x close

ชี้ ปลาดอรี่นำเข้า มีสารปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน เตือนคนชอบกินเสี่ยงดื้อยา-มะเร็ง

 
             นักวิจัย ม.ธรรมศาสตร์ ชี้ ปลาดอรี่ หรือปลาสวายนำเข้า พบสารปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะและสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการเพาะเลี้ยงสูงเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ชี้อาจก่อให้เกิดการดื้อยาในร่างกาย และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็ง
ปลาดอรี่

             วันที่ 20 มีนาคม 2562 ข่าวช่อง 3 รายงานว่า ศ. ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิจัยความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากการรับประทานเนื้อปลาดอรี่ หรือปลาสวาย ซึ่งเป็นปลาที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุด ถึง 12,000 ตันต่อปี ในขณะที่คนไทยบริโภคปลาดอรี่ เฉลี่ย 30 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

             โดยจากการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนของปลาดอรี่ตามท่าเรือ สนามบิน โมเดิร์นเทรด รวมถึงแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ พบว่า ปลาดอรี่กว่าร้อยละ 25 มีสารปนเปื้อนจากยาปฏิชีวนะและสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ที่ระบุว่ายาปฏิชีวนะต้องไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม

ปลาดอรี่
ภาพจาก News.Ch3thailand

              อย่างไรก็ตาม สาเหตุอาจเป็นเพราะปลาดอรี่ส่วนใหญ่มาจากประเทศเวียดนาม เป็นปลาที่ถูกเลี้ยงในกระชัง จึงต้องมีการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเจ็บป่วย ส่งผลให้เกิดสารตกค้างมาสู่ผู้บริโภค แม้จะผ่านกระบวนการปรุงสุกก็ยังไม่สามารถสลายสารปนเปื้อนออกไปได้

              ทั้งนี้ หากผู้บริโภครับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาในร่างกาย รวมถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็ง เพราะผู้ป่วยมะเร็งกว่าร้อยละ 60 มีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีและยาปฏิชีวนะ

ปลาดอรี่
ภาพจาก News.Ch3thailand

ปลาดอรี่
ภาพจาก News.Ch3thailand

ปลาดอรี่
ภาพจาก News.Ch3thailand

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ข่าวช่อง 3


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ชี้ ปลาดอรี่นำเข้า มีสารปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน เตือนคนชอบกินเสี่ยงดื้อยา-มะเร็ง อัปเดตล่าสุด 21 มีนาคม 2562 เวลา 10:26:48 30,138 อ่าน
TOP