สาธารณสุข สั่งวัคซีนป้องกันโรคหัดสำรองเพิ่ม 1.4 แสนโดส หลังยอดผู้ติดเชื้อหลายประเทศปีก่อนพุ่ง พบคนไทยติดเชื้อ 3,590 ราย เสียชีวิตแล้ว 23 ราย พร้อมสั่งติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็กอายุ 1-12 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค โดยสำนักระบาดวิทยา ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคหัดอย่างใกล้ชิด พบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กนักเรียนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ประกอบกับเด็กจำนวนมากมีภาวะทุพโภชนาการ ทำให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง เนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยในประชากรกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดอื่น ๆ เช่น เด็กต่างด้าวที่เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มผู้ใหญ่ที่อยู่รวมกันเป็นคนหมู่มากตามสถานประกอบการ ค่ายทหาร เรือนจำ เป็นต้น
กรมควบคุมโรค
จึงเสนอโครงการเร่งรัดการกำจัดโรคหัดของประเทศไทย
โดยได้เสนอขอสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ประมาณ 93 ล้านบาท เพื่อรณรงค์ให้วัคซีนเก็บตกแก่เด็กอายุ 1-12 ปี
ทั่วประเทศ ทั้งไทยและต่างชาติ ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดไม่ครบตามเกณฑ์
และจะขยายเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 20-40 ปี ในจังหวัดเสี่ยงสูง
โดยงบประมาณดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา
คาดว่าหากสามารถรณรงค์วัคซีนได้ตามแผนข้างต้นจะช่วยให้ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของโรคหัดลดลง
และสามารถกำจัดโรคหัดได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และในปี 2562
กรมควบคุมโรคได้เพิ่มจำนวนวัคซีนสำรองเพื่อตอบโต้การระบาดเป็น 141,200 โดส
เพื่อสนับสนุนพื้นที่ที่เกิดการระบาดโดยเร็ว
สำหรับ โรคหัด ถือเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ประเทศไทยได้มีการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคหัดแก่เด็ก จำนวน 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9 เดือน และ 2 ขวบครึ่ง ซึ่งผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปขอรับวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวได้ตามสถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
![](http://img.kapook.com/u/2019/juthamat/Jutha03/wp%20(2).jpg)
ภาพจาก Workpoint News
วันที่ 4 มีนาคม 2562 Workpoint News
รายงานว่า นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค
ระบุถึงกรณีที่มีการรายงานข่าวว่าในปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคหัดเพิ่มขึ้นในหลายประเทศว่า
ในระยะที่ผ่านมาได้เกิดการระบาดของโรคหัดในหลายประเทศทั่วโลก
โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
พบรายงานผู้ป่วยโรคหัดในทุกภูมิภาคของโลก โดยมีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในอินเดีย
64,972 ราย รองลงมาคือ ยูเครน 53,218 ราย และปากีสถาน 33,224 ราย ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังพบการระบาดในประเทศฟิลิปปินส์ เซอร์เบีย จอร์เจีย แอลเบเนีย
เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยพบว่าในปี 2561
มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันโรคหัดทั่วประเทศ 3,590 ราย เสียชีวิต 23 ราย
ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยจึงได้ลงนามร่วมกับนานาประเทศในการดำเนินโครงการกำจัดโรคหัด
ตามพันธสัญญานานาชาติมาตั้งแต่ปี 2553 เพื่อลดการเกิดโรคหัดลงภายในปี
2563 ตั้งเป้าหมายไว้ว่าประเทศไทยต้องมีผู้ป่วยโรคหัดไม่เกิน 1 คน ต่อประชากร 1 ล้านคน หรือเทียบเท่ากับ 65 คน
และไม่มีการติดเชื้อภายในประเทศ
โดยได้บรรจุวัคซีนป้องกันโรคหัดเข้าในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ
ตั้งแต่ปี 2527 และขยายการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
![](http://img.kapook.com/u/2019/juthamat/Jutha03/wp%20(3).jpg)
ภาพจาก Workpoint News
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค โดยสำนักระบาดวิทยา ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคหัดอย่างใกล้ชิด พบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กนักเรียนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ประกอบกับเด็กจำนวนมากมีภาวะทุพโภชนาการ ทำให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง เนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยในประชากรกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดอื่น ๆ เช่น เด็กต่างด้าวที่เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มผู้ใหญ่ที่อยู่รวมกันเป็นคนหมู่มากตามสถานประกอบการ ค่ายทหาร เรือนจำ เป็นต้น
![](http://img.kapook.com/u/2019/juthamat/Jutha03/photo.jpg)
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
สำหรับ โรคหัด ถือเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ประเทศไทยได้มีการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคหัดแก่เด็ก จำนวน 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9 เดือน และ 2 ขวบครึ่ง ซึ่งผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปขอรับวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวได้ตามสถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก