โรคปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ทำไมถึงทำให้ชา
เช็กอาการปลายประสาทอักเสบ เป็นแบบนี้แหละใช่
อาการชาโดยทั่วไปมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย แค่นั่งอยู่ท่าเดิมนาน ๆ ก็ทำให้รู้สึกชาได้เหมือนกัน แล้วต้องชาแบบไหนล่ะที่เป็นอาการบ่งชี้ว่าเกิดจากปลายประสาทอักเสบ ลองเช็กกันเลย
- ชาปลายมือ ปลายเท้า
- เจ็บร้าวเหมือนมีดบาด
- ชาปนอาการปวดแสบปวดร้อน
- เจ็บแปล๊บ ๆ เหมือนไฟช็อต
- ชาปนอาการเจ็บจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม
- ในผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า ร่วมกับภาวะโลหิตจาง ซีด หรือมีอาการรับรู้ผิดปกติ อันเป็นผลข้างเคียงจากยารักษาเบาหวาน (Metformin)
- ในคนที่มีอาการรุนแรงและเป็นมานาน อาจมีปัญหาแขน ขาอ่อนแรง ร่วมกับมีอาการปวด และเสียการทรงตัว หรือความดันโลหิตแปรปรวนอันเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ
อาการชาจากปลายประสาทอักเสบ อะไรคือปัจจัยเสี่ยง
โรคปลายประสาทอักเสบเกิดได้จากสาเหตุด้วยกัน โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ที่อาจทำให้คนบางกลุ่มมีโอกาสป่วยได้มากขึ้น
- ภาวะขาดวิตามินบี 1 บี 6 บี 12 จากพฤติกรรมรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ หรือรับประทานเมนูเดิมซ้ำ ๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทได้ง่าย
- ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ หรืออาหารเจ เป็นเวลานาน อาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจนมีภาวะขาดวิตามินบี 12 เนื่องจากวิตามินบี 12 จะพบได้จากเนื้อสัตว์ ไข่ เป็นต้น
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นสาเหตุหลักของโรคปลายประสาทอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นจะไปทำลายเส้นประสาท และอีกสาเหตุหนึ่ง คือจากได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาเมตฟอร์มิน (Metformin) ที่ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ใช้ยานี้เป็นประจำในระยะเวลานาน จะมีระดับวิตามินบี 12 ลดลงผิดปกติ เสี่ยงต่อภาวะขาดวิตามินบี 12 ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้าได้
- ผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารได้น้อยลง จากปัญหาสุขภาพฟัน ภาวะเบื่ออาหาร หรือความเจ็บป่วยที่ทำให้รับประทานอาหารลำบาก รวมทั้งความเสื่อมของร่างกายที่ส่งผลให้ดูดซึมวิตามินได้ลดลง
- พฤติกรรมอยู่ในอิริยาบถเดิมนาน ๆ ไม่ว่าจะท่านั่งหรือท่ายืน รวมไปถึงการใช้มือถือ ใช้คอมพิวเตอร์บ่อย ๆ ซึ่งจะทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ
- คนที่ดื่มสุราเป็นประจำ มีภาวะติดสุรา หรือเป็นผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง เนื่องจากแอลกอฮอล์มีส่วนทำลายเส้นใยประสาท
- เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บและเสียหาย เนื่องจากการบาดเจ็บของร่างกาย หรือประสบอุบัติเหตุ
- การป่วยด้วยโรคทางภูมิคุ้มกัน เช่น โรครูมาตอยด์ โรค SLE รวมทั้งการติดเชื้อไวรัส การสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ หรือการมีเนื้องอกและมะเร็งบางชนิดเกิดขึ้นที่เส้นประสาทหรือไปกดทับเส้นประสาทได้
- ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง, ผู้ที่รักษาโรคอ้วนด้วยการผ่าตัด, ผู้ป่วยฟอกไต, ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดในระบบทางเดินอาหาร ที่มีปัญหาด้านการดูดซึมอาหาร
รู้ทัน รักษาไว ไม่ปวดชาเรื้อรัง
ดังนั้น หากใครมีอาการชาบ่อย ๆ หรือรู้ตัวว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคนี้ก็ควรต้องสังเกตตัวเองอยู่เสมอ ยิ่งตรวจพบเร็ว รักษาได้เร็วยิ่งดี เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้อาการอาจรุนแรงจนกินยาไม่หาย ต้องรักษาด้วยการกายภาพบำบัด กระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า หรือถึงขั้นผ่าตัด ซึ่งจะเจ็บตัวและมีค่าใช้จ่ายตามมาเรื่อย ๆ แต่สำหรับคนที่เพิ่งมีอาการชาเริ่มต้น ยังสามารถดูแลตัวเองโดยปรับพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อบรรเทาและป้องกันการกลับมาเป็นได้ด้วยวิธีเหล่านี้
- เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ อย่าอยู่ในท่าเดิมซ้ำ ๆ เช่น นั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ในท่าที่ไม่เหมาะสม หรือจับโทรศัพท์มือถือทั้งวัน เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อเส้นใยประสาท
- พยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงโรคอ้วนที่นำมาสู่โรคเบาหวาน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและอาการแทรกซ้อนอย่างอาการชา
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการที่ดี ส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงไม่เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ
- รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงปลายประสาทในปริมาณที่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีวิตามินบี 1 บี 6 บี 12 ที่จำเป็นต่อการบำรุงระบบประสาท และเพิ่มประสิทธิภาพการส่งกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาท ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บและชาตามปลายมือปลายเท้าได้
ถ้าแคร์เส้นประสาท อย่าขาดวิตามินบี 12
วิตามินบี 1 บี 6 บี 12 ล้วนมีส่วนช่วยในการดูแลระบบประสาทด้วยกันทั้งนั้น *จากการศึกษาต่าง ๆ พบว่า โรคปลายประสาทอักเสบนั้นมีสาเหตุจากหลายปัจจัยร่วม การรักษาด้วยการให้วิตามินบีแบบแยกชนิดนั้นมีประสิทธิภาพด้อยกว่าการรักษาด้วยการเสริมวิตามินบี 1 บี 6 และบี 12 ร่วมกันทั้งสามชนิด
แต่สำหรับบางคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะขาดวิตามินบี 12 โดยเฉพาะ เช่น ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับประทานยาเมตฟอร์มิน (Metformin) ควรจะได้รับวิตามินบี 12 ในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากวิตามินบี 12 จะมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูประสาทที่เสียหายได้อย่างตรงจุด โดยทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในกระบวนการต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้าง ฟื้นฟู เส้นประสาทและปลอกหุ้มปลายประสาท ช่วยในการสร้างและซ่อมแซมไมอีลิน ชีท (Myelin Sheath) ซึ่งทำให้การเดินทางและความเร็วของกระแสประสาทเป็นไปตามปกติ รวมไปถึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงด้วย
ดังนั้น ถ้าอยากดูแลเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดปัญหาสุขภาพอย่างอาการชา ก็ควรรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์ ตับ หอย เป็ด ไก่ ไข่ นม ชีส ปลาทู ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในคนที่มีอาการชาซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่ามีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินบี 12 หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะขาดวิตามินบี 12 การรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจไม่ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินเพียงพอที่จะรักษาอาการปลายประสาทอักเสบ จึงต้องเสริมด้วยวิตามินบี 12 ในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาท พร้อมบรรเทาอาการปลายประสาทอักเสบที่เป็นอยู่ให้มีโอกาสหายเป็นปกติได้มากขึ้น
แค่ใส่ใจระบบประสาทของเราด้วยการเสริมวิตามินบี 12 ให้ร่างกายอย่างเพียงพอ ร่วมกับการออกกำลังกาย จัดเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม และลดพฤติกรรมที่ทำลายเส้นประสาท อาการชาก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป เท่านี้ก็กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง
และสำหรับใครที่พบอาการชาผิดปกติเกิดขึ้น แล้วสงสัยว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบหรือไม่ ก็อย่าปล่อยผ่าน สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นได้ที่บูธกิจกรรม “Nerve Check Activation” ตามร้านขายยาทั่วไป โดยตรวจสอบตารางวัน เวลา สถานที่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook อย่าเฉย เมื่อเกิดอาการชา ซึ่งนอกจากจะมีสาระความรู้เกี่ยวกับอาการชาแล้ว ยังมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโรคปลายประสาทอักเสบ พร้อมวิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร วิตามินที่ได้รับ และท่าบริหารร่างกาย NeuroMove (นิวโรมูฟ) ด้วยนะคะ
ใส่ใจคนที่คุณรัก อย่าเฉย เมื่อเกิดอาการชา
#อย่าเฉยเมื่อเกิดอาการชา #Careyournerve #VitaminB12
ขอบคุณข้อมูลจาก
สสส.
เฟซบุ๊ก อายุศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
เฟซบุ๊ก อย่าเฉย เมื่อเกิดอาการชา
เฟซบุ๊ก อย่าเฉย เมื่อเกิดอาการชา
โรงพยาบาลเปาโล
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล