ว่านชักมดลูก สรรพคุณเด่นคือ ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพของผู้หญิง ทั้งแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาอาการวัยทอง แต่ก่อนลองต้องรู้ว่าควรกินว่านชักมดลูกประเภทไหน ให้ได้ประโยชน์ที่ตรงความต้องการ
สมุนไพรไทยอย่างว่านชักมดลูก ชื่อก็บอกอยู่ชัด ๆ ว่าน่าจะช่วยเรื่องสุขภาพของผู้หญิง แต่แท้จริงแล้วสรรพคุณว่านชักมดลูกยังมีดีกว่านั้น และที่สำคัญว่านชักมดลูกมีทั้งแบบตัวเมียและว่านชักมดลูกตัวผู้ ซึ่งต้องรู้ให้ชัดว่าควรกินว่านชักมดลูกแบบไหน เพราะสรรพคุณว่านชักมดลูกให้ได้ไม่เท่ากันนะ
ว่านชักมดลูก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ว่านชักมดลูกเป็นพืชในวงศ์ขิง จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับขมิ้นชัน มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ว่านชักมดลูกเป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร มีใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะใบเป็นรูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก ขนาดใบกว้าง 15-20 เซนติเมตร ยาว 40-90 เซนติเมตร ดอกว่านชักมดลูกจะเป็นช่อเชิงลด ออกดอกบริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15-20 เซนติเมตร กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง ส่วนผลว่านชักมดลูกเป็นผลแห้ง สามารถแตกได้
อย่างไรก็ดี ว่านชักมดลูกที่ขายทั่วไปนั้นพบว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดหลัก ๆ คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย หรือ Curcuma comosa Roxb. และว่านชักมดลูกตัวผู้อีก 2 ชนิด คือ C. elata Roxb. และ C. latifolia Rosc. ทั้งที่จริงแล้วสรรพคุณว่านชักมดลูกตัวเมียเท่านั้นที่จะให้ฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้หญิง ส่วนว่านชักมดลูกตัวผู้ ไม่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน อีกทั้งยังมีพิษต่อตับ ไต ม้าม ไม่ควรนำมารับประทาน ดังนั้น เราจึงควรแยกว่านชักมดลูกตัวเมียและว่านชักมดลูกตัวผู้ให้ออก
ว่านชักมดลูกตัวผู้ ว่านชักมดลูกตัวเมียดูอย่างไร
ความแตกต่างของว่านชักมดลูกตัวผู้ และว่านชักมดลูกตัวเมีย สามารถแยกได้จากลักษณะเด่น ๆ ดังนี้
ว่านชักมดลูก สรรพคุณดียังไง
ถ้าพูดถึงสรรพคุณของว่านชักมดลูก ก็อย่างที่พอรู้กันว่าเป็นสมุนไพรเพื่อสตรี แต่นอกจากนี้ว่านชักมดลูกยังมีสรรพคุณอื่น ๆ ด้วย ตามนี้เลย
* รักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ
ในตำรับยาไทยจะใช้เหง้าว่านชักมดลูกตัวเมียแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ บรรเทาอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน รวมไปถึงรักษาอาการตกขาว เนื่องจากงานวิจัยในไทยสันนิษฐานว่า ว่านชักมดลูกน่าจะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) โดยทางการแพทย์จะเรียกสารนี้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งแปลได้ว่า สารที่ได้จากพืชในธรรมชาติ ที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนในร่างกายมนุษย์ ดังนั้น จึงช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงให้กับคุณสาว ๆ ทำให้บรรเทาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพผู้หญิงอื่น ๆ ได้
* ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นหลังจากการคลอดบุตร
ในตำรับยาแผนไทยก็ยังใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียในการทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นด้วย โดยจากการทดลองในหนูเมาส์พบว่า สารสกัดจากว่านชักมดลูกช่วยเพิ่มน้ำหนักและปริมาณไกลโคเจนสะสมของมดลูก กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุมดลูกชั้นต่าง ๆ ทำให้เกิดการแบ่งตัว และทำให้เยื่อบุมดลูกมีความหนามากยิ่งขึ้น ช่วยให้มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น ซ้ำยังมีผลกระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุช่องคลอดด้วย
* บรรเทาอาการวัยทอง
ผู้หญิงวัยทองจะมีภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก่อให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ แสบร้อนผิวหนัง หงุดหงิด เสี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูง ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และอาจเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ดังนั้น ไฟโตเอสโตรเจนในว่านชักมดลูกตัวเมียจึงช่วยเสริมเอสโตรเจนให้สตรีวัยทองได้
อีกทั้งยังพบว่า ว่านชักมดลูกตัวเมียมีสารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นเทียบเท่าวิตามินซี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ดีต่อระบบประสาท นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยรักษาและซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจด้วย
* ลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
จากการทดลองพบว่า สารโฟราซิโตฟีโนนในว่านชักมดลูกมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี และเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากขึ้น ด้วยสรรพคุณว่านชักมดลูกในข้อนี้จึงช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
* ลดไขมันในเลือด
การวิจัยพบว่า สารสกัดว่านชักมดลูกด้วยเอทิลอะซิเตทช่วยลดไขมันในเลือดได้ โดยมีส่วนช่วยลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เข้าไปในตับและเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหาร จากนั้นร่างกายจะขับออกมาพร้อมอุจจาระ
* ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้น
ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นในว่านชักมดลูกมีส่วนช่วยให้ผนังหลอดเลือดในหนูทดลองที่ถูกทำให้มีอาการวัยทองแข็งแรงขึ้น โดยพบว่า ว่านชักมดลูกสามารถป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น และยังช่วยต้านการอักเสบได้อีกด้วย
* ป้องกันโรคกระดูกพรุน
เมื่อทำการทดลองใช้ว่านชักมดลูกในหนูที่ถูกตัดรังไข่ พบว่า หนูที่กินสารสกัดจากว่านชักมดลูกตัวเมียติดต่อกัน 5 สัปดาห์ สามารถป้องกันการสูญเสียแคลเซียม และรักษาระดับความหนาแน่นของมวลกระดูกได้ดีเท่ากับหนูที่กินเอสโตรเจน นอกจากนี้ยังทำให้ขนาดมดลูกของหนูทดลองโตขึ้นน้อยกว่ากลุ่มที่กินเอสโตรเจนด้วย
* ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม
จากการนำเอาสารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ที่แยกได้จากว่านชักมดลูกตัวเมียมาทดลองในหลอดทดลอง พบว่า สารดังกล่าวมีกระบวนการต้านออกซิเดชั่น ที่สามารถป้องกันเซลล์เรตินาของตาถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดความสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
อย่างไรก็ตาม การวิจัยยังเป็นการทดลองในสัตว์เท่านั้น ยังไม่มีรายงานการทดลองในมนุษย์ จึงยังไม่ทราบถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมไปถึงขนาดและวิธีใช้ที่เหมาะสมกับการรักษา
ว่านชักมดลูก กินยังไง
นอกจากควรจะต้องแน่ใจว่าว่านชักมดลูกที่ใช้เป็นว่านชักมดลูกตัวเมียแล้ว ยังมีข้อแนะนำในการกินว่านชักมดลูกอื่น ๆ อีก เช่น ควรเลือกว่านชักมดลูกที่เก็บในฤดูแล้ง ประมาณเดือน 11 แรม 1 ค่ำ ไปถึงกลางเดือน 3 เพราะถ้าเก็บตอนฝนตก สรรพคุณว่านชักมดลูกจะน้อย ใช้รักษาไม่ค่อยได้ผล
ทั้งนี้การต้มว่านชักมดลูกควรต้มจนฟองยุบลงจึงจะใช้ได้ แต่หากไม่ต้มจนฟองยุบอาจทำให้กินแล้วมีอาการเมาเบื่อ และหากจะใช้ว่านชักมดลูกเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ แม่หลังคลอดต้องรอให้มีน้ำนมก่อนจึงจะใช้ได้
ว่านชักมดลูก ผลข้างเคียงมีไหม
ผลข้างเคียงของว่านชักมดลูก อาจยังไม่พบความเป็นพิษที่แน่ชัด แต่มีข้อจำกัด ดังนี้
- อาจมีอาการเมาเบื่อ
- กินต่อเนื่องนาน ๆ อาจมีอาการช่องคลอดแห้ง ผิวแห้ง เนื่องจากว่านชักมดลูกเป็นยาร้อน
- ไม่ควรกินติดต่อกันทุกวัน หรือกินปริมาณมากจนเกินไป ควรกินเมื่อมีอาการตามข้อบ่งชี้เท่านั้น
ว่านชักมดลูก ผู้ชายกินได้ไหม
แม้สรรพคุณของว่านชักมดลูกจะน่าสนใจกับทุกเพศ แต่แนะนำว่าผู้ชายไม่ควรกินว่านชักมดลูก เพราะมีรายงานว่า ว่านชักมดลูกอาจก่อให้เกิดการเป็นหมันในหนูแรทเพศผู้ ดังนั้น ผู้ชายจึงไม่ควรกินว่านชักมดลูกให้เสี่ยงต่อการเป็นหมัน
ใครไม่ควรกินว่านชักมดลูก
- สตรีมีครรภ์
- เด็กหรือวัยรุ่น เพราะอาจทำให้อวัยวะสืบพันธุ์พัฒนาได้ไม่เต็มที่
- ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือมีปัญหาท่อน้ำดีอุดตัน เพราะว่านชักมดลูกจะกระตุ้นการหลั่งน้ำดี ทำให้ปวดท้อง
ย้ำกันอีกทีว่าไม่ควรกินว่านชักมดลูกต่อเนื่องนาน ๆ เพราะในตำรับยาโบราณก็กินว่านชักมดลูกในช่วงที่มีอาการ เมื่อหายก็หยุดกิน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรกินว่านชักมดลูกภายใต้การดูแลของเภสัชกรหรือแพทย์ และหากมีโรคประจำตัว หรือต้องรับประทานยาอะไรอยู่ตลอด ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ว่านชักมดลูกหรือสมุนไพรใด ๆ ก็ตาม
ขอบคุณข้อมูลจาก
, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
ว่านชักมดลูกเป็นพืชในวงศ์ขิง จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับขมิ้นชัน มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ว่านชักมดลูกเป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร มีใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะใบเป็นรูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก ขนาดใบกว้าง 15-20 เซนติเมตร ยาว 40-90 เซนติเมตร ดอกว่านชักมดลูกจะเป็นช่อเชิงลด ออกดอกบริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15-20 เซนติเมตร กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง ส่วนผลว่านชักมดลูกเป็นผลแห้ง สามารถแตกได้
อย่างไรก็ดี ว่านชักมดลูกที่ขายทั่วไปนั้นพบว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดหลัก ๆ คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย หรือ Curcuma comosa Roxb. และว่านชักมดลูกตัวผู้อีก 2 ชนิด คือ C. elata Roxb. และ C. latifolia Rosc. ทั้งที่จริงแล้วสรรพคุณว่านชักมดลูกตัวเมียเท่านั้นที่จะให้ฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้หญิง ส่วนว่านชักมดลูกตัวผู้ ไม่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน อีกทั้งยังมีพิษต่อตับ ไต ม้าม ไม่ควรนำมารับประทาน ดังนั้น เราจึงควรแยกว่านชักมดลูกตัวเมียและว่านชักมดลูกตัวผู้ให้ออก
ว่านชักมดลูกตัวผู้ ว่านชักมดลูกตัวเมียดูอย่างไร
ความแตกต่างของว่านชักมดลูกตัวผู้ และว่านชักมดลูกตัวเมีย สามารถแยกได้จากลักษณะเด่น ๆ ดังนี้
ว่านชักมดลูก สรรพคุณดียังไง
ถ้าพูดถึงสรรพคุณของว่านชักมดลูก ก็อย่างที่พอรู้กันว่าเป็นสมุนไพรเพื่อสตรี แต่นอกจากนี้ว่านชักมดลูกยังมีสรรพคุณอื่น ๆ ด้วย ตามนี้เลย
* รักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ
ในตำรับยาไทยจะใช้เหง้าว่านชักมดลูกตัวเมียแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ บรรเทาอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน รวมไปถึงรักษาอาการตกขาว เนื่องจากงานวิจัยในไทยสันนิษฐานว่า ว่านชักมดลูกน่าจะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) โดยทางการแพทย์จะเรียกสารนี้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งแปลได้ว่า สารที่ได้จากพืชในธรรมชาติ ที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนในร่างกายมนุษย์ ดังนั้น จึงช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงให้กับคุณสาว ๆ ทำให้บรรเทาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพผู้หญิงอื่น ๆ ได้
* ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นหลังจากการคลอดบุตร
ในตำรับยาแผนไทยก็ยังใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียในการทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นด้วย โดยจากการทดลองในหนูเมาส์พบว่า สารสกัดจากว่านชักมดลูกช่วยเพิ่มน้ำหนักและปริมาณไกลโคเจนสะสมของมดลูก กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุมดลูกชั้นต่าง ๆ ทำให้เกิดการแบ่งตัว และทำให้เยื่อบุมดลูกมีความหนามากยิ่งขึ้น ช่วยให้มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น ซ้ำยังมีผลกระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุช่องคลอดด้วย
* บรรเทาอาการวัยทอง
ผู้หญิงวัยทองจะมีภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก่อให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ แสบร้อนผิวหนัง หงุดหงิด เสี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูง ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และอาจเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ดังนั้น ไฟโตเอสโตรเจนในว่านชักมดลูกตัวเมียจึงช่วยเสริมเอสโตรเจนให้สตรีวัยทองได้
อีกทั้งยังพบว่า ว่านชักมดลูกตัวเมียมีสารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นเทียบเท่าวิตามินซี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ดีต่อระบบประสาท นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยรักษาและซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจด้วย
* ลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
จากการทดลองพบว่า สารโฟราซิโตฟีโนนในว่านชักมดลูกมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี และเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากขึ้น ด้วยสรรพคุณว่านชักมดลูกในข้อนี้จึงช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
* ลดไขมันในเลือด
การวิจัยพบว่า สารสกัดว่านชักมดลูกด้วยเอทิลอะซิเตทช่วยลดไขมันในเลือดได้ โดยมีส่วนช่วยลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เข้าไปในตับและเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหาร จากนั้นร่างกายจะขับออกมาพร้อมอุจจาระ
* ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้น
ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นในว่านชักมดลูกมีส่วนช่วยให้ผนังหลอดเลือดในหนูทดลองที่ถูกทำให้มีอาการวัยทองแข็งแรงขึ้น โดยพบว่า ว่านชักมดลูกสามารถป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น และยังช่วยต้านการอักเสบได้อีกด้วย
* ป้องกันโรคกระดูกพรุน
เมื่อทำการทดลองใช้ว่านชักมดลูกในหนูที่ถูกตัดรังไข่ พบว่า หนูที่กินสารสกัดจากว่านชักมดลูกตัวเมียติดต่อกัน 5 สัปดาห์ สามารถป้องกันการสูญเสียแคลเซียม และรักษาระดับความหนาแน่นของมวลกระดูกได้ดีเท่ากับหนูที่กินเอสโตรเจน นอกจากนี้ยังทำให้ขนาดมดลูกของหนูทดลองโตขึ้นน้อยกว่ากลุ่มที่กินเอสโตรเจนด้วย
* ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม
จากการนำเอาสารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ที่แยกได้จากว่านชักมดลูกตัวเมียมาทดลองในหลอดทดลอง พบว่า สารดังกล่าวมีกระบวนการต้านออกซิเดชั่น ที่สามารถป้องกันเซลล์เรตินาของตาถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดความสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
อย่างไรก็ตาม การวิจัยยังเป็นการทดลองในสัตว์เท่านั้น ยังไม่มีรายงานการทดลองในมนุษย์ จึงยังไม่ทราบถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมไปถึงขนาดและวิธีใช้ที่เหมาะสมกับการรักษา
ว่านชักมดลูก กินยังไง
นอกจากควรจะต้องแน่ใจว่าว่านชักมดลูกที่ใช้เป็นว่านชักมดลูกตัวเมียแล้ว ยังมีข้อแนะนำในการกินว่านชักมดลูกอื่น ๆ อีก เช่น ควรเลือกว่านชักมดลูกที่เก็บในฤดูแล้ง ประมาณเดือน 11 แรม 1 ค่ำ ไปถึงกลางเดือน 3 เพราะถ้าเก็บตอนฝนตก สรรพคุณว่านชักมดลูกจะน้อย ใช้รักษาไม่ค่อยได้ผล
ทั้งนี้การต้มว่านชักมดลูกควรต้มจนฟองยุบลงจึงจะใช้ได้ แต่หากไม่ต้มจนฟองยุบอาจทำให้กินแล้วมีอาการเมาเบื่อ และหากจะใช้ว่านชักมดลูกเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ แม่หลังคลอดต้องรอให้มีน้ำนมก่อนจึงจะใช้ได้
ว่านชักมดลูก ผลข้างเคียงมีไหม
ผลข้างเคียงของว่านชักมดลูก อาจยังไม่พบความเป็นพิษที่แน่ชัด แต่มีข้อจำกัด ดังนี้
- อาจมีอาการเมาเบื่อ
- กินต่อเนื่องนาน ๆ อาจมีอาการช่องคลอดแห้ง ผิวแห้ง เนื่องจากว่านชักมดลูกเป็นยาร้อน
- ไม่ควรกินติดต่อกันทุกวัน หรือกินปริมาณมากจนเกินไป ควรกินเมื่อมีอาการตามข้อบ่งชี้เท่านั้น
ว่านชักมดลูก ผู้ชายกินได้ไหม
แม้สรรพคุณของว่านชักมดลูกจะน่าสนใจกับทุกเพศ แต่แนะนำว่าผู้ชายไม่ควรกินว่านชักมดลูก เพราะมีรายงานว่า ว่านชักมดลูกอาจก่อให้เกิดการเป็นหมันในหนูแรทเพศผู้ ดังนั้น ผู้ชายจึงไม่ควรกินว่านชักมดลูกให้เสี่ยงต่อการเป็นหมัน
ใครไม่ควรกินว่านชักมดลูก
- สตรีมีครรภ์
- เด็กหรือวัยรุ่น เพราะอาจทำให้อวัยวะสืบพันธุ์พัฒนาได้ไม่เต็มที่
- ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือมีปัญหาท่อน้ำดีอุดตัน เพราะว่านชักมดลูกจะกระตุ้นการหลั่งน้ำดี ทำให้ปวดท้อง
ย้ำกันอีกทีว่าไม่ควรกินว่านชักมดลูกต่อเนื่องนาน ๆ เพราะในตำรับยาโบราณก็กินว่านชักมดลูกในช่วงที่มีอาการ เมื่อหายก็หยุดกิน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรกินว่านชักมดลูกภายใต้การดูแลของเภสัชกรหรือแพทย์ และหากมีโรคประจำตัว หรือต้องรับประทานยาอะไรอยู่ตลอด ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ว่านชักมดลูกหรือสมุนไพรใด ๆ ก็ตาม
ขอบคุณข้อมูลจาก
, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ