จีนเจอโรคระบาดอีกระลอก โดยครั้งนี้เป็นโรคไวรัสเห็บ หรือ โรค SFTS เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าว่าโรคนี้เป็นยังไง อันตรายแค่ไหน
ไวรัสเห็บ โรคระบาดรอบใหม่ในจีน ที่ทำให้หลายคนโอดว่าปีนี้ไม่อ่อนโยนต่อจิตใจเลย เพราะยังไม่ทันได้ก้าวพันโควิด 19 ก็มีไวรัสระบาดซ้ำมาอีกแล้ว แต่อย่าเพิ่งห่อเหี่ยวกันไป ลองมาทำความรู้จักไวรัสเห็บ หรือ โรค SFTS (Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome) คือโรคอะไรกันแน่ และที่ผ่านมาเคยพบการระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยหรือไม่
ไวรัสเห็บคืออะไร
ไวรัสเห็บ มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า SFTS virus ซึ่งย่อมาจากชื่อโรค Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Bunyavirus โดยมีเห็บสายพันธุ์ Haemaphysalis longicornis เป็นพาหะ และเป็นเชื้อไวรัสที่ถูกค้นพบมากว่า 10 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่พบมากในประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น แต่ในปี 2020 การแพร่ระบาดดูจะค่อนข้างหนักในคน เลยเกิดความกังวลกันมากขึ้น
ไวรัสเห็บ เกิดจากอะไร
ชื่อของไวรัสเห็บก็บอกค่อนข้างชัดว่าโรคนี้เกิดจากเห็บที่อยู่ในตัวสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสัตว์ป่า โดยมีรังโรคมาจากแพะ แกะ หมู วัว ควาย ไก่ หนู สุนัข และนกบางชนิด แต่ไวรัสตัวนี้มีพันธุกรรมเป็น RNA ซึ่งมีความสามารถในการแยกเป็นสายพันธุ์ใหม่เมื่อไปติดกับสัตว์ที่ต่างชนิดกันได้ ดังนั้นการระบาดของไวรัสเห็บจึงอยู่ในวงกว้าง หมายถึงแฝงอยู่ในตัวสัตว์ได้หลายชนิด
อย่างไรก็ตาม ในไทยยังไม่พบการเกิดโรคนี้ และยังไม่เคยพบว่าสุนัขหรือแมวในบ้านเรามีเชื้อไวรัสเห็บ Haemaphysalis longicornis แต่เคยมีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสเห็บจากสัตว์ที่นำเข้ามา เช่น วัว เป็นต้น
ไวรัสเห็บติดต่อยังไง
การติดไวรัสเห็บเกิดจากการถูกเห็บที่มีเชื้อกัด (แต่บางคนซักประวัติก็ไม่พบว่าโดนเห็บกัด เพราะไม่รู้ตัวว่าโดน) หรือการสัมผัสเลือดที่ติดเชื้อไวรัส SFTS แต่ทั้งนี้หลักฐานในปัจจุบันก็บ่งชี้ว่า การแพร่เชื้อไวรัสเห็บจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้ ผ่านทางเลือด บาดแผล และสารคัดหลั่ง แต่คงจะไม่แพร่ได้ง่ายและรวดเร็วเหมือนโควิด 19 เพราะไม่ใช่โรคติดต่อทางเดินหายใจ ทว่าการระบาดของไวรัสเห็บในปี 2020 ก็มีอัตราการตายที่สูงแบบไม่ปกติ ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ไปก่อน
ไวรัสเห็บ อาการเป็นอย่างไร
อาการของโรค SFTS จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะ คือ
1. ระยะไข้
ในช่วงสัปดาห์แรก ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง นาน 5-11 วัน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว และอาจพบเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวลดลงในระยะนี้ด้วย
2. ระยะอวัยวะต่าง ๆ ทำงานผิดปกติ
เมื่อถึงช่วงประมาณวันที่ 5 ของโรค อาจพบว่าอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยทำงานผิดปกติไป เช่น ตับ หัวใจ ปอด ไต มีอาการเลือดออก หรืออาจพบอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น สับสน ชักเกร็ง และค่าเกล็ดเลือดยังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
3. ระยะฟื้นตัว
หากผ่านพ้น 2 ระยะแรกมาได้ ประมาณวันที่ 11-19 ของโรคอาการจะดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ เริ่มกลับมาเป็นปกติ และจะใช้เวลาฟื้นตัวราว ๆ 2-4 สัปดาห์
ไวรัสเห็บ อันตรายแค่ไหน
หากมีอาการรุนแรงมาก รักษาไม่ทัน ผู้ป่วยอาจอวัยวะล้มเหลว เสียชีวิตได้ โดยอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้ในปีก่อน ๆ จะอยู่ที่ราว ๆ 5% อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2563 พบผู้ป่วยในมณฑลเจียงซู และมณฑลหูหนาน ประเทศจีน ประมาณ 60 คน ซึ่งในจำนวนนี้ เสียชีวิตไปแล้ว 7 ราย เท่ากับมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 10% จึงเป็นที่สงสัยว่า ไวรัส SFTS ที่ระบาดอยู่นี้อาจจะเป็นสายพันธุ์ใหม่หรือไม่ ซึ่งต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป
แต่ก็อย่าเพิ่งตระหนก เพราะโรคนี้ติดต่อกันไม่ง่ายเหมือนโควิด 19 และบางคนติดเชื้อก็รักษาหายได้เอง ไม่มีอาการรุนแรง โดยปัจจุบันในวงการแพทย์ยังเชื่ออยู่ว่า ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อไวรัสที่ร่างกายรับเข้าไป
ไวรัสเห็บ รักษายังไง
ต้องบอกว่ายังไม่มียารักษาไวรัสชนิดนี้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงทำได้เพียงรักษาไปตามอาการของผู้ป่วยแต่ละรายเท่านั้น และปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสเห็บด้วย
ไวรัสเห็บ ป้องกันได้ไหม
เมื่อพาหะของโรคมาจากเห็บ ก็ควรหลีกเลี่ยงการโดนเห็บกัด โดยพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสสุนัข หรือแมวจรจัด หรือสัตว์อื่นที่ไม่คุ้นเคย ไม่รู้แหล่งที่มา และหากเลี้ยงสัตว์อยู่ ก็ควรเลี้ยงระบบปิด พร้อมกับฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ให้สัตว์เลี้ยงอย่างครบถ้วน หรือถ้าเดินทางเข้าป่า ไร่นา
นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยในพื้นที่มีหญ้าขึ้นรกสูง เลี่ยงการเดินป่า และให้สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดไม่เผยผิวให้ง่ายต่อการถูกเห็บกัด
ที่สำคัญหลักการสวมหน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนใครช้อนมัน และอยู่ห่างจากกัน ยังคงเป็นวิธีป้องกันโรคติดต่อที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแม้โควิด 19 จะเบาบางลงแล้ว ก็อย่าการ์ดตก และอย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก Virology and Cell Technology Lab - BIOTEC, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, หมอสายดาร์ก
ไวรัสเห็บ มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า SFTS virus ซึ่งย่อมาจากชื่อโรค Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Bunyavirus โดยมีเห็บสายพันธุ์ Haemaphysalis longicornis เป็นพาหะ และเป็นเชื้อไวรัสที่ถูกค้นพบมากว่า 10 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่พบมากในประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น แต่ในปี 2020 การแพร่ระบาดดูจะค่อนข้างหนักในคน เลยเกิดความกังวลกันมากขึ้น
ไวรัสเห็บ เกิดจากอะไร
ชื่อของไวรัสเห็บก็บอกค่อนข้างชัดว่าโรคนี้เกิดจากเห็บที่อยู่ในตัวสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสัตว์ป่า โดยมีรังโรคมาจากแพะ แกะ หมู วัว ควาย ไก่ หนู สุนัข และนกบางชนิด แต่ไวรัสตัวนี้มีพันธุกรรมเป็น RNA ซึ่งมีความสามารถในการแยกเป็นสายพันธุ์ใหม่เมื่อไปติดกับสัตว์ที่ต่างชนิดกันได้ ดังนั้นการระบาดของไวรัสเห็บจึงอยู่ในวงกว้าง หมายถึงแฝงอยู่ในตัวสัตว์ได้หลายชนิด
อย่างไรก็ตาม ในไทยยังไม่พบการเกิดโรคนี้ และยังไม่เคยพบว่าสุนัขหรือแมวในบ้านเรามีเชื้อไวรัสเห็บ Haemaphysalis longicornis แต่เคยมีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสเห็บจากสัตว์ที่นำเข้ามา เช่น วัว เป็นต้น
ไวรัสเห็บติดต่อยังไง
การติดไวรัสเห็บเกิดจากการถูกเห็บที่มีเชื้อกัด (แต่บางคนซักประวัติก็ไม่พบว่าโดนเห็บกัด เพราะไม่รู้ตัวว่าโดน) หรือการสัมผัสเลือดที่ติดเชื้อไวรัส SFTS แต่ทั้งนี้หลักฐานในปัจจุบันก็บ่งชี้ว่า การแพร่เชื้อไวรัสเห็บจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้ ผ่านทางเลือด บาดแผล และสารคัดหลั่ง แต่คงจะไม่แพร่ได้ง่ายและรวดเร็วเหมือนโควิด 19 เพราะไม่ใช่โรคติดต่อทางเดินหายใจ ทว่าการระบาดของไวรัสเห็บในปี 2020 ก็มีอัตราการตายที่สูงแบบไม่ปกติ ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ไปก่อน
ไวรัสเห็บ อาการเป็นอย่างไร
อาการของโรค SFTS จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะ คือ
1. ระยะไข้
ในช่วงสัปดาห์แรก ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง นาน 5-11 วัน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว และอาจพบเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวลดลงในระยะนี้ด้วย
2. ระยะอวัยวะต่าง ๆ ทำงานผิดปกติ
เมื่อถึงช่วงประมาณวันที่ 5 ของโรค อาจพบว่าอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยทำงานผิดปกติไป เช่น ตับ หัวใจ ปอด ไต มีอาการเลือดออก หรืออาจพบอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น สับสน ชักเกร็ง และค่าเกล็ดเลือดยังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
3. ระยะฟื้นตัว
หากผ่านพ้น 2 ระยะแรกมาได้ ประมาณวันที่ 11-19 ของโรคอาการจะดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ เริ่มกลับมาเป็นปกติ และจะใช้เวลาฟื้นตัวราว ๆ 2-4 สัปดาห์
ไวรัสเห็บ อันตรายแค่ไหน
หากมีอาการรุนแรงมาก รักษาไม่ทัน ผู้ป่วยอาจอวัยวะล้มเหลว เสียชีวิตได้ โดยอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้ในปีก่อน ๆ จะอยู่ที่ราว ๆ 5% อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2563 พบผู้ป่วยในมณฑลเจียงซู และมณฑลหูหนาน ประเทศจีน ประมาณ 60 คน ซึ่งในจำนวนนี้ เสียชีวิตไปแล้ว 7 ราย เท่ากับมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 10% จึงเป็นที่สงสัยว่า ไวรัส SFTS ที่ระบาดอยู่นี้อาจจะเป็นสายพันธุ์ใหม่หรือไม่ ซึ่งต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป
แต่ก็อย่าเพิ่งตระหนก เพราะโรคนี้ติดต่อกันไม่ง่ายเหมือนโควิด 19 และบางคนติดเชื้อก็รักษาหายได้เอง ไม่มีอาการรุนแรง โดยปัจจุบันในวงการแพทย์ยังเชื่ออยู่ว่า ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อไวรัสที่ร่างกายรับเข้าไป
ไวรัสเห็บ รักษายังไง
ต้องบอกว่ายังไม่มียารักษาไวรัสชนิดนี้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงทำได้เพียงรักษาไปตามอาการของผู้ป่วยแต่ละรายเท่านั้น และปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสเห็บด้วย
ไวรัสเห็บ ป้องกันได้ไหม
เมื่อพาหะของโรคมาจากเห็บ ก็ควรหลีกเลี่ยงการโดนเห็บกัด โดยพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสสุนัข หรือแมวจรจัด หรือสัตว์อื่นที่ไม่คุ้นเคย ไม่รู้แหล่งที่มา และหากเลี้ยงสัตว์อยู่ ก็ควรเลี้ยงระบบปิด พร้อมกับฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ให้สัตว์เลี้ยงอย่างครบถ้วน หรือถ้าเดินทางเข้าป่า ไร่นา
นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยในพื้นที่มีหญ้าขึ้นรกสูง เลี่ยงการเดินป่า และให้สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดไม่เผยผิวให้ง่ายต่อการถูกเห็บกัด
ที่สำคัญหลักการสวมหน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนใครช้อนมัน และอยู่ห่างจากกัน ยังคงเป็นวิธีป้องกันโรคติดต่อที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแม้โควิด 19 จะเบาบางลงแล้ว ก็อย่าการ์ดตก และอย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก Virology and Cell Technology Lab - BIOTEC, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, หมอสายดาร์ก