x close

"น็อกน้ำ" ภาวะสุดเสี่ยงของเหล่านักดำน้ำ พบอาจทำหมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้

          แพทย์เผย นักดำน้ำเสี่ยงเกิดภาวะ น็อกน้ำ หรือโรคน้ำหนีบ เผยมีฟองน้ำในระบบหมุนเวียนเลือดสูง อาจทำให้หมดสติ และเสียชีวิตได้
น็อกน้ำ

          จากกรณี จ.อ.สมาน กุนัน หรือ จ่าแซม นักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกราชการ ซึ่งเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในถ้ำหลวง เบื้องต้นคาดว่าสาเหตุมาจากอาการน็อกน้ำ (อ่านข่าว : ข่าวเศร้า หน่วยซีลเสียชีวิตในถ้ำหลวง 1 ราย ขณะลำเลียงขวดอากาศ)  

          เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 6 กรกฎาคม 2561 เดลินิวส์ออนไลน์ ได้สอบถาม พ.อ. วันปรีดี ตันเสนีย์ แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ โรงพยาบาลพระมงฎเกล้า ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับโรคน้ำหนีบ หรือ น็อกน้ำ ว่า เกิดจากมีฟองน้ำในระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกายจำนวนมากเกินไป เมื่อฟองค้างอยู่ตามข้อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกาย ก็จะทำให้รู้สึกปวด ถ้าเกิดมีมากจนร่างกายขับออกมาไม่ทัน ฟองอาจเข้าสู่หัวใจและขึ้นสู่สมอง ทำให้อ่อนแรง หมดสติ และเสียชีวิตได้

น็อกน้ำ

          กรณีในถ้ำหลวง เท่าที่ทราบ น้ำลึกประมาณ 10 เมตร ก็มีโอกาสที่นักดำน้ำจะเสี่ยงโรคน้ำหนีบได้เช่นกัน ฉะนั้นนักดำน้ำทุกคนที่ผ่านการฝึกอบรมป้องกันตัวเองให้ดี รวมถึงต้องหาข้อมูลว่าสถานพยาบาลใดมีเครื่องไฮเปอร์แบริค ซึ่งเป็นเครื่องที่มีออกซิเจนบริสุทธิ์ ก็จะสามารถช่วยรักษาโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน

          ขณะเดียวกัน ปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดอาการน็อกน้ำ นอกจากการดำน้ำแล้ว ยังมีทั้งความอ้วน อายุมาก ทำงานหนักเกินไป การดื่มเหล้า การอดนอน การบาดเจ็บในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การขึ้นที่สูงหลังการดำน้ำลึก และการดำน้ำซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งส่วนมากจะเจอในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

น็อกน้ำ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
"น็อกน้ำ" ภาวะสุดเสี่ยงของเหล่านักดำน้ำ พบอาจทำหมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้ โพสต์เมื่อ 6 กรกฎาคม 2561 เวลา 18:00:24 37,365 อ่าน
TOP