แพทย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ คีลอยด์ ก้อนโตที่เกิดขึ้นจากการเจาะหูหลายรู หลังมีข่าวถูกแชร์สนั่นโซเชียล พร้อมชี้ถึงสาเหตุ และวิธีการรักษา
เป็นประเด็นข่าวที่หลายคนฮือฮาไม่น้อย เมื่อมีเพจออกมาโพสต์เตือนภัยเรื่องการเจาะหูหลายรู อาจเสี่ยงต่อการเกิดคีลอยด์ เป็นแผลเป็นชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะนูน และอาจขยายเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่บริเวณใบหู พร้อมแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงเรื่องการเจาะ การสัก หรือผ่าตัดศัลยกรรมใด ๆ ที่ไม่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุแบบนี้ ทำเอาหลายคนออกอาการผวา บ้างก็สงสัยว่า คีลอยด์ เกิดจากอะไรกันแน่ และจะรักษาได้อย่างไร
ล่าสุด (6 กันยายน 2561) เฟซบุ๊กเพจ Dr.Surawej Numhom นายแพทย์สุรเวช น้ำหอม ก็ได้ออกมาโพสต์ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ คีลอยด์ ทั้งสาเหตุที่เกิด รวมถึงวิธีการรักษา ดังนี้
ล่าสุด (6 กันยายน 2561) เฟซบุ๊กเพจ Dr.Surawej Numhom นายแพทย์สุรเวช น้ำหอม ก็ได้ออกมาโพสต์ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ คีลอยด์ ทั้งสาเหตุที่เกิด รวมถึงวิธีการรักษา ดังนี้
"เจาะหูแล้วเป็นคีลอยด์ มีลักษณะเป็นก้อนโตตามรูที่เจาะหูเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยมากในคนไทย เพราะเชื้อชาติและกรรมพันธุ์
วันก่อนมีนักข่าวช่อง ONE ขอสัมภาษณ์หมอเรื่องการเจาะหูแล้วเป็นคีลอยด์ว่าเกิดขึ้นได้เพราะอะไรแล้วจะรักษาอย่างไร ซึ่งหมอเองก็งงเล็กน้อยว่าอยู่ดี ๆ ทำไมมาขอสัมภาษณ์ เพราะหมอเองก็เขียนในเพจหลายรอบแล้ว แต่ก็จะสรุปให้ฟังอีกทีละกัน
คีลอยด์เป็นแผลเป็นนูนที่นูนใหญ่กว่าแผลเดิมมาก ๆ เช่น รูเจาะหูที่เล็กนิดเดียว หากกลายเป็นคีลอยด์ก็จะขยายตัวออกมากจนค่อย ๆ กินหูไปเรื่อย ๆ ได้
ลักษณะของคีลอยด์ส่วนใหญ่จะเป็นหลังจากเกิดแผลไปแล้วนานพอสมควร บางคนอาจเกิดขึ้นหลังจากเจาะหูเป็นปี ๆ เลยก็ได้ โดยมากมักจะมีเหตุบางอย่าง เช่น หูที่เจาะเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจจะอักเสบนิดเดียวก็ได้ แล้วต่อมารูที่เจาะก็แข็งกลายเป็นก้อนเล็ก ๆ และค่อย ๆ ขยายตัวใหญ่ขึ้นอย่างช้า ๆ จนบางคนใหญ่เท่าลูกปิงปองเลยก็เคยเจอ
หากเกิดเป็นก้อนคีลอยด์ที่รูที่เจาะหู หากก้อนเล็ก ๆ ประมาณถั่วเขียว อาจจะรักษาโดยการฉีดยาได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาสเตียรอยด์ ซึ่งจะฉีดไม่มากในแต่ละครั้ง และรอนานประมาณ 1 เดือนจึงจะฉีดซ้ำ แต่ถ้าก้อนใหญ่กว่าถั่วลิสง หมอจะไม่เสียเวลาฉีดยาเพราะจะเจ็บมากแล้วโอกาสลงน้อย จะแนะนำให้ผ่าตัดออกไปเลย แต่ถ้าใครกลัวจะฉีดยาไปเรื่อย ๆ ก็ได้
คีลอยด์เป็นแผลเป็นนูนที่นูนใหญ่กว่าแผลเดิมมาก ๆ เช่น รูเจาะหูที่เล็กนิดเดียว หากกลายเป็นคีลอยด์ก็จะขยายตัวออกมากจนค่อย ๆ กินหูไปเรื่อย ๆ ได้
ลักษณะของคีลอยด์ส่วนใหญ่จะเป็นหลังจากเกิดแผลไปแล้วนานพอสมควร บางคนอาจเกิดขึ้นหลังจากเจาะหูเป็นปี ๆ เลยก็ได้ โดยมากมักจะมีเหตุบางอย่าง เช่น หูที่เจาะเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจจะอักเสบนิดเดียวก็ได้ แล้วต่อมารูที่เจาะก็แข็งกลายเป็นก้อนเล็ก ๆ และค่อย ๆ ขยายตัวใหญ่ขึ้นอย่างช้า ๆ จนบางคนใหญ่เท่าลูกปิงปองเลยก็เคยเจอ
หากเกิดเป็นก้อนคีลอยด์ที่รูที่เจาะหู หากก้อนเล็ก ๆ ประมาณถั่วเขียว อาจจะรักษาโดยการฉีดยาได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาสเตียรอยด์ ซึ่งจะฉีดไม่มากในแต่ละครั้ง และรอนานประมาณ 1 เดือนจึงจะฉีดซ้ำ แต่ถ้าก้อนใหญ่กว่าถั่วลิสง หมอจะไม่เสียเวลาฉีดยาเพราะจะเจ็บมากแล้วโอกาสลงน้อย จะแนะนำให้ผ่าตัดออกไปเลย แต่ถ้าใครกลัวจะฉีดยาไปเรื่อย ๆ ก็ได้
เฟซบุ๊กเพจ Dr.Surawej Numhom
การรักษาคีลอยด์ที่หู ถ้ารักษาถูกวิธี โอกาสหายขาดมีกว่า 90% แต่ถ้ารักษาผิด เช่น ผ่าตัดเฉย ๆ โอกาสเป็นซ้ำจะสูงมาก 50-100% เลย ซึ่งการรักษาแบบผิด ๆ คือการผ่าตัดเฉย ๆ ก็ยังพบเห็นได้ตลอด เพราะไม่นานคนไข้ก็จะเกิดก้อนขึ้นที่เดิม แถมใหญ่กว่าเดิมอีกด้วย
การดูแลตัวเองก็สำคัญ คนไข้ที่รักษาผ่าตัดคีลอยด์กับหมอ จะต้องปรับเรื่องอาหารด้วย เช่น ลดการทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์พวกเนื้อแดง ลดอาหารแสลง เช่น พวกของเผ็ดจัด เค็มจัด และพวกส้มตำปลาร้า
ดังนั้นการรักษาคีลอยด์ไม่ได้ยากอะไร แต่จะยากบ้างตอนที่ก้อนใหญ่ ๆ
แล้วต้องตัดออกให้หมด หมอจะมีวิธีอะไรที่ทำให้หูยังดูเป็นหูอยู่
ไม่ให้แหว่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับหมอ
แต่พอเห็นผลออกมาดีก็รู้สึกโล่งใจแทนคนไข้
จึงแนะนำให้คนไข้ที่คิดจะรักษาต้องทราบเสมอว่าตัดอย่างเดียวไม่ได้ !
ต้องติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วย"