วันตระหนักรู้โรคออทิสติกโลก เพื่อให้เราทุกคนเข้าใจผู้ป่วยออทิสติก และส่งเสริมให้ผู้ป่วยออทิสติกสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติที่สุด
![โรคออทิสติก โรคออทิสติก]()
วันออทิสติกโลก...ประวัติความเป็นมา
![โรคออทิสติก โรคออทิสติก]()
![โรคออทิสติก โรคออทิสติก]()
![โรคออทิสติก โรคออทิสติก]()
![โรคออทิสติก โรคออทิสติก]()
![โรคออทิสติก โรคออทิสติก]()

วันที่ 2 เมษายนของทุกปี องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันออทิสติกโลก ในชื่อภาษาอังกฤษ... Autistic Awareness Day หรือแปลเป็นไทยว่า วันตระหนักรู้โรคออทิสติก แสดงถึงความประสงค์อย่างเด่นชัดในตัวเอง ที่ต้องการให้คนปกติธรรมดารู้จักโรคออทิสติกกันมากขึ้น เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคออทิสติกได้อย่างมีความสุข
วันตระหนักรู้โรคออทิสติกโลกถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 โดยองค์การสหประชาชาติ มีจุดประสงค์ที่จะรณรงค์ให้ผู้ป่วยออทิสติกมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยจากการประชุมร่วมกันของหลาย ๆ ฝ่าย ก็มีการลงมติให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันตระหนักรู้โรคออทิสติกโลก หรือ Autistic Awareness Day นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ออทิสติก คืออะไร
โรคออทิสติก เป็นโรคที่เกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของสมอง โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครองแต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากมีภาวะพัฒนาการผิดปกติของสมอง ทำให้ผู้ป่วยออทิสติกเกิดความบกพร่องด้านการพูด การสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม รวมไปถึงมีพฤติกรรมและความสนใจแบบแคบ จำกัด เป็นแบบแผนซ้ำ ๆ มักมีความสนใจในเรื่องเดิม ๆ และเปลี่ยนความสนใจได้ยาก
ออทิสติก ความชุกอยู่ระดับไหน
ในประเทศไทยพบเด็กป่วยโรคออทิสติก 1 คน ต่อเด็ก 161 คน โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมักจะพบอาการออทิสติกในเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ขวบ ทั้งนี้พบว่า พี่น้องของเด็กที่ป่วยโรคออทิสติก มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนปกติประมาณ 22 เท่า ซึ่งหมายความว่า โรคออทิสติกอาจเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
โรคออทิสติก เป็นโรคที่เกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของสมอง โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครองแต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากมีภาวะพัฒนาการผิดปกติของสมอง ทำให้ผู้ป่วยออทิสติกเกิดความบกพร่องด้านการพูด การสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม รวมไปถึงมีพฤติกรรมและความสนใจแบบแคบ จำกัด เป็นแบบแผนซ้ำ ๆ มักมีความสนใจในเรื่องเดิม ๆ และเปลี่ยนความสนใจได้ยาก
ออทิสติก ความชุกอยู่ระดับไหน
ในประเทศไทยพบเด็กป่วยโรคออทิสติก 1 คน ต่อเด็ก 161 คน โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมักจะพบอาการออทิสติกในเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ขวบ ทั้งนี้พบว่า พี่น้องของเด็กที่ป่วยโรคออทิสติก มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนปกติประมาณ 22 เท่า ซึ่งหมายความว่า โรคออทิสติกอาจเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

ออทิสติก อาการเป็นยังไง
โรคออทิสติกเป็นโรคที่แสดงอาการตั้งแต่ช่วงวัย 2-3 ปี โดยผู้ปกครองจะสังเกตอาการออทิสติกของลูกหลานได้ ดังนี้
- เริ่มพูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ
- เริ่มพูดคำที่ไม่มีความหมาย หรือมีภาษาเฉพาะตัว ฟังไม่รู้เรื่อง
- ไม่ตอบสนองเมื่อเรียกชื่อ
- ไม่ทำตามคำสั่ง
- ไม่ค่อยสบตาเหมือนเด็กทั่วไป
- บางคนอาจไม่พูดเลย
- เมื่อโตขึ้นอาจมีพฤติกรรมพูดทวนคำตามผู้อื่น
- มีลักษณะการพูดแปลก ๆ อาจใช้คำศัพท์ที่ไม่เหมาะสมกับบริบท
- พูดซ้ำ ๆ แต่เรื่องที่ตัวเองสนใจ โดยไม่คุยโต้ตอบกับคนรอบข้าง
- แสดงสีหน้าหรือท่าทางที่ไม่เหมาะสม และไม่สามารถตีความสีหน้า ท่าทางของผู้อื่นได้
- ชอบเล่นคนเดียว ไม่สนใจจะปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แม้แต่เด็กวัยเดียวกัน
- เริ่มพูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ
- เริ่มพูดคำที่ไม่มีความหมาย หรือมีภาษาเฉพาะตัว ฟังไม่รู้เรื่อง
- ไม่ตอบสนองเมื่อเรียกชื่อ
- ไม่ทำตามคำสั่ง
- ไม่ค่อยสบตาเหมือนเด็กทั่วไป
- บางคนอาจไม่พูดเลย
- เมื่อโตขึ้นอาจมีพฤติกรรมพูดทวนคำตามผู้อื่น
- มีลักษณะการพูดแปลก ๆ อาจใช้คำศัพท์ที่ไม่เหมาะสมกับบริบท
- พูดซ้ำ ๆ แต่เรื่องที่ตัวเองสนใจ โดยไม่คุยโต้ตอบกับคนรอบข้าง
- แสดงสีหน้าหรือท่าทางที่ไม่เหมาะสม และไม่สามารถตีความสีหน้า ท่าทางของผู้อื่นได้
- ชอบเล่นคนเดียว ไม่สนใจจะปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แม้แต่เด็กวัยเดียวกัน

- มักเล่นของเดิม ๆ ซ้ำ ๆ และเล่นต่างจากเด็กทั่วไป เช่น หงายรถของเล่นแล้วหมุนล้อเล่น แทนที่จะไถรถเล่นแบบเด็กคนอื่น ๆ เป็นต้น
- ชอบมองวัตถุที่หมุนตลอดเวลา เช่น พัดลม ของเล่นที่หมุนได้
- ขาดสมาธิ ซน ไม่อยู่นิ่ง
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว
- มีพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองซ้ำ ๆ เช่น สะบัดข้อมือ เคาะวัตถุ โยกตัว หรือกระโดด เป็นต้น
ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคออทิสติกจะสามารถประเมินได้จากลักษณะทางร่างกายและพฤติกรรมของเด็กเป็นส่วนใหญ่ เพราะยังไม่มีเครื่องมือตรวจหรือทดสอบจำเพาะใด ๆ สำหรับโรคนี้
ออทิสติก รักษาอย่างไร
- ชอบมองวัตถุที่หมุนตลอดเวลา เช่น พัดลม ของเล่นที่หมุนได้
- ขาดสมาธิ ซน ไม่อยู่นิ่ง
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว
- มีพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองซ้ำ ๆ เช่น สะบัดข้อมือ เคาะวัตถุ โยกตัว หรือกระโดด เป็นต้น
ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคออทิสติกจะสามารถประเมินได้จากลักษณะทางร่างกายและพฤติกรรมของเด็กเป็นส่วนใหญ่ เพราะยังไม่มีเครื่องมือตรวจหรือทดสอบจำเพาะใด ๆ สำหรับโรคนี้
ออทิสติก รักษาอย่างไร

แนวทางรักษาโรคออทิสติกจะเน้นไปที่การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่เด็กขาด หรือมีความบกพร่อง รวมทั้งการฝึกให้เขาเรียนรู้ท่าทางการแสดงออกของคนอื่น ๆ ทักษะการเข้าสังคม และทักษะการพูด
ทั้งนี้การรักษาโรคออทิสติกควรทำตั้งแต่ระยะแรก ๆ ที่สังเกตอาการได้ เพราะจะช่วยให้วางแผนพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของเด็กได้อย่างตรงจุด แก้ไขความบกพร่องของเด็กได้มากที่สุด ส่งผลให้เด็กมีทักษะในการใช้ชีวิตที่ดี สามารถเติบโตอย่างสมวัยได้มากที่สุด ที่สำคัญคือสามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไปให้ได้มากที่สุดเช่นกัน
ออทิสติก รักษาหายไหม
เนื่องจากออทิสติกเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสมอง จึงไม่สามารถรักษาโรคออทิสติกให้หายขาดได้ ทำได้เพียงส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยออทิสติกสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น
ทั้งนี้การรักษาโรคออทิสติกควรทำตั้งแต่ระยะแรก ๆ ที่สังเกตอาการได้ เพราะจะช่วยให้วางแผนพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของเด็กได้อย่างตรงจุด แก้ไขความบกพร่องของเด็กได้มากที่สุด ส่งผลให้เด็กมีทักษะในการใช้ชีวิตที่ดี สามารถเติบโตอย่างสมวัยได้มากที่สุด ที่สำคัญคือสามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไปให้ได้มากที่สุดเช่นกัน
ออทิสติก รักษาหายไหม
เนื่องจากออทิสติกเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสมอง จึงไม่สามารถรักษาโรคออทิสติกให้หายขาดได้ ทำได้เพียงส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยออทิสติกสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น

ผู้ปกครองควรทำอย่างไร เมื่อสงสัยว่าลูก-หลานเป็นออทิสติก
หากสังเกตพบอาการของเด็กออทิสติกตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ควรรีบนำเด็กมาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กหรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อให้เขาได้รับการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ผู้ปกครองก็ควรให้ความร่วมมือในการช่วยพัฒนาทักษะและพัฒนาการของเด็กด้วยนะคะ
โรคออทิสติกเป็นโรคที่คนทั่วไปอาจเข้าใจผู้ป่วยโรคนี้ได้ยาก แต่อยากให้ตระหนักไว้ว่า เขามีความบกพร่องด้านการพัฒนาสมอง ซึ่งถ้าเราเข้าใจโรคออทิสติกแล้ว เราจะเข้าใจผู้ป่วยออทิสติกมากขึ้น และน่าจะช่วยให้เราปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยออทิสติกได้อย่างเหมาะสม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

สถาบันราชานุกูล
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต
องค์การสหประชาชาติ
หากสังเกตพบอาการของเด็กออทิสติกตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ควรรีบนำเด็กมาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กหรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อให้เขาได้รับการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ผู้ปกครองก็ควรให้ความร่วมมือในการช่วยพัฒนาทักษะและพัฒนาการของเด็กด้วยนะคะ
โรคออทิสติกเป็นโรคที่คนทั่วไปอาจเข้าใจผู้ป่วยโรคนี้ได้ยาก แต่อยากให้ตระหนักไว้ว่า เขามีความบกพร่องด้านการพัฒนาสมอง ซึ่งถ้าเราเข้าใจโรคออทิสติกแล้ว เราจะเข้าใจผู้ป่วยออทิสติกมากขึ้น และน่าจะช่วยให้เราปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยออทิสติกได้อย่างเหมาะสม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

สถาบันราชานุกูล
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต
องค์การสหประชาชาติ