พฤติกรรมการทานอาหารของเราเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โรคร้ายมาเยือน รวมทั้งโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่คุณเองก็ต้องระวัง !
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เพราะปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมาจากการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดโทษกับสุขภาพมาเป็นเวลานาน และแม้ว่าบางครั้ง ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนว่ามีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร แต่เราก็มักไม่ทันนึกถึงว่านั่นเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็ง และมักจะปล่อยผ่านไป กว่าจะรู้ตัวก็อาจสายไปเสียแล้ว
วันนี้เราจึงอยากให้ทุกคนลองเช็กพฤติกรรมเสี่ยงและสังเกตอาการของตัวเองดูสักหน่อย เพราะถ้ารู้ตัวไว รีบไปตรวจคัดกรอง ก็สามารถป้องกันและรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ทันท่วงทีนะคะ
ต้องอธิบายก่อนว่า ทั่วร่างกายของคนเรามีเซลล์อยู่จำนวนมาก และเซลล์พวกนี้จะมีการแบ่งตัวตลอดเวลา โดยเซลล์ใหม่จะงอกเงยเพื่อทดแทนเซลล์แก่ที่ตายและหลุดลอกออกไปจากร่างกาย ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะมีกลไกในร่างกายเป็นตัวควบคุมเพื่อให้การแบ่งตัวเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเหมาะสม เพื่อที่จะได้ผลิตจำนวนเซลล์ที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
เซลล์ของลำไส้ใหญ่เองก็เช่นกัน จะมีการแบ่งตัวและผลิตเซลล์ใหม่ออกมา ซึ่งจะเหมือนกับเซลล์ตัวแม่และมีคุณภาพเซลล์เหมือนกัน เปรียบเสมือนเบ้าหลอมที่จะหลอมหรือหล่อเซลล์ออกมาตัวแล้วตัวเล่าที่เหมือน ๆ กัน แต่ด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ อาจมีเซลล์หรือกลุ่มเซลล์บางตัวเกิดเพี้ยนขึ้นมา เซลล์ที่ผิดเพี้ยนนั้นก็จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเป็นเซลล์พันธุ์ใหม่ (เซลล์มะเร็ง) แต่ไม่ได้อยู่ในความควบคุมของร่างกาย ดังนั้น เซลล์พันธุ์ใหม่นี้ก็จะเพิ่มจำนวนหรือขยายตัวอย่างรวดเร็ว การขยาย 2 เท่าตัว หรือ DOUBLE TIME อาจจะใช้เวลาแตกต่างกันไประหว่างเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด ซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้
เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้นก็จะกัดกร่อนเข้าไปในผนังลำไส้ จนกระทั่งทะลุผนังของลำไส้ออกมาบริเวณรอบ ๆ กระจายไปตามต่อมน้ำเหลืองหรือเส้นเลือดและไหลเวียนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตับ ปอด สมอง ฯลฯ เมื่อกระจายไปส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เซลล์ก็จะทำการขยายตัวแบบเดียวกับตัวแม่ เพราะฉะนั้น มันก็จะขยายตัวยึดพื้นที่ไปเรื่อย ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนกระทั่งผลสุดท้ายก็จะทำลายคนไข้จนไม่เหลืออะไรและเสียชีวิตไปในที่สุด
เช็กปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
1. การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง และทายาทสายตรง
2. มีประวัติพบเนื้องอก (Polyps) ในลำไส้ หากพบมากมีแนวโน้มเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่3. ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง
4. ประวัติการเจ็บป่วยเดิม เช่น เคยเป็นมะเร็งรังไข่, มดลูก, เต้านม มีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้
5. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย
6. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
7. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
8. การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือประเภทเนื้อแดงที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนาน ๆ มากเกินไป
9. การรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและมีการตกค้างที่ลำไส้ มักพบสารพิษในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดอง และสารเคมีจากผักที่ไม่สะอาด
10. ผู้ที่มีประวัติดื่มสุราหรือสูบบุหรี่
11. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (มากกว่า 25 หรือมีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว)
อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ สัญญาณแบบไหนต้องระวัง !
1. ท้องผูก
ถ้าใครสังเกตว่าตัวเองมีอาการท้องผูกมากขึ้นผิดปกติ เช่น ไม่เคยใช้ยาถ่ายมาก่อนเลย ก็ต้องใช้ยาถ่ายและใช้เป็นจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะต้องเบ่งอุจจาระมากขึ้นจนกว่าจะถ่ายอุจจาระได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก้อนอุจจาระลีบลงและก้อนเรียวลง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือน
2. ท้องเสีย
ถ้าอยู่ ๆ มีอาการท้องเดินวันละ 2-3 ครั้ง (ซึ่งเคยถ่ายวันละครั้งเป็นประจำ) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการท้องผูกสลับกับท้องเดิน
3. ถ่ายเป็นมูก
การถ่ายเป็นมูก เป็น ๆ หาย ๆ เป็นอาการสำคัญที่น่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
4. ถ่ายเป็นเลือดสด
การถ่ายเป็นเลือดสด ๆ พร้อมอุจจาระ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากริดสีดวงทวาร แต่ขอย้ำว่า ริดสีดวงทวารจะไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็ง แต่บางครั้งคนไข้อาจจะเป็นริดสีดวงทวารร่วมกับเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งถ้าหลงรักษาเฉพาะริดสีดวงทวารแล้วไม่รักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นเวลานาน ก็จะทำให้มะเร็งแพร่ขยายไปได้
5. การถ่ายไม่สุด
ถ้ามีอาการเข้าห้องน้ำไปถ่ายอุจจาระ พอออกมารู้สึกว่าถ่ายไม่สุดอยากจะเข้าไปถ่ายอีก อาการอย่างนี้น่าจะนึกถึงมะเร็งแถวบริเวณส่วนปลายลำไส้ใหญ่ใกล้ปากทวาร
6. ท้องอืด/ท้องเฟ้อ
อาการท้องอืด แน่น รับประทานอาการแล้วไม่ย่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ขับถ่ายผิดปกติ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ดีขึ้นเมื่อผายลม อาการอย่างนี้ถือเป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งแพทย์ควรจะต้องเอาใจใส่ให้ความสำคัญและตรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน
การตรวจหามะเร็งในระยะแรก ช่วยป้องกันได้
การตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้ 5 วิธีคือ
2. การเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่โดยใส่แป้งเข้าทางทวารหนัก (Barium enema)
3. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (CT-Colonography)
4. การตรวจโดยการส่องกล้อง Singmoidscopy และ Colonoscopy
5. การตรวจเลือดดูระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างโดยเซลล์มะเร็ง CEA
มะเร็งลำไส้ใหญ่ รักษาได้อย่างไรบ้าง ?
หากพบเซลล์มะเร็งแล้ว แพทย์จะทำการรักษาอยู่ 3 วิธีคือ
1. การผ่าตัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดหลังจากแพทย์ได้พบว่ามีชิ้นเนื้อในลำไส้จากการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องทางทวารหนัก และมีความจำเป็นต้องผ่าตัด
2. การรักษาด้วยยาเคมี บำบัด (Chemotherapy)
วิธีป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
หลักง่าย ๆ 2 ข้อที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ก็คือ
1. การค้นหามะเร็งควรเริ่มทำตั้งแต่อายุ 50 ปี ขึ้นไปในคนปกติ คนที่มีโอกาสเสี่ยงครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งควรทำการตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นไป
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย การตรวจคัดกรองหรือระวังที่ดีและถูกต้องจะช่วยให้ตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือมะเร็งระยะแรก ทำให้รักษาโรคได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นวิธีการตรวจที่ไวและจำเพาะที่สุด และเป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาไปพร้อม ๆ กันได้
* แพ็กเกจส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหาร
สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระไม่สุด มีเลือดปนอุจจาระ แน่นท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด ฯลฯ เพื่อตรวจหาสาเหตุความผิดปกตินั้น โดยมีให้เลือก 3 โปรแกรม
- โปรแกรม A ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น Gastroscopy ราคา 11,800 บาท
- โปรแกรม B ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง เพื่อตรวจหามะเร็งระยะเริ่มต้น Colonoscopy ราคา 16,000 บาท
- โปรแกรม C ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น และส่วนล่าง เพื่อตรวจหามะเร็งระยะเริ่มต้น Gastroscopy & Colonoscopy ราคา 27,500 บาท
ตรวจสอบข้อมูลแพ็กเกจเพิ่มเติมได้ที่ แพ็กเกจส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหาร
แพ็กเกจนี้นอกจากจะส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) แล้ว ยังได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคอื่น ๆ ทั้งการตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์, ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด, ตรวจการทำงานของไต, ตรวจมะเร็งทางเดินอาหาร และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งหมดนี้ในราคาเพียง 15,800 บาท
ตรวจสอบข้อมูลแพ็กเกจเพิ่มเติมได้ที่ แพ็กเกจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
ย้ำอีกครั้งนะคะว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ แม้จะเป็นโรคอันตราย แต่ยิ่งตรวจคัดกรองเร็ว รู้เร็ว ก็เพิ่มโอกาสทางการรักษาให้หายได้มากขึ้น ดังนั้น การตรวจคัดกรอง หรือตรวจหาความผิดปกติของระบบทางเดินทางอาหารด้วยการส่องกล้อง จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีก่อนโรคร้ายจะลามมาถึงตัว
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลธนบุรี
โทร. 0-2487-2000 หรือ Hotline 1678 กด1เว็บไซต์ : www.thonburihospital.com
Line ID : @thonburihospital