เพราะผู้ป่วยโควิด 19 มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีแนวโน้มต้องรอเตียงนานกว่าเดิม บางคนก็จำเป็นต้องรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) ทำให้เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาเป็นอีกหนึ่งไอเทมขายดีในช่วงนี้ ทั้งซื้อไว้ใช้ที่บ้าน หรือซื้อไปบริจาคให้สถานพยาบาลต่าง ๆ เนื่องจากเจ้าเครื่องนี้สามารถสร้างออกซิเจนบริสุทธิ์ให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะโควิดลงปอด จนค่าออกซิเจนในเลือดลดลงเหลือต่ำกว่า 96% จึงเป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาทุกคนไปรู้จักกับเครื่องผลิตออกซิเจนว่าทำงานอย่างไร ใครบ้างที่จำเป็นต้องใช้ รวมถึงแนะนำแบรนด์เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา ในราคาไม่เกิน 20,000 บาทด้วยค่ะ1. เครื่องผลิตออกซิเจนแบบ Continuous Flow
2. เครื่องผลิตออกซิเจนแบบ Pulse Dose
ต่างกันอย่างไร
แม้ว่าทั้งสองอุปกรณ์จะถูกออกแบบมาเพื่อให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจ และช่วยรักษาระดับออกซิเจนให้คงที่ แต่ทั้งสองก็มีข้อแตกต่างกันดังนี้
- เครื่องผลิตออกซิเจน : ใช้งานง่าย แค่เสียบปลั๊ก เปิดเครื่องก็ใช้งานได้ทันที ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า เพราะเป็นการซื้อครั้งเดียวแล้วใช้งานได้ยาว ๆ แต่ก็มีข้อเสียคือ ต้องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ ถ้าไฟดับก็ไม่สามารถใช้ได้ และไม่สามารถใช้ในระหว่างการเดินทางได้ เพราะเครื่องถูกออกแบบมาให้ใช้กับไฟบ้านเท่านั้น จึงจำเป็นจะต้องมีถังออกซิเจนสำรองเตรียมเอาไว้ในกรณีฉุกเฉินด้วย
- ถังออกซิเจน : ให้ออกซิเจนที่บริสุทธิ์กว่า โดยมีความเข้มข้นอยู่ที่ประมาณ 99% (ในขณะที่เครื่องผลิตออกซิเจนให้ได้สูงสุดที่ 93-96%) ใช้งานบนรถหรือระหว่างการเดินทางได้ เพราะมีหลายขนาด หลายความจุ เคลื่อนย้ายได้สะดวก แต่ก็มีปัญหาเรื่องสิ้นเปลือง เพราะต้องคอยเติมออกซิเจนอยู่บ่อย ๆ และเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า
ในการใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความยินยอมและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น โดยผู้ป่วยที่สามารถใช้เครื่องนี้ได้ มีดังนี้
-
ผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่น ๆ ที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจไม่สะดวก รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องพ่นยารักษาอาการด้วย
-
ผู้ป่วยที่มีระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่า 85% ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจเร็วและลำบาก ไอแล้วเหนื่อย หรือผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบ
-
ผู้ป่วยเจาะคอที่ต้องใส่หน้ากากครอบคอ หรือใช้อุปกรณ์กระปุกแบบปรับได้
-
เติมน้ำกลั่นทางการแพทย์ หรือสเตอร์ไรด์ (Sterile Water) ลงในกระบอกเก็บความชื้น ในปริมาณกึ่งกลางกระบอก ปิดฝากระบอกให้แน่น แล้วนำไปต่อเข้าตัวเครื่อง
-
ต่อสายแคนนูลา (สายออกซิเจนเสียบจมูก) เข้าที่ทางออกออกซิเจนของตัวเครื่อง และอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับผู้ใช้ เปิดเครื่องทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที เพื่อเป็นการวอร์มเครื่อง
-
หมุนปรับมิเตอร์การไหลของออกซิเจน โดยขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
-
เมื่อใช้งานเสร็จ ให้ถอดสายแคนนูลาออก ปิดเครื่อง และถอดปลั๊ก
-
ควรวางเครื่องให้ห่างจากเปลวไฟ หรืออุปกรณ์ที่อาจทำให้เกิดประกายไฟอย่างน้อย 2 เมตร
-
ระวังไม่ให้เครื่องถูกน้ำหรือสัมผัสกับอากาศชื้น ไม่ควรวางเครื่องไว้ในห้องน้ำ ใกล้สระน้ำ หรือแหล่งน้ำอื่น ๆ ในกรณีที่เครื่องโดนน้ำ ให้รีบปิดเครื่องและถอดปลั๊กออกทันที
-
หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ หรือห้ามสูบบุหรี่ในห้องที่มีการใช้งานเครื่อง
-
ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสเปรย์ในห้องที่มีเครื่องผลิตออกซิเจนกำลังทำงานอยู่ รวมถึงสเปรย์ฉีดผม สเปรย์ฉีดร่างกาย หรือแม้กระทั่งสเปรย์ปรับอากาศด้วย
-
จัดเก็บเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาให้ถูกต้องและเหมาะสมเมื่อต้องเดินทางไปไหนมาไหน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับตัวเครื่อง
-
พยายามอยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี ห้ามปิดกั้นช่องระบายอากาศ เพราะการอุดตันของรูระบายอากาศอาจจะขัดขวางประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องได้
-
ไม่ควรวางเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาติดกับผนังห้องจนเกินไป ควรจะเว้นให้มีช่องว่างห่างจากกำแพงประมาณ 1 ฟุต และไม่ควรวางบนพื้นพรม ฟูก หรือโฟม
-
หมั่นทำความสะอาดเครื่องทั้งภายนอกและภายใน โดยภายนอกอาจจะใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดเช็ด จากนั้นใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดอีกครั้ง และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้ง ส่วนภายในเครื่องก็ควรถอดไส้กรองมาล้างน้ำและผึ่งลมให้แห้ง รวมถึงควรเปลี่ยนไส้กรองใหม่ทุก ๆ 6 เดือนด้วย
-
หากเครื่องมีการทำงานที่ผิดปกติ เช่น ไฟไม่ติด ปรับค่าออกซิเจนไม่ได้ ควรรีบแจ้งแพทย์เพื่อทำการปรับแก้ใหม่ทันที
วิธีเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา
1. ขนาดความจุและอัตราการไหลของออกซิเจน
จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา เพราะขนาดและอัตราการไหล หมายถึง อัตราในการผลิตและเป่าออกซิเจนจากเครื่องส่งไปยังผู้ป่วย โดยเครื่องขนาด 1 ลิตร สามารถใช้งานได้ทั่วไป แต่ถ้าเป็นขนาดตั้งแต่ 3 ลิตรขึ้นไป ต้องได้รับคำแนะนำและอัตราการไหลของออกซิเจนที่เหมาะสมจากแพทย์ก่อน โดยสามารถแบ่งตามความจุของเครื่องได้ดังนี้
-
ขนาด 1 ลิตร : สามารถปรับการไหลแรงลมของออกซิเจนให้เข้าสู่ร่างกายผู้ใช้งานได้สูงสุด 1 ลิตร/นาที เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจ และการนอนหลับ เช่น หายใจไม่สะดวก นอนไม่ค่อยหลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงนัก
-
ขนาด 3 ลิตร : สามารถปรับการไหลแรงลมของออกซิเจนให้เข้าสู่ร่างกายผู้ใช้งานได้สูงสุด 3 ลิตร/นาที มีขนาดกะทัดรัด พกพาไปนอกสถานที่ได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจ หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อย หรือผู้สูงอายุ
-
ขนาด 5 ลิตร : สามารถปรับการไหลแรงลมของออกซิเจนให้เข้าสู่ร่างกายผู้ใช้งานได้สูงสุด 5 ลิตร/นาที ใช้งานได้ทั้งในบ้าน โรงพยาบาล และสามารถพกพาไปบนรถหรือเครื่องบินได้ บางรุ่นมีแบตเตอรี่ในตัวด้วย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเป็นหลัก เช่น โรคหอบเหนื่อย โรคหอบหืด หรือผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องได้รับการติดตามอาการจากโรงพยาบาล
-
ขนาด 8 ลิตร : สามารถปรับการไหลแรงลมของออกซิเจนให้เข้าสู่ร่างกายผู้ใช้งานได้สูงสุด 8 ลิตร/นาที ส่วนใหญ่เป็นแบบตั้งโต๊ะ แต่ก็สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องเจาะคอ หรือผู้ที่ต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ รวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านการหายใจ
-
ขนาด 10 ลิตร : สามารถปรับการไหลแรงลมของออกซิเจนให้เข้าสู่ร่างกายผู้ใช้งานได้สูงสุด 10 ลิตร/นาที เป็นเครื่องผลิตออกซิเจนแรงดันสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เจาะคอ หรือผู้ที่มีอาการโคม่าและต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
2. ความเข้มข้นของออกซิเจน
3. กำลังไฟ
4. น้ำหนัก
5. เสียงรบกวน
6. ฟังก์ชันอื่น ๆ
7. การรับประกันและบริการหลังการขาย
ในราคาไม่เกิน 20,000 บาท
1. เครื่องผลิตออกซิเจน Haier รุ่น HA105
ภาพจาก lazada.co.th
-
กำลังไฟ : 120 วัตต์
-
ระดับเสียง : 40 เดซิเบล
-
ขนาด : 21 x 21.5 x 30.5 เซนติเมตร
-
น้ำหนัก : 5.5 กิโลกรัม
-
ราคาประมาณ : 12,000 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า)
2. เครื่องผลิตออกซิเจน Link Care รุ่น Y007-3W
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Link Care
-
ระดับเสียง : 40 เดซิเบล
-
น้ำหนัก : 12 กิโลกรัม
-
ราคาประมาณ : 13,500 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า)
3. เครื่องผลิตออกซิเจน Yuwell รุ่น 8F-3AW
ภาพจาก yuwellthailand.com
-
กำลังไฟ : 230 วัตต์
-
ระดับเสียง : 46 เดซิเบล
-
ขนาด : 48.5 x 34 x 60 เซนติเมตร
-
น้ำหนัก : 13.6 กิโลกรัม
-
ราคาประมาณ : 16,900 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า)
4. เครื่องผลิตออกซิเจน CANTA รุ่น VH5-N 5 L.
ภาพจาก cantamedical.com
-
กำลังไฟ : 285 วัตต์
-
ระดับเสียง : <45 เดซิเบล
-
ขนาด : 37.5 x 25.2 x 52 เซนติเมตร
-
น้ำหนัก : 14 กิโลกรัม
-
ราคาประมาณ : 19,500 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า)
5. เครื่องผลิตออกซิเจน KONSUNG รุ่น KSN-5N
ภาพจาก konsung.com
-
กำลังไฟ : 350 วัตต์
-
ระดับเสียง : <50 เดซิเบล
-
ขนาด : 33.5 x 31.5 x 45 เซนติเมตร
-
น้ำหนัก : 16 กิโลกรัม
-
ราคาประมาณ : 18,500 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า)
6. เครื่องผลิตออกซิเจน Longfian รุ่น Jay-5
ภาพจาก longfian.com
-
กำลังไฟ : <550 วัตต์
-
ระดับเสียง : <50 เดซิเบล
-
ขนาด : 37.5 x 36.5 x 60 เซนติเมตร
-
น้ำหนัก : 26 กิโลกรัม
-
ราคาประมาณ : 19,000 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า)
7. เครื่องผลิตออกซิเจน AERTI รุ่น AR-5-N
ภาพจาก aertimedical.en
-
กำลังไฟ : 390 วัตต์
-
ระดับเสียง : <45 เดซิเบล
-
ขนาด : 31.4 x 24 x 51.5 เซนติเมตร
-
น้ำหนัก : 13.9 กิโลกรัม
-
ราคาประมาณ : 19,500 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า)
8. เครื่องผลิตออกซิเจน OWGELS รุ่น OZ-5-01TWO
ภาพจาก owgelsgroup.com
-
กำลังไฟ : 350 วัตต์
-
ระดับเสียง : <50 เดซิเบล
-
ขนาด : 34 x 30 x 65 เซนติเมตร
-
น้ำหนัก : 19 กิโลกรัม
-
ราคาประมาณ : 20,000 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า)
ขอบคุณข้อมูลจาก
oxygenconcentratorstore.com (1), (2)
news18.com
rehabmart.com (1), (2)
apollo247.com
indiatimes.com
precisionmedical.com
เฟซบุ๊ก Link Care
yuwellthailand.com
cantamedical.com
konsung.com
longfian.com
aertimedical.en
owgelsgroup.com