ข้อเข่าเสื่อม รู้ตัวไว บำรุงรักษาได้ ไม่ต้องผ่าตัด !

          อย่าชะล่าใจว่าอาการปวดเข่า ปวดขาเรื้อรังจนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมคงเกิดได้กับเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้ว ใคร ๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้แม้แต่คนอายุน้อย ๆ ซึ่งถ้าเป็นขึ้นมาแล้วนี่ชีวิตลำบากเลย จะเดินเหินไปไหนก็รู้สึกเจ็บ รู้สึกปวด เคลื่อนไหวก็สะดุดกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หรือบางคนอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเดินไม่ได้ ต้องผ่าตัดรักษาเลยทีเดียว
ข้อเข่าเสื่อม

          เอ...ชักสงสัยเหมือนกันนะคะว่า สาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม แล้วเราล่ะเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงด้วยไหม แล้วจะมีวิธีป้องกันและดูแลรักษาข้อเข่าไม่ให้เสื่อมได้อย่างไร รีบมาอ่านกันก่อนจะสายเกินไปค่ะ

ข้อเสื่อม เกิดจากอะไร

ข้อเข่าเสื่อม
 
          ก่อนอื่นเราอยากให้รู้จักกับ "กระดูกอ่อน" ก่อนค่ะ โดยปกติแล้ว กระดูกข้อของเราแต่ละชิ้นจะมีกระดูกอ่อนเชื่อมติดกันอยู่ในบริเวณส่วนปลายของข้อทำหน้าที่ปกป้องไม่ให้กระดูกแต่ละชิ้นบดเบียดเสียดสีกันเมื่อข้อเคลื่อนไหว และยังช่วยให้ข้อเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วขึ้น แต่หากวันใด กระดูกอ่อนเหล่านี้เสื่อมลงหรือสึกกร่อนไป ก็จะทำให้กระดูกข้อแต่ละชิ้นบดทับเสียดสีกันเมื่อมีการขยับร่างกาย ทำให้เกิดอาการอักเสบ นำไปสู่อาการปวดข้อ มีเสียงดังในข้อ และมีข้อยึดติด เคลื่อนไหวไม่สะดวกอย่างที่เรียกว่า โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) นั่นเอง
   
          ถ้าถามว่าโรคข้อเสื่อมสามารถเกิดได้กับข้อส่วนใดบ้าง จริง ๆ แล้วเกิดขึ้นได้กับทุกข้อเลย แต่มักพบในข้อที่ต้องลงน้ำหนักหรือรองรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น ข้อเข่าที่พบได้บ่อยที่สุด รวมไปถึงข้อมือ ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อกระดูกคอ และข้อกระดูกสันหลัง ดังนั้นใคร ๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ทั้งนั้น
 
ข้อเข่าเสื่อม

เช็กหน่อย ! เราเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมไหม ?

          อย่างที่บอกไปว่า โรคข้อเสื่อมสามารถเป็นกันได้ทุกคน แต่ใครที่จะมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเสื่อมได้มากกว่า มาดูกันค่ะ

1. คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

          เป็นกลุ่มที่พบอาการข้อเข่าเสื่อมได้มากที่สุด เพราะเป็นวัยที่สุขภาพเริ่มเสื่อมถอยตามอายุ กระบวนการสลายของกระดูกอ่อนก็จะเกิดมากกว่ากระบวนการสร้าง ทำให้กระดูกอ่อนบริเวณข้อมีปริมาณลดลง ในขณะที่กล้ามเนื้อบริเวณข้อไม่แข็งแรงและการเสียดสีของกระดูกมีอัตราเพิ่มมากขึ้น จนก่อให้เกิดอาการอักเสบของข้อและเป็นโรคข้อเสื่อมในเวลาต่อมา

2. ผู้หญิง เสี่ยงกว่า ผู้ชาย

          เชื่อไหมคะว่า เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อมได้มากกว่าเพศชายถึง 2-3 เท่าเลย นั่นเพราะเมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยทองขึ้นไป ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) น้อยลงหรือไม่ผลิตอีกเลย ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่มีตัวจับกับฮอร์โมนเพศหญิงชนิดนี้ทำงานน้อยลง ทำให้การสร้างโปรติโอไกลแคน (Proteoglycan) ที่ใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนลดลงไปด้วย อาการข้อเข่าเสื่อมจึงมาเยือนได้ง่ายกว่า

ข้อเข่าเสื่อม

3. คนที่มีน้ำหนักตัวมาก

          น้ำหนักตัวที่มากทำให้ข้อต่อส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อเข่าต้องแบกรับน้ำหนักมากถึง 3-4 เท่าของน้ำหนักตัว ความแข็งแรงของข้อจึงเสื่อมลงได้ง่าย ซึ่งหากใครไม่แน่ใจว่าเรามีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ก็ลองคำนวณค่า BMI แบบง่าย ๆ กันดู โดยใช้สูตร น้ำหนักตัว หารด้วย ความสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ถ้ามีค่าเกิน 25 แสดงว่าอ้วนต้องรีบลดน้ำหนักแล้วล่ะ

4. พฤติกรรมการใช้งานข้อผิด ๆ

          โดยเฉพาะคนที่มีพฤติกรรมชอบนั่งพับเพียบ คุกเข่า นั่งยอง ๆ บ่อย ๆ หรือเป็นเวลานาน รวมทั้งผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูง นี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเกิดความผิดปกติขึ้นได้

5. คนที่ใช้งานข้อหนัก ๆ

          เช่น คนที่มีกิจวัตรประจำวันที่ต้องเดินตลอดเวลา นักกีฬาวิ่งมาราธอน คนที่เล่นกีฬาที่มีการกระแทกมาก ๆ หรือคนทำงานแบกหามสิ่งของที่ต้องแบกรับน้ำหนักมาก ๆ เป็นประจำ คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต
 
ข้อเข่าเสื่อม

6. คนที่บาดเจ็บข้อมาก่อน

          อย่างคนที่เคยประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก หรือเอ็นเข่าฉีกขาด ก็มีโอกาสที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อมได้

7. ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ

          ผู้ป่วยบางโรค เช่น โรครูมาตอยด์ หรือโรคเกาต์ ซึ่งทำให้มีอาการข้ออักเสบเกิดขึ้น และนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน

8. กรรมพันธุ์

          เคยพบว่าผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหรือข้ออักเสบบางราย มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม นอกจากนี้ในกรณีที่คุณพ่อ คุณแม่ มีภาวะขาโก่ง เข่าโก่ง ก็มีโอกาสที่ลูกจะเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าคนทั่วไป

9. ภาวะกระดูกอ่อนเสื่อม

          หากกระดูกอ่อนที่ข้อต่อบางลง หรือเสื่อมสลายไปหมด เหลือแต่กระดูกแข็ง ๆ จะส่งผลให้เวลาเคลื่อนไหวร่างกาย กระดูกแข็งจะเสียดสีกัน จนเกิดอาการปวด ตึงในข้อ ข้อติดขัดขยับตัวไม่สะดวก
 
ข้อเข่าเสื่อม

สัญญาณเตือน ! อาการแบบนี้เสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

          ถ้าเห็นว่าเราเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม แถมยังมีอาการผิดปกติบางอย่างแสดงออกมา ลองมาเช็กดูก่อนค่ะว่านี่เป็นสัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ ซึ่งมีอาการบ่งบอก เช่น

          - เข่ามีเสียงดังกร๊อบแกร๊บขณะเคลื่อนไหวมีเสียงลั่นในข้อ

          - ปวดเข่าหรือขาเวลาเดิน หรือเวลาที่เคลื่อนไหว

          - รู้สึกปวดบริเวณข้อ โดยจะปวดบริเวณรอบ ๆ ข้อ แบบที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ชัดเจนได้ และมักจะปวดเรื้อรัง จุดสังเกตสำคัญอีกอย่างคืออาการปวดข้อจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานหรือลงน้ำหนักบนข้อมาก ๆ

          - ปวดเข่าเวลานอน

          - ปวดข้อเข่าเวลาใส่ถุงเท้า รองเท้า หรือเวลาลุกนั่ง

          - ปวด บวม อักเสบ บริเวณข้อเข่า ปวดข้อจนไม่สามารถเดินได้อย่างปกติ ต้องเดินโยกตัว

          - ข้อบวมและผิดรูป จากกระดูกที่งอ

          - สูญเสียการเคลื่อนไหว เริ่มเดินไม่ค่อยสะดวก นั่งลำบาก เดินไม่ค่อยไหว โดยเฉพาะหากต้องอยู่ในลักษณะเดิมนาน ๆ อาการปวดอาจจะมากขึ้น จนลุกไม่ขึ้นหรือแค่ขยับก็เจ็บมากเลยทีเดียว

          ใครที่เริ่มมีอาการแบบนี้แต่อาจจะยังไม่ได้เป็นมากนัก ต้องรีบดูแลตัวเองและบำรุงรักษาข้อเข่าให้ไวก่อนที่อาการจะรุนแรงมากขึ้น

ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลข้อเข่าเสื่อม

          สำหรับคนที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก ๆ หรือระยะกลาง สามารถรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัดค่ะ ซึ่งนอกจากการใช้ยารักษาแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็เป็นปัจจัยสำคัญมากที่จะช่วยให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น หรือชะลอการเสื่อมของข้อเข่าได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่าง 4 วิธีนี้เลย
 
ข้อเข่าเสื่อม

1. ลดน้ำหนัก

          ใครรู้ตัวว่าความอ้วนกำลังคุกคามสุขภาพ ต้องพยายามลดน้ำหนักลงให้ได้ เพราะยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าไร ข้อต่าง ๆ ในร่างกายก็ยิ่งต้องแบกรับภาระมากเท่านั้น โดยเฉพาะข้อเข่า สะโพก และ หลัง ที่เป็นกำลังหลักในการรับน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งการจะลดน้ำหนักได้ก็ต้องควบคุมอาหาร เลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ทานผัก-ผลไม้ให้มาก ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย ก็จะช่วยทะนุถนอมกระดูกได้ทางหนึ่ง
 
ข้อเข่าเสื่อม

2. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ

          หลายคนชอบนั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ หรือคุกเข่าเป็นประจำ ซึ่งอิริยาบถเช่นนี้ทำร้ายข้อเข่ามากกว่าที่คิดนะคะ ควรเปลี่ยนมานั่งเก้าอี้แทนจะดีกว่า ส่วนคนวัยทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันหลายชั่วโมง รู้ไหมว่าก็ส่งผลเสียกับข้อต่อบริเวณคอ และกระดูกสันหลังส่วนเอวเช่นกันถ้านั่งด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรนั่งพิงพนักเก้าอี้และไม่ก้มคอเป็นเวลานาน ๆ หมั่นหาโอกาสลุกขึ้นมาเดินบ้าง ขยับแข้งขยับขาเพื่อบริหารข้อต่อบ้าง ก็จะช่วยเซฟข้อต่อไม่ให้เสื่อมได้เร็ว
 
ข้อเข่าเสื่อม

3. ออกกำลังกายแบบไม่กระทบกับข้อเข่า

          ใช่ว่าการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักหรือเพื่อบริหารร่างกายจะต้องทุ่มแรงหนัก ๆ เสมอไป โดยเฉพาะคนอ้วน คนที่มีปัญหาข้อเข่า หรือผู้สูงอายุ ควรเลือกออกกำลังกาย Low Impact หรือการออกกำลังกายแบบที่ไม่กระแทกข้อเข่า เช่น เดินออกกำลังกายเบา ๆ เล่นโยคะ ปั่นจักรยาน จะดีกว่า หรือถ้าใครว่ายน้ำเป็น ก็แนะนำให้ว่ายน้ำ หรือเดิน เต้นออกกำลังกายในน้ำก็ดีค่ะ เพราะนอกจากน้ำจะช่วยรับแรงกระแทกของเราแล้ว ยังช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายด้วย
 
ข้อเข่าเสื่อม

4. เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

          กล้ามเนื้อเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยแบ่งเบาภาระของข้อต่อได้เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวรุนแรง ดังนั้นถ้ามีกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังที่ดีก็จะช่วยให้หมอนรองกระดูกสันหลังรับภาระน้อยลง หรือถ้ามีกล้ามเนื้อบริเวณข้อที่แข็งแรงก็จะช่วยลดอัตราการเสียดสีของกระดูกได้ เท่ากับว่าหากเราบริหารกล้ามเนื้อเป็นประจำก็จะช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อมได้ดีเลย

          แต่นอกจากเสริมสร้างกล้ามเนื้อแล้ว เราต้องไม่ลืมเสริมสร้างกระดูกอ่อนให้แข็งแรงไปพร้อมกันด้วย เพราะอย่างที่บอกไปนะคะว่า กระดูกอ่อนจะคอยปกป้องไม่ให้กระดูกข้อต่อกดทับกันจนเกิดการอักเสบและนำไปสู่โรคข้อเสื่อม ดังนั้นกระดูกอ่อนจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูกก็คือ คอลลาเจน ชนิดที่ 2 หรือ คอลลาเจนไทพ์ทู (Collagen Type II) ที่คอยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของส่วนประกอบที่อยู่ในข้อ กระตุ้นให้สร้างเซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งช่วยเพิ่มระดับของกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อ และยังยับยั้งการหลั่งเอนไซม์ที่สลายกระดูกอ่อนบริเวณข้อ จึงช่วยลดอาการปวดข้อและข้อยึดได้ ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น
 
ข้อเข่าเสื่อม

          หากจะเติมคอลลาเจน ไทพ์ทู ให้ร่างกายนำไปใช้ฟื้นฟูข้อต่อและบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ก็ต้องทานคอลลาเจน ไทพ์ทู ประเภท "ยูซีทู" (Undenatured Collagen Type II: UC-II) เสริมเข้าไปค่ะ ซึ่ง UC-II  ดีตรงที่มีโครงสร้างที่สมบูรณ์ใกล้เคียงกับคอลลาเจน ไทพ์ทู ที่ร่างกายสร้างขึ้นตามธรรมชาติเลย

          อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน ไทพ์ทูผสมแคลเซียม และวิตามิน ดี  Nutrimaster Boncal-Type-II  "นูทรีมาสเตอร์บอนแคล ไทพ์ทู" ก็เป็นคอลลาเจน ไทพ์ทู ประเภท UC-II จากสถาบัน InterHealth ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีผลการวิจัยรับรองว่ามีประสิทธิภาพและได้ผลจริง เหมาะสำหรับช่วยดูแลสุขภาพกระดูกและข้อเข่าโดยเฉพาะ โดยมีงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยข้ออักเสบที่ทาน UC-II เพียงวันละ 40 มิลลิกรัมอย่างสม่ำเสมอ มีแนวโน้มใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น เพราะ UC-II มีความจำเพาะที่สามารถออกฤทธิ์ได้บริเวณข้อหรือกระดูกอ่อนที่ข้อ จึงเข้าไปเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อต่อและกระดูกได้อย่างตรงจุด ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
 
ข้อเข่าเสื่อม

          ย้ำตรงนี้อีกครั้งนะคะว่า โรคข้อเสื่อม สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย หากใครมีปัจจัยเสี่ยง หรือเริ่มมีอาการปวดเข่า กระดูกและข้อแล้ว ควรรีบดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ด้วยการเติมนูทรีมาสเตอร์ บอนแคล ไทพ์ทู ให้ข้อต่อแข็งแรง เพียงแค่รับประทานนูทรีมาสเตอร์ บอนแคล ไทพ์ทู วันละ 1 ซอง ละลายน้ำเย็น ดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน บำรุงกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมของข้อต่อ หรือบรรเทาอาการข้อเสื่อมที่เป็นอยู่ให้ทุเลาลง ทีนี้ก็ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัวขึ้น ให้ทุกการเคลื่อนไหวของข้อเป็นเรื่องง่าย ไม่ติด ๆ ขัด ๆ อีกต่อไป
                                 
ข้อเข่าเสื่อม

มีจำหน่ายที่ร้านวัตสันและร้านขายยาชั้นนำทั่วประเทศ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และสั่งซื้อสินค้า ได้ที่
Line @nutrimaster
ข้อเข่าเสื่อม
https://www.facebook.com/NutrimasterThailand/
www.boncaltype2.com



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ข้อเข่าเสื่อม รู้ตัวไว บำรุงรักษาได้ ไม่ต้องผ่าตัด ! อัปเดตล่าสุด 12 ตุลาคม 2561 เวลา 10:55:16 36,181 อ่าน
TOP
x close