เผยรูปชวนขนลุก เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร พร้อมการตอบคำถามที่ชวนสงสัย ใครมีโอกาสจะเป็นบ้าง และถ้าเป็นแล้ว จะรักษาอย่างไร
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงษ์ ได้โพสต์ภาพเนื้องอกในมดลูกที่มีขนาดใหญ่มาก โดยเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร และมีการแชร์ออกไป 4,200 ครั้ง พร้อมกับมีหลายคนมาแชร์ประสบการณ์เรื่องการรักษา อาการ และการผ่าตัด ซึ่งพบว่า มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคนี้
ทั้งนี้ นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงษ์ แพทย์เจ้าของโพสต์ ได้ออกมาให้ความรู้ และตอบคำถาม 5 ข้อ ดังนี้
1. เราจะเป็นโรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกไหม
2. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะเป็นโรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
3. เราจะเป็นมะเร็งหรือไม่
4. หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร
5. ควรไปพบแพทย์หรือไม่
1. เราจะเป็นโรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกไหม
2. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะเป็นโรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
คำตอบ : จะต้องมีการวินิจฉัยเพื่อดูว่า
มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ คือต้องดูประวัติ ตรวจร่างกาย
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยประวัติของคนที่ต้องตรวจเนื้องอกมดลูก
จะมาจาก
- ประจำเดือนผิดปกติ อาจจะเกิดจากการที่ประจำเดือนมาเยอะ หรือเลือดออกผิดปกติ
- อาการที่ก้อนเนื้อโต แล้วไปกดอวัยวะต่าง ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ
จนปัสสาวะบ่อย หรือไปกดลำไส้ จนท้องผูก บางคนไปกดจนท่อไต ก็ทำให้ไตบวม
และเกิดอาการปวดเอว ปวดหลัง
- มีอาการตั้งครรภ์ยาก ตั้งครรภ์แล้วมีปัญหา
- การตรวจร่างกาย ก็พอจะบอกได้ แต่เนื้องอกในมดลูกมีหลายตำแหน่ง
มีหลายขนาด การตรวจภายในบางครั้งไม่สามารถบอกได้ชัดเจน
ก้อนที่จะเริ่มคลำได้ จะเหมือนคนท้องประมาณ 3 เดือน หรือประมาณ 4-5 ซม.
แต่หากก้อนเนื้อไปอยู่ในโพรงมดลูก จะคลำไม่ได้
ภาพจาก Olarik Musigavong
คำตอบ : ก้อนเหล่านี้ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยมาก แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเป็นมะเร็งเลย ประมาณ 0.1-0.3% ประมาณ 1,000 คน จะมีโอกาสเป็น 1 คน และต้องมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ก้อนเนื้อโตเร็ว ก้อนเนื้อเจอในคนแก่
4. หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร
คำตอบ : การรักษาจะเป็นไปตาม 3 อ. คือ อาการ อายุ และอยากมีลูก
- อายุ : อายุน้อยหรืออายุมาก จะเป็นตัวแปรสำคัญว่า จะต้องรักษาอย่างไร
- อยากมีลูก : คนไข้อายุน้อยแล้วยังคงอยากมีลูก หรืออายุมากแล้วไม่อยากมีลูกหรือไม่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวแปรผัน
การรักษาเป็นไปได้หลายแบบ ทั้งการใช้และไม่ใช้ยา หากใช้ยาก็มีทั้งยาฉีด ยากิน การผ่าตัดทั้งแบบเปิดหน้าท้อง ผ่าตัดส่องกล้อง
5. ควรไปพบแพทย์หรือไม่
คำตอบ : เรื่องแบบนี้ควรมาพบแพทย์ หากผู้หญิงมัวแต่เขินอายจะไม่หายจากโรค