ไต" เพราะไตมีหน้าที่ช่วยปรับโซเดียมในร่างกายให้สมดุล ถ้าได้รับมากเกินไป ไตจำเป็นต้องขับออกทางปัสสาวะ เรียกว่าไตต้องทำงานหนักเกินหน้าที่จนผิดปกติ จนวันหนึ่งจะไม่สามารถขับเกลือออกจากเลือดได้ กลายเป็นความดันโลหิตสูง ทีนี้หัวใจก็จะเต้นเร็วขึ้น ทำงานหนักขึ้นจนเสี่ยง "หัวใจวาย"
* ในแต่ละวันร่างกายไม่ควรรับเกลือเกิน 1 ช้อนชา แต่นั่นเป็นสิ่งที่ยากหากจะควบคุมให้ได้ เพราะเกลือสถิตอยู่ทุกที่ แทรกซึมในเกือบทุกอาหารประจำวันที่เรากิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรุงหรืออาหารแปรรูปต่าง ๆ
* ในแต่ละวันร่างกายไม่ควรได้รับน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา แต่บอกเลยว่ายาก เพราะแค่สั่งชาเย็นแก้วเดียวก็เกินแล้ว ! เรียกว่าต้องตั้งใจควบคุมอย่างมาก
อ่านมาจนถึงตรงนี้ หลายคนถึงกับเตรียมซับน้ำตาโบกมือลารสเค็มและหวาน เพราะไม่อยากทำลายสุขภาพ…อย่าลืมว่าเรามีเทคนิคที่จะทำให้ชีวิตไม่ขาดรสชาติ เพราะสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาเครื่องปรุงสูตรลดเกลือโซเดียมและน้ำตาล ตรา กู๊ดไรฟ์ ที่ใช้เกลือโพแทสเซียมแทนเกลือโซเดียม และใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล นักชิมทั้งหลายจึงวางใจได้ว่าปรุงอาหารรสชาติโปรดทั้งเค็มและหวานได้เหมือนเดิมโดยไม่ทำลายสุขภาพ
ซึ่งสูตรนี้สามารถลดปริมาณโซเดียมและน้ำตาลได้ถึง 40-60% ดีกับคนรักสุขภาพ เหมาะที่จะนำไปปรุงอาหาร อาหารคลีน ไม่ทำลายสุขภาพ และดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ถือเป็นเคล็ดลับดี ๆ ที่ควรมีติดครัวทุกบ้าน สนใจสั่งซื้อสารแทนความหวานเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ได้ที่ www.goodlifeforyou.com