เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ล้างมือ กลายเป็นของจำเป็นตั้งแต่โควิด 19 ระบาด แต่ใช้บ่อย ๆ จนผิวแห้ง มือลอก แบบนี้ใช่อาการแพ้แอลกอฮอล์ล้างมือไหม แล้วจะแก้อาการแพ้แอลกอฮอล์ยังไงได้บ้าง
ยุคนี้ความสะอาดของมือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ดังนั้นแอลกอฮอล์ล้างมือเลยกลายเป็นไอเทมที่ขาดไม่ได้ ต้องพกติดกระเป๋าเวลาไปข้างนอก หรือต้องเดินทาง ไม่สะดวกจะล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ทว่าสำหรับบางคน การใช้แอลกอฮอล์ล้างมือกับผิวหนังก็อาจก่อให้เกิดการแพ้ มีอาการระคายเคืองกับผิวหนัง อย่างที่เห็นว่ามีคนใช้เจลล้างมือ แล้วมือลอก ผื่นขึ้น หรือหลังใช้แอลกอฮอล์ล้างมือแล้วรู้สึกว่าผิวแห้งตึง แล้วอาการที่ว่ามาทั้งหมดจะใช่อาการแพ้แอลกอฮอล์ล้างมือหรือไม่ ลองมาเช็กกันเลย
แพ้แอลกอฮอล์ล้างมือ เจลล้างมือ อาการเป็นยังไง
การใช้แอลกอฮอล์ล้างมือไม่ว่าจะในรูปแบบเจลล้างมือหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ สารที่มักจะก่อให้เกิดการแพ้ก็คือตัวแอลกอฮอล์เอง และน้ำหอมที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่อาจมีอาการผิวแห้งตึงบ้าง หากใช้บ่อย ๆ แต่บางคนก็อาจมีอาการระคายเคืองหรือแพ้ที่ผิวหนัง โดยมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้
- ผิวแห้งแตก
- ผิวหนังเป็นขุย
- มีผื่นแดง (อาจคันหรือไม่คันก็ได้)
ทั้งนี้ อาการแพ้แอลกอฮอล์ล้างมือมักจะไม่รุนแรง แต่จะมีอาการเฉพาะที่ ส่วนใหญ่จะมีอาการแพ้ในบริเวณผิวที่สัมผัสกับแอลกอฮอล์ล้างมือ ส่วนบางรายที่มีอาการเป็นแผล หรือเล็บล่อน นั่นอาจเป็นผลจากการที่ล้างมือด้วยสบู่ และแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง จนผิวสูญเสียความชุ่มชื้น และเกิดอาการคันจนต้องเกา ส่งผลให้เกิดแผลตามมา ซึ่งวิธีป้องกันก็ไม่ยาก เพียงหมั่นบำรุงมือด้วยโลชั่น หรือแฮนด์ครีม (ชนิดที่ปราศจากน้ำหอม หรือสำหรับผิวแพ้ง่าย) บ่อย ๆ และควรทาโลชั่นหลังล้างมือทุกครั้ง
- ผิวแห้งแตก
- ผิวหนังเป็นขุย
- มีผื่นแดง (อาจคันหรือไม่คันก็ได้)
ทั้งนี้ อาการแพ้แอลกอฮอล์ล้างมือมักจะไม่รุนแรง แต่จะมีอาการเฉพาะที่ ส่วนใหญ่จะมีอาการแพ้ในบริเวณผิวที่สัมผัสกับแอลกอฮอล์ล้างมือ ส่วนบางรายที่มีอาการเป็นแผล หรือเล็บล่อน นั่นอาจเป็นผลจากการที่ล้างมือด้วยสบู่ และแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง จนผิวสูญเสียความชุ่มชื้น และเกิดอาการคันจนต้องเกา ส่งผลให้เกิดแผลตามมา ซึ่งวิธีป้องกันก็ไม่ยาก เพียงหมั่นบำรุงมือด้วยโลชั่น หรือแฮนด์ครีม (ชนิดที่ปราศจากน้ำหอม หรือสำหรับผิวแพ้ง่าย) บ่อย ๆ และควรทาโลชั่นหลังล้างมือทุกครั้ง
วิธีทดสอบการแพ้แอลกอฮอล์ล้างมือ
ผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองทุกชนิด รวมไปถึงแอลกอฮอล์ล้างมือทั้งแบบเจลและสเปรย์ สามารถนำมาทดสอบการแพ้ได้ ด้วยการทาหรือฉีดบริเวณผิวหนังใต้ท้องแขน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง หากไม่มีอาการระคายเคืองก็ใช้ต่อได้ แต่หากมีอาการแพ้แม้เพียงหนึ่งอาการ ควรหยุดใช้ทันที
แพ้แอลกอฮอล์ล้างมือ ป้องกันได้ไหม
สำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่าย ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะแพ้แอลกอฮอล์ล้างมือไหม ก็อาจเลือกใช้แอลกอฮอล์ล้างมือที่ปราศจากน้ำหอมดูก่อน เพราะสารที่ทำให้แพ้ก็คือแอลกอฮอล์เอง และน้ำหอมที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์นี่แหละค่ะ หรือจะลองทำเจลล้างมือเองก็ได้ แต่ทั้งนี้ก็อย่าลืมทดสอบอาการแพ้กับผิวหนังด้วยนะ
- 5 สูตรทำเจลล้างมือด้วยตัวเอง กับส่วนผสมไม่กี่อย่าง
และหากพบว่าเจลล้างมือ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือชนิดไหนที่เราสามารถใช้ได้โดยไม่มีอาการแพ้ ให้พกติดตัวไว้ตลอด เวลาเดินทางไปที่ไหน หรือต้องเข้าห้าง เข้าอาคาร ขึ้นรถไฟฟ้า ก็หยิบเจลล้างมือที่พกไว้ออกมาใช้แทน เพราะเราไม่รู้ว่าแอลกอฮอล์ล้างมือที่วางอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ มีส่วนประกอบอะไรที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือไม่
ส่วนคนที่แพ้แอลกอฮอล์จริง ๆ ใช้แบบไหนก็ไม่รอด แนะนำให้หยุดใช้แอลกอฮอล์ล้างมือ แล้วเปลี่ยนมาทำความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่แทน หรือในกรณีจำเป็นต้องใช้แอลกอฮอล์ล้างมือ เราอาจต้องพกทิชชูเปียกไว้เช็ดมืออีกที หรือหากเจอน้ำสะอาดควรรีบล้างมือหลังใช้แอลกอฮอล์ล้างมือด้วย
ผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองทุกชนิด รวมไปถึงแอลกอฮอล์ล้างมือทั้งแบบเจลและสเปรย์ สามารถนำมาทดสอบการแพ้ได้ ด้วยการทาหรือฉีดบริเวณผิวหนังใต้ท้องแขน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง หากไม่มีอาการระคายเคืองก็ใช้ต่อได้ แต่หากมีอาการแพ้แม้เพียงหนึ่งอาการ ควรหยุดใช้ทันที
แพ้แอลกอฮอล์ล้างมือ ป้องกันได้ไหม
สำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่าย ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะแพ้แอลกอฮอล์ล้างมือไหม ก็อาจเลือกใช้แอลกอฮอล์ล้างมือที่ปราศจากน้ำหอมดูก่อน เพราะสารที่ทำให้แพ้ก็คือแอลกอฮอล์เอง และน้ำหอมที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์นี่แหละค่ะ หรือจะลองทำเจลล้างมือเองก็ได้ แต่ทั้งนี้ก็อย่าลืมทดสอบอาการแพ้กับผิวหนังด้วยนะ
- 5 สูตรทำเจลล้างมือด้วยตัวเอง กับส่วนผสมไม่กี่อย่าง
และหากพบว่าเจลล้างมือ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือชนิดไหนที่เราสามารถใช้ได้โดยไม่มีอาการแพ้ ให้พกติดตัวไว้ตลอด เวลาเดินทางไปที่ไหน หรือต้องเข้าห้าง เข้าอาคาร ขึ้นรถไฟฟ้า ก็หยิบเจลล้างมือที่พกไว้ออกมาใช้แทน เพราะเราไม่รู้ว่าแอลกอฮอล์ล้างมือที่วางอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ มีส่วนประกอบอะไรที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือไม่
ส่วนคนที่แพ้แอลกอฮอล์จริง ๆ ใช้แบบไหนก็ไม่รอด แนะนำให้หยุดใช้แอลกอฮอล์ล้างมือ แล้วเปลี่ยนมาทำความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่แทน หรือในกรณีจำเป็นต้องใช้แอลกอฮอล์ล้างมือ เราอาจต้องพกทิชชูเปียกไว้เช็ดมืออีกที หรือหากเจอน้ำสะอาดควรรีบล้างมือหลังใช้แอลกอฮอล์ล้างมือด้วย
ไม่ใช้แอลกอฮอล์ล้างมือ แล้วจะป้องกันโควิด 19 ยังไงได้บ้าง
ในกรณีที่แพ้แอลกอฮอล์ล้างมือทุกชนิด จะป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ยังไงดี เรามีแนวทางดี ๆ มาแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก ด้วยมือ เพื่อป้องกันเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
2. หลีกเลี่ยงการใช้มือจับอาหารในทุกกรณี
3. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้บ่อยเท่าที่จะมีโอกาส โดยล้างให้ทั่วบริเวณมือและข้อมือ และอย่าลืมบำรุงมือด้วยโลชั่นหรือแฮนด์ครีมด้วย
4. สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ทุกครั้งที่ต้องออกไปข้างนอก
5. เว้นระยะห่างจากสังคมอย่างน้อย 2 เมตร
6. หลีกเลี่ยงการสัมผัสจุดเสี่ยงสะสมเชื้อโรค
- 10 จุดสะสมโคโรนาไวรัส สัมผัสบ่อยเสี่ยงติด COVID-19
7. หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ชุมชน ที่มีคนแออัด หรือพยายามอยู่บ้านให้มากที่สุด
อาการแพ้แอลกอฮอล์ล้างมือส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงนัก แต่สำหรับเคสที่มีอาการแพ้มาก มือลอก เป็นแผล ดูท่าจะลุกลาม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยด่วนนะคะ เพราะอาจเสี่ยงภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เฟซบุ๊ก ผู้บริโภค
โรงพยาบาลขอนแก่น ราม
ในกรณีที่แพ้แอลกอฮอล์ล้างมือทุกชนิด จะป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ยังไงดี เรามีแนวทางดี ๆ มาแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก ด้วยมือ เพื่อป้องกันเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
2. หลีกเลี่ยงการใช้มือจับอาหารในทุกกรณี
3. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้บ่อยเท่าที่จะมีโอกาส โดยล้างให้ทั่วบริเวณมือและข้อมือ และอย่าลืมบำรุงมือด้วยโลชั่นหรือแฮนด์ครีมด้วย
4. สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ทุกครั้งที่ต้องออกไปข้างนอก
5. เว้นระยะห่างจากสังคมอย่างน้อย 2 เมตร
6. หลีกเลี่ยงการสัมผัสจุดเสี่ยงสะสมเชื้อโรค
- 10 จุดสะสมโคโรนาไวรัส สัมผัสบ่อยเสี่ยงติด COVID-19
7. หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ชุมชน ที่มีคนแออัด หรือพยายามอยู่บ้านให้มากที่สุด
อาการแพ้แอลกอฮอล์ล้างมือส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงนัก แต่สำหรับเคสที่มีอาการแพ้มาก มือลอก เป็นแผล ดูท่าจะลุกลาม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยด่วนนะคะ เพราะอาจเสี่ยงภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เฟซบุ๊ก ผู้บริโภค
โรงพยาบาลขอนแก่น ราม