คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยข้อมูลโภชนาการของเมล็ดทานตะวันอบแห้ง ปริมาณ 100 กรัม (ส่วนที่กินได้) ดังนี้
- พลังงาน 490 กิโลแคลอรี
- ไขมัน 32.8 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 38.6 กรัม
- เส้นใย 3.7 กรัม
- โปรตีน 16.7 กรัม
- แคลเซียม 92 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 632 มิลลิกรัม
- เหล็ก 5.8 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.07 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 36 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 2.4 มิลลิกรัม
1. เป็นแหล่งของโปรตีน
เมล็ดทานตะวันมีโปรตีนค่อนข้างสูง และยังมีธาตุเหล็กใกล้เคียงกับไข่แดงและตับ ดังนั้นคนที่อยากเสริมโปรตีนให้ร่างกาย สามารถกินเมล็ดทานตะวันเป็นของว่างได้สบาย ๆ
2. ลดไขมันในเลือด
ศ. พญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต จักษุแพทย์เกียรติคุณ ให้ข้อมูลว่า ในเมล็ดทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และกรดไขมันชนิดนี้จะช่วยลดไขมันในหลอดเลือด อีกทั้งยังทำให้เม็ดเลือดแดงสมบูรณ์ คงทน ไม่รวมตัวเป็นกลุ่มก้อน ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดอุดตันได้
3. บำรุงสายตา
4. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
5. บำรุงการทำงานของไทรอยด์
6. บรรเทาอาการเหน็บชา
7. ช่วยคลายเครียด
8. ช่วยขับถ่าย
9. บำรุงดูแลผิวพรรณ
กินเมล็ดทานตะวันอ้วนไหม
มีคนจำนวนไม่น้อยที่กังวลว่ากินเมล็ดทานตะวันบ่อย ๆ จะอ้วนไหม เพราะเมล็ดทานตะวันมีกรดไขมันและมีคาร์โบไฮเดรตอยู่ด้วย ซึ่งก็ต้องบอกว่าถ้าจะกินเมล็ดทานตะวันก็แนะนำให้กินแต่พอควร และหมั่นออกกำลังกายดีกว่า เนื่องจากเมล็ดทานตะวันอบแห้งปรุงรส (อบเกลือ) ให้พลังงานประมาณ 186 กิโลแคลอรีต่อ 1/4 ถ้วยตวง เลยทีเดียว
เมล็ดทานตะวัน มีโทษที่ควรระวังไหม ?
ศ. พญ.สกาวรัตน์ อธิบายว่า การรับประทานเมล็ดทานตะวันยังไม่พบว่ามีอันตรายใด ๆ เพราะโดยปกติแล้วคนเรากินเมล็ดทานตะวันกันในปริมาณไม่มาก ซึ่งก็จะได้รับสารอาหารต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น และในการจะเกิดโทษนั้นก็ต้องกินเมล็ดทานตะวันเป็นกิโลกรัมเลยล่ะค่ะ
อย่างไรก็ตาม เมล็ดทานตะวันพร้อมรับประทานก็อาจจะให้พลังงานค่อนข้างสูง ดังนั้นถ้าไม่อยากอ้วนก็ควรกินแต่พอควร สลับ ๆ กับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างอื่นเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน รวมทั้งหมั่นออกกำลังกายด้วยนะคะ