1. ท่อน้ำตาอุดตันโดยกำเนิด
2. ท่อน้ำตาอุดตันจากสาเหตุอื่น
เราสามารถสังเกตอาการท่อน้ำตาอุดตันได้ ดังนี้
1. อาการตาแฉะ มีน้ำตาเอ่อในตา หรือน้ำตาหยด ต้องซับตลอดเวลา
2. น้ำตาเอ่อในตาจนเริ่มมีอาการมองเห็นไม่ชัด
3. รู้สึกเคืองตาตลอดเวลา
4. หากมีอาการอุดตันที่ท่อน้ำตาในตอนปลายของทางเดินน้ำตา หรืออุดตันไปถึงถุงน้ำตา และเกิดการหมักหมมของเชื้อโรค อาจมีอาการดังนี้
- มีอาการอักเสบบวมแดงบริเวณหัวตา
- มีขี้ตามาก ขี้ตาเป็นสีเหลืองเขียวปนมูก
- เมื่อกดบริเวณที่บวมแดงจะมีหนองไหลออกมา และอาการบวมจะลดลง
- หากเป็นหนักจะมีอาการปวด บวม ร้อน และเจ็บ ลักษณะเหมือนฝี และหากตุ่มบวมแตกจะมีหนองและน้ำตาไหลออกมา
วิธีรักษาท่อน้ำตาอุดตัน สามารถทำได้ดังนี้
1. รักษาด้วยยา
2. รักษาด้วยลวดแยงท่อน้ำตา
3. การผ่าตัด
การผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตันเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลมากที่สุด โดยแพทย์จะพิจารณาการอุดตันของท่อน้ำตาก่อนว่าเกิดบริเวณไหนถึงไหน จากนั้นจึงจะเลือกวิธีผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยผ่าตัดเปิดแผลบริเวณด้านข้างของจมูก เพื่อระบายท่อน้ำตาและเย็บแผล ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ หรือวิธีผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตันแบบส่องกล้อง โดยแพทย์จะผ่าตัดโดยใช้กล้องขนาดเล็กใส่เข้าไปด้านในจมูกเพื่อเปิดท่อระบายน้ำตา ซึ่งวิธีนี้จะไม่เกิดแผลเป็นและทำให้ผู้ป่วยฟื้นได้เร็ว
ทั้งนี้ ในบางกรณีแพทย์อาจผ่าตัดเอาถุงน้ำตาที่อักเสบออก โดยไม่ทำท่อน้ำตาใหม่ผ่านลงสู่จมูก ซึ่งผู้ป่วยจะมีน้ำตาไหลออกนอกตา ต้องคอยซับน้ำตาตลอดเวลา ทว่าเวลาผ่านไป ร่างกายจะปรับตัวและผลิตน้ำตาลดลง ช่วยให้ใช้ชีวิตได้อย่างไม่ลำบากมากนัก
1. พบจักษุแพทย์
2. หยอดยาและรับประทานยาปฏิชีวนะตามคำสั่งแพทย์ เพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อ
3. นวดบริเวณถุงน้ำตา โดยทำวันละ 4-5 ครั้ง
4. ผู้ป่วยที่จักษุแพทย์ทำทางเดินน้ำตาให้ใหม่ หลังผ่าตัดจะมีสายยางเล็ก ๆ บริเวณท่อน้ำตากับโพรงจมูก ซึ่งอาจต้องคาไว้ 3-6 เดือน ผู้ป่วยต้องไม่ขยับหรือดึงสายออก ถ้าหลุดให้บอกแพทย์ หรือรีบกลับมาพบแพทย์
5. ไม่ควรล้างหน้า แต่สามารถใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดได้ โดยห้ามเช็ดสายยางบริเวณตา
6. หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีน้ำตาไหลออกมาเอง ให้มาพบแพทย์ เพราะอาจเกิดการอุดตันของท่อน้ำตาอีก
7. หลีกเลี่ยงฝุ่นละอองต่าง ๆ ไม่ให้เข้าตา
8. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
9. พักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างไรก็ตาม ในเด็กทารก ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการของเด็ก หากพบว่าตาแฉะผิดปกติควรรีบพามาพบแพทย์ทันที เพราะหากพบในระยะแรก ๆ ตั้งแต่ยังเล็กจะรักษาได้ง่าย บางรายอาจไม่จำเป็นต้องรักษาเลย แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้จนถึงอายุ 4 ขวบ การรักษาจะซับซ้อนยิ่งขึ้น รวมไปถึงผู้ใหญ่ที่มีอาการน้ำตาไหลผิดปกติก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์และทำการรักษาโดยเร็วเช่นกันนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี