
ทุกวันนี้ทำงานเพียงอย่างเดียว เงินมันไม่พอใช้ สำหรับคนทำงานที่กำลังก่อร่างสร้างตัว งานหลัก งานรองรับหมด เพื่อหารายได้ให้พอจ่าย ค่ารถ ค่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสิ่งของต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละเดือน เมื่อชีวิตมีค่าขนาดนี้ ต้องปลุกพลังสมอง ให้พร้อมสั่งการ เมื่อเจองานที่รออยู่ตรงหน้า...ลองมาฟังเทคนิคจาก ดร.นพ.เทพ เฉลิมชัย กันดีกว่า แล้วมาลองปฏิบัติกัน…

1. เติมอาหารสมอง
นอกจากนี้ยังมีตัวช่วยคือ อาหารฟังก์ชั่นเพื่อสุขภาพสมอง เช่น ซุปไก่สกัด ผลจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์โดย ศ.นพ.โคกะ โยชิฮิโกะ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคียวริน ประเทศญี่ปุ่น พบว่า ในซุปไก่สกัดมี "ไบโอ-อะมิโน เปปไทด์ คอมเพล็กซ์" ที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็ว เสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจให้ทำงานได้ดีขึ้น
และการวิจัยล่าสุดในคนไทยยังพบว่าช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้จดจำ โดยเฉพาะความจำระยะสั้นในคนที่มีภาวะเครียดและเหนื่อยล้าได้ดี และโสมอเมริกา ที่มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ จินเซนโนไซด์ ซึ่งผลต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลาง โดยเสริมการทำงานของสารสื่อประสาท ทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเซลต่อเซลล์ของระบบประสาทในสมองให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น

2. ออกกำลังให้เลือดสูบฉีด
ง่ายมาก เพียงหยิบรองเท้าผ้าใบขึ้นมาสวม แล้วไปออกกำลังกายซะ แค่ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที จะไปวิ่ง ไปเดิน ไปเต้น หรือไปปั่นจักรยานก็ได้ บางวันเบื่อ ๆ ก็เปลี่ยนใส่ชุดว่ายน้ำ ไปกระโดดลงสระว่ายน้ำบ้างก็ได้ สลับกันไป เพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ให้สูบฉีดไปยังสมอง ช่วยให้สมองปลอดโปร่งช่วยให้คิดงานใหม่ ๆ ดี ๆ ได้

3. ลองทำสิ่งใหม่
เมื่ออายุขึ้นเลข 3 การทำงานของสมองจะเริ่มช้าลง ต้องทำให้สมองได้มีการเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นให้สมองยังสามารถทำงานได้ดี โดยการลองฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัดทำกิจกรรมง่าย ๆ อย่างการแปรงฟัน หรือสลับข้างใช้ช้อนตักข้าว ฝึกเล่นดนตรี หรือเพิ่มการบริหารหน่วยความจำ โดยที่เวลาที่เราผ่านไปยังสถานที่ใหม่ ๆ ลองนึกดูว่าเราจำอะไรได้บ้าง วิธีนี้เป็นการบริหารความจำ ฝึกการรับสาร การส่งสาร การประมวลผล และการคิดวิเคราะห์ ทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น

4. หัวเราะหน่อย
ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้สมองได้ผ่อนคลาย หรือนาน ๆ ที (ไม่ถี่นะจ๊ะ) จะออกไปสังสรรค์ พบปะกับเพื่อนๆ บ้าง เพื่อสร้างสีสันให้กับชีวิต แลกเปลี่ยนสารทุกข์สุกดิบกัน จะได้ไม่เหงา

5. นั่งสมาธิวันละ 10-20 นาที
เมื่อเราเร่งการทำงานของสมองมากเกินไป อาจส่งผลร้ายต่อเซลล์สมอง ต้องเรียนรู้ที่จะสโลว์ดาวน์ด้วย เพื่อให้กระบวนการรับรู้และการจดจำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การนั่งสมาธิ จึงมีส่วนช่วยได้มากในการลดความเครียดจากการทำงาน เช่น ระหว่างที่ทำงานแล้วคิดอะไรไม่ออก ลองหลับตา สงบจิตทำสมาธิสัก 10-20 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลาย เมื่อลืมตาขึ้นมาอาจคิดอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาได้ระหว่างนั้นก็ได้

6. พักสมองให้พอ
นอนค่ะนอน หลังจากเผชิญปัญหาอะไรต่าง ๆ มาทั้งวันแล้ว ก็ได้เวลาทิ้งตัวลงนอนพักผ่อนร่างกายและสมองแล้ว เพราะในขณะที่นอนหลับสนิท ร่างกายและสมองจะทำงานสัมพันธ์อย่างเป็นระบบเพื่อการฟื้นฟูร่างกาย ประกอบร่างให้พร้อมต่อการทำงานในวันรุ่งขึ้น และตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่น
อ้างอิง
• Konagai C., Watanabe H., Abe K., Tsuruoka N., Koga Y. Effects of essence of chicken on cognitive brain function: a near-infrared spectroscopy study. Bioscience, biotechnology, and biochemistry. 2013; 77(1): 178-81. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23291775
• Suttiwan P.; Yuktanandana P.; Ngamake S. Effectiveness of Essence of Chicken on Cognitive Function Improvement: A Randomized Controlled Clinical Trial. Nutrients 2018; 10, 845. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29966229