ต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian gland) คือ ต่อมไขมันเล็ก ๆ ที่เรียงอยู่บริเวณโคนขนตาเป็นแนวยาว ตั้งฉากกับเปลือกตา โดยที่เปลือกตาบนจะมีต่อมไขมันจำนวน 30-40 ต่อม เปลือกตาล่างมี 20-30 ต่อม คอยทำหน้าที่ขับไขมันที่มีลักษณะสีเหลืองใสออกมาเคลือบผิวนอกของกระจกตา ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำตาและรักษาสมดุล ทำให้ตาของเรามีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
ทว่าหากต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ ไขมันที่สร้างออกมามีลักษณะขุ่นและเหนียวข้น น้ำมันจะออกจากท่อได้ยากและลดลง จนกระทั่งเกิดการอุดตัน ทำให้ชั้นของน้ำตาไม่คงตัว ขาดความเสถียร น้ำตาก็จะระเหยง่าย ส่งผลให้เกิดภาวะตาแห้ง โดยในส่วนของไขมันที่เหนียวข้นขึ้นนั้นก็จะแข็งเป็นคราบเกาะแน่นอยู่บริเวณขอบเปลือกตา ทำให้เกิดการระคายเคืองตาและเพิ่มโอกาสการติดเชื้อทั้งจากแบคทีเรียและการเพิ่มจำนวนไรที่ขนตาด้วย
1. โรคทางกาย
2. โรคทางดวงตา
3. จ้องจอนาน ๆ
4. มลภาวะในอากาศ
5. การใช้เครื่องสำอางแต่งตา
6. ผลข้างเคียงจากยา
7. ไรที่ขนตา (Demodex)
1. รู้สึกเคืองตามาก
2. แพ้แสง
3. แสบตา
4. น้ำตาไหล
5. รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา
6. มีระดับความชัดเจนของการมองเห็นลดลง
1. หยอดน้ำตาเทียม
2. การดูแลเปลือกตา
วิธีดูแลเปลือกตาเพื่อรักษาต่อมไขมันเปลือกตาอุดตัน มีขั้นตอนดังนี้
* ล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้ง
* ประคบอุ่นบนเปลือกตาทั้ง 2 ข้างด้วยผ้าขนหนูบิดหมาด หรืออุปกรณ์ให้ความร้อนอื่น ๆ ด้วยความร้อนประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส นาน 10-15 นาที เพื่อให้ไขมันในต่อมไขมันที่เปลือกตาอ่อนตัวลง
* ใช้นิ้วมือนวดเปลือกตาในตำแหน่งชิดขอบตาทั้งบนและล่าง โดยนวดช้า ๆ จากหัวตาไปหางตา ทำติดต่อกันจำนวน 5 ครั้ง
* เช็ดคราบสกปรกที่ขอบเปลือกตาด้วยไม้พันสำลี หรือล้างเปลือกตาโดยหลับตา และใช้แชมพูเด็กอ่อนผสมน้ำให้เจือจางขยี้เบา ๆ บนเปลือกตาบริเวณโคนขนตาทั้งบนและล่าง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
3. รักษาด้วยการหยอดยาปฏิชีวนะ
4. รักษาด้วยการกินยา
5. รับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3
6. รักษาด้วยเครื่องมือเฉพาะ
เราสามารถป้องกันไม่ให้ต่อมไขมันเปลือกตาอุดตัน แค่ปรับพฤติกรรม ดังนี้
1. ใช้สายตาให้ลดลง
2. กะพริบตาบ่อย ๆ
3. หลีกเลี่ยงการโต้ลม หรือที่ที่มีฝุ่นควันเยอะ ๆ
4. หากมีอาการตาแห้ง ควรหยอดน้ำตาเทียม
5. พยายามหลีกเลี่ยงการแต่งปลือกตาด้วยเครื่องสำอาง หรือหากแต่งต้องทำความสะอาดเปลือกตาให้สะอาดทุกครั้ง
6. รักษาความสะอาดของเปลือกตา และรักษาสุขอนามัยของตัวเองให้ดี
หากสังเกตได้ถึงความผิดปกติของดวงตา อย่าทำเฉย ควรรีบไปเช็กกับจักษุแพทย์ว่าเราเสี่ยงเป็นโรค หรือมีภาวะผิดปกติอะไรไหม เพราะดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย หาอะไหล่เปลี่ยนไม่ได้ง่าย ๆ นะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สภากาชาดไทย, ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, โรงพยาบาลพญาไท, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย