"ไปวิ่งกัน"
เดี๋ยวนี้แทบทุกอาทิตย์จะมีงานวิ่งตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย เพราะไม่ว่าใครที่ได้ลอง ก็เป็นอันหลงเสน่ห์การวิ่งทั้งนั้น นอกจากได้ความฟินจากกการออกเหงื่อ ยังดีต่อสุขภาพ ทั้งช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ และช่วยให้การทำงานของหัวใจ ปอดดีขึ้น
เดี๋ยวนี้แทบทุกอาทิตย์จะมีงานวิ่งตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย เพราะไม่ว่าใครที่ได้ลอง ก็เป็นอันหลงเสน่ห์การวิ่งทั้งนั้น นอกจากได้ความฟินจากกการออกเหงื่อ ยังดีต่อสุขภาพ ทั้งช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ และช่วยให้การทำงานของหัวใจ ปอดดีขึ้น
อย่างไรก็ตามการวิ่งก็เหมือนการออกกำลังกายประเภทอื่นที่มีข้อพึงระวัง เพราะการวิ่งโดยปราศจากความรู้เป็นอาหารเสริม อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ตรงข้ามจากที่หวัง ซึ่งวันนี้เราได้คุณหมอภัทรภณ อติเมธิน แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ประจำคลินิกการวิ่ง โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท ช่วยมาอธิบายวิธีการวิ่งให้ได้สุขภาพที่ดีอย่างแท้จริง
ออกกำลังกล้ามเนื้อด้วยเพื่อการวิ่งที่ดีอย่างแท้จริง
การออกกำลังกล้ามเนื้อคือ การออกกำลังเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เช่น การทำ Body Weight อย่างการเขย่งปลายเท้าเพื่อสร้างกล้ามเนื้อน่องที่แข็งแรง หรือการกางขาออกด้านข้างแล้วยกขึ้นลงเพื่อสร้างกล้ามเนื้อสะโพกด้านข้าง ซึ่งเหล่านี้สามารถทำที่ไหนก็ได้ด้วยตัวเอง
รู้จักตัวเองก่อนออกวิ่ง
การเตรียมร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการรู้จักร่างกายของเราเองให้ดีก่อน เพราะมันคือพาหนะที่จะนำเราไปสู่เส้นชัย ซึ่งคุณหมอภัทรภณได้ชี้แนะไว้ดังนี้
การเร่งทำความเร็ว และความตื่นเต้น ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติ Sympathetic ทำงานมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วและทำงานหนักขึ้น เมื่อร่วมกับการเสียเหงื่อ เสียเกลือแร่ และความร้อน ทำให้โรคที่อาจซ่อนอยู่ในคนนั้น ๆ เช่น โรคหัวใจ ปะทุออกมา นำไปสู่หัวใจขาดเลือดฉับพลัน หรือ กระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง
"คนที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมัน โรคหัวใจ คนที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ คนอายุมาก และไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อน รวมไปถึงคนที่เคยมีอาการผิดปกติทางร่างกาย เช่น แน่นหน้าอก ควรตรวจร่างกายก่อนตัดสินใจออกกำลังกาย" คุณหมอภัทรภณย้ำ
สัญญาณเตือนหลังออกสตาร์ท
อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนมากไม่รู้ว่า ร่างกายมีความผิดปกติแอบแฝงอยู่ กว่าจะรู้ก็เมื่อลงสนาม และกลายเป็นเรื่องสายเกินแก้ ดังนั้นคุณหมอภัทรภณจึงอธิบายถึงสัญญาณอันตรายของร่างกายที่เราต้องระวัง
"ถ้าเหนื่อยผิดปกติ จากที่เคยทำแล้วไม่เหนื่อยกลับเหนื่อยมาก แน่นหน้าอก ใจสั่น รู้สึกหวิว ๆ หน้ามืด ปวดร้าวถึงหัวไหล่ ต้องระวังให้มาก เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจก็ได้ หรือถ้าเห็นใครมีอาการลอย ๆ วิ่งเซไปมา หอบเหนื่อยผิดปกติ พูดด้วยไม่รู้เรื่อง ก็ให้ระวังเหมือนกัน"
CPR เรื่องต้องรู้ของนักวิ่ง
สุดท้ายคุณหมอยังฝากเรื่องการศึกษาวิธี CPR หรือวิธีการกู้ชีพเบื้องต้นเอาไว้ว่า เป็นเรื่องที่อยากให้นักวิ่งทุกคนรู้ไว้ เพราะอาจได้ใช้ช่วยเพื่อนร่วมสนามด้วยกัน ซึ่งคุณหมอได้อธิบายเอาไว้ในคลิปต่อไปนี้อย่างละเอียด ลองดูไว้ เพื่อร่วมสร้างสนามวิ่งที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนกัน
เมื่อความรู้พร้อม ร่างกายพร้อม หลังจากนี้คงเป็นเรื่องของการหาสนามวิ่ง เราขอแนะนำให้คุณรู้จักสนามวิ่ง Thai Health Day Run งานวิ่งที่เหมาะกับคนทุกเพศ ทุกวัย ใส่ใจเรื่องสุขภาพ และความคุ้มค่า เพราะเราอยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี หันมาวิ่งกันเป็นประจำ สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ไปดูที่ thaihealthdayrun