อย. เรียกคืน ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ยารักษาความดัน 5 ตำรับ จากแหล่งผลิตในจีน หลังพบสารก่อมะเร็ง เตือนประชาชนตรวจสอบ หากพบกำลังใช้อยู่ให้ส่งคืน รพ. - ร้านยา พร้อมใช้ตำรับอื่นทดแทน แต่อย่าหยุดกินยา เพราะอาจเป็นอันตรายในผู้ป่วยบางราย
ทั้งนี้ นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการ อย. ระบุว่า ในประเทศไทยมีการนำเข้าตัวยาดังกล่าวจำนวน 14 ตำรับ ซึ่งพบมี 5 ตำรับ ที่บริษัทรับวัตถุดิบจากบริษัท Zhejiang Huahai Pharmaceuticals มาผลิตและจัดจำหน่าย คือ บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด และ บริษัท ยูนีซัน จำกัด และขณะนี้ได้ออกมาตรการเรียกเก็บคืนยาใน 5 ตำรับทุกรุ่นการผลิตแล้ว
โดย 5 ตำรับ ที่พบสารก่อมะเร็ง ได้แก่
1. VALSARIN 80 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 4/60 (NG)
2. VALSARIN 160 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 5/60 (NG)
3. VALSARIN 320 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 6/60 (NG)
4. VALATAN 80 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 9/54 (NG)
5. VALATAN 160 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 10/54 (NG)
อย่างไรก็ตาม การปนเปื้อนสารก่อมะเร็งนี้ เกิดจากกระบวนการผลิตวัตถุดิบ ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดในการผลิตยาสำเร็จรูป ดังนั้น หากทั้งสองบริษัท สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารก่อมะเร็งนี้ได้แล้วเสร็จ ก็จะสามารถผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนได้ดังเดิม
ทั้งนี้ ยาวาลซาร์แทน (กลุ่ม Angiotensin II Receptor Blocker: ARB) เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่เคยได้รับยาตัวนี้ในการรักษามาอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น แต่ยังคงสามารถใช้ยาวาลซาร์แทน เลขทะเบียนตำรับอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนได้
ขณะที่เพจ Drama-addict ซึ่งเผยรายชื่อตัวยาวาลซาร์แทนตำรับอื่น ๆ ที่ไม่พบสารก่อมะเร็งและยังสามารถใช้ต่อได้ เพราะใช้วัตถุดิบและผลิตในยุโรปทั้งหมด ชื่อยาเหล่านี้ ได้แก่
- Diovan
- Co-Diovan
- Tareg
- Co-Tareg
- Valpres
- Exforge
- Exforge-HCT
- Dafiro
อย่างไรก็ตาม เพจ 1412 Cardiology ยังได้โพสต์ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากพบว่ากำลังใช้ยาตำรับที่มีปัญหาดังกล่าว ให้รีบติดต่อส่งคืนและขอเปลี่ยนยากับโรงพยาบาลหรือร้านขายยาทันที แต่อย่าหยุดยาจนกว่าจะได้รับการเปลี่ยน เพราะการหยุดยา Valsartan อาจเป็นอันตรายได้มากในผู้ป่วยบางราย
นอกจากนี้ ทางเพจ Drama-addict ได้โพสต์ภาพวิธีดูชื่อบนแผงยา ว่าใช่ตัวยาที่ทาง อย. เรียกเก็บคืนหรือไม่
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561 มีรายงานว่า เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ออกมาประกาศเตือนภัยผู้บริโภคและบุคลากรทางการแพทย์ เกี่ยวกับการพบสารก่อมะเร็งในวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต "ยาวาลซาร์แทน (Valsartan)" ซึ่งเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง จากแหล่งผลิตจากจีน โดยบริษัท Zhejiang
Huahai Pharmaceuticals ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบวาลซาร์แทน ในประเทศจีน ได้ออกมายอมรับถึงความผิดพลาดดังกล่าว ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตวัตถุดิบ ทั้งนี้ นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการ อย. ระบุว่า ในประเทศไทยมีการนำเข้าตัวยาดังกล่าวจำนวน 14 ตำรับ ซึ่งพบมี 5 ตำรับ ที่บริษัทรับวัตถุดิบจากบริษัท Zhejiang Huahai Pharmaceuticals มาผลิตและจัดจำหน่าย คือ บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด และ บริษัท ยูนีซัน จำกัด และขณะนี้ได้ออกมาตรการเรียกเก็บคืนยาใน 5 ตำรับทุกรุ่นการผลิตแล้ว
โดย 5 ตำรับ ที่พบสารก่อมะเร็ง ได้แก่
1. VALSARIN 80 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 4/60 (NG)
2. VALSARIN 160 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 5/60 (NG)
3. VALSARIN 320 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 6/60 (NG)
4. VALATAN 80 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 9/54 (NG)
5. VALATAN 160 mg ทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1A 10/54 (NG)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก 1412 Cardiology
อย่างไรก็ตาม การปนเปื้อนสารก่อมะเร็งนี้ เกิดจากกระบวนการผลิตวัตถุดิบ ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดในการผลิตยาสำเร็จรูป ดังนั้น หากทั้งสองบริษัท สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารก่อมะเร็งนี้ได้แล้วเสร็จ ก็จะสามารถผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนได้ดังเดิม
ทั้งนี้ ยาวาลซาร์แทน (กลุ่ม Angiotensin II Receptor Blocker: ARB) เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่เคยได้รับยาตัวนี้ในการรักษามาอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น แต่ยังคงสามารถใช้ยาวาลซาร์แทน เลขทะเบียนตำรับอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนได้
ขณะที่เพจ Drama-addict ซึ่งเผยรายชื่อตัวยาวาลซาร์แทนตำรับอื่น ๆ ที่ไม่พบสารก่อมะเร็งและยังสามารถใช้ต่อได้ เพราะใช้วัตถุดิบและผลิตในยุโรปทั้งหมด ชื่อยาเหล่านี้ ได้แก่
- Diovan
- Co-Diovan
- Tareg
- Co-Tareg
- Valpres
- Exforge
- Exforge-HCT
- Dafiro
- Entresto
ภาพจาก เฟซบุ๊ก 1412 Cardiology
อย่างไรก็ตาม เพจ 1412 Cardiology ยังได้โพสต์ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากพบว่ากำลังใช้ยาตำรับที่มีปัญหาดังกล่าว ให้รีบติดต่อส่งคืนและขอเปลี่ยนยากับโรงพยาบาลหรือร้านขายยาทันที แต่อย่าหยุดยาจนกว่าจะได้รับการเปลี่ยน เพราะการหยุดยา Valsartan อาจเป็นอันตรายได้มากในผู้ป่วยบางราย
นอกจากนี้ ทางเพจ Drama-addict ได้โพสต์ภาพวิธีดูชื่อบนแผงยา ว่าใช่ตัวยาที่ทาง อย. เรียกเก็บคืนหรือไม่
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา