ภาวะซิงค์ในร่างกายต่ำเป็นปัจจัยสำคัญโอกาสเสี่ยงโควิด
จากงานวิจัยล่าสุดในประเทศบราซิล พบว่า ผู้ที่มีระดับซิงค์ในร่างกายต่ำ เมื่อติดเชื้อโควิด-19 จะเกิดอาการหายใจลำบากเฉียบพลันที่รุนแรงมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีระดับซิงค์ปกติถึง 14.4 เท่า (1)
นอกจากนั้นในประเทศอินเดียยังพบว่า ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีระดับซิงค์ต่ำ มีโอกาสเจอภาวะแทรกซ้อนของโรคมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยโควิดที่มีระดับซิงค์ปกติถึง 5.54 เท่า ใช้ระยะเวลาในการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 3.39 เท่า รวมถึงมีอัตราการเสียชีวิตที่มากกว่าถึง 5.48 เท่า
จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ป่วย COVID-19 ที่มีระดับซิงค์ต่ำ มีอาการป่วยรุนแรงกว่าและมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มที่มีระดับซิงค์พออย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการเสริมซิงค์ให้ร่างกายมีซิงค์อย่างเพียงพอเป็นประจำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน
ซิงค์ภายในเซลล์ช่วยป้องกันไวรัสได้อย่างไร ?
ซิงค์ภายในเซลล์มีความสำคัญต่อกระบวนการต้านทานเชื้อไวรัสของร่างกายอย่างมาก เพราะเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายของเรา ไวรัสจะเข้าเกาะกับเซลล์และเข้าไปภายในเซลล์ และบังคับเซลล์นั้นเพิ่มจำนวนไวรัสภายในเซลล์ให้มากขึ้นเป็นหลายเท่าทวีและปล่อยไวรัสมาติดเซลล์ข้างเคียง พร้อมกับสร้างความเสียหายให้กับเซลล์เดิมที่มันอาศัยอยู่
ในทางกลับกัน ถ้าหากร่างกายของเรามีซิงค์ภายในเซลล์เพียงพอ ซิงค์ภายในเซลล์จะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสสามารถเกาะกับผนังเซลล์และเข้ามาในเซลล์ได้ หากไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ ซิงค์ภายในเซลล์จะช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสนั้นไม่ให้แบ่งตัวเพิ่มจำนวนในเซลล์ขึ้นได้
นอกจากนี้ซิงค์ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้สามารถต่อต้านไวรัสที่เข้ามาในร่างกายของเรา โดยกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งในส่วนของ Adaptive และ Innate immunity ได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้ซิงค์ภายในเซลล์จึงมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการป้องกันไวรัสของร่างกาย เพราะสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส และเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อไวรัสของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ ส่งผลให้ลดโอกาสติดเชื้อ หรือเกิดอาการรุนแรงน้อยกว่าเมื่อติดเชื้อไวรัส
ซิงค์ภายในเซลล์คืออะไร แล้วจะหาได้จากไหน
ซิงค์ภายในเซลล์ ก็คือซิงค์ที่อยู่ภายในเซลล์ของเรานั่นเอง แต่ละเซลล์จะมีการดูดซึมสารอาหารเข้าไป หนึ่งในนั้นก็คือแร่ธาตุซิงค์ ซึ่งการที่ซิงค์จะเข้าไปอยู่ในเซลล์ได้นั้น ต้องอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพการดูดซึมได้ดี จึงจะให้ประสิทธิภาพที่ดี
ซิงค์ที่วางขายอยู่ในท้องตลาดนั้นมีให้เลือกทานอย่างหลากหลาย แต่การพิจารณาว่าซิงค์ชนิดใดในท้องตลาดสามารถดูดซึมได้ดีนั้น สามารถดูได้จากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคืองานวิจัยในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงานของอาหารเสริมนั้น ๆ ต่อผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส ว่าให้ผลต่อการรักษาเป็นอย่างไร
กราฟด้านบนที่ปรากฏแสดงผลของการเสริมซิงค์ของควอลิเมดในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก (Dengue) สอดคล้องกับผลที่พบในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส ว่ากลุ่มที่มีการเสริมซิงค์ของควอลิเมดร่วมกับการรักษาตามมาตรฐาน มีระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่รักษาตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียวถึง 22.2 ชั่วโมง หรือ 26.2% (6)
การศึกษาเสริมซิงค์ของควอลิเมดในคนไข้โรคหวัด โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง (Acute Lower Respiratory) โรคปอดบวม (Pneumonia) ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานร่วมกับการเสริมซิงค์ หายจากโรคไวรัสได้เร็วกว่าผู้ป่วยที่รับการรักษาตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว (3-5)
นอกจากนั้นในงานวิจัยในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกยังพบว่า ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการเสริมซิงค์นั้น กลุ่มที่มีระดับซิงค์ปกติตั้งแต่ก่อนติดเชื้อไวรัส มีระยะเวลาที่ใช้รักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (6)
ดังนั้นจะเห็นว่าการเสริมซิงค์ภายในเซลล์ให้เพียงพออย่างสม่ำเสมอ ด้วยผลิตภัณฑ์ซิงค์ของควอลิเมดที่มีงานวิจัยรับรองถึงประสิทธิภาพในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งทั้งในสภาวะทั่ว ๆ ไป และในสภาวะที่เชื้อไวรัสระบาด
สำหรับคนไทยที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้รับประทานซิงค์เป็นประจำวันละ 15 มิลลิกรัม เป็นขนาดที่ปลอดภัยและเพียงพอสำหรับความต้องการของร่างกาย ทั้งนี้ การรับประทานในปริมาณมากกว่านี้จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อความเหมาะสมในการรักษาโรคหรือการฟื้นฟูร่างกาย
สำหรับท่านใดที่ห่วงใยสุขภาพของตนเองและคนที่รัก อาจพิจารณาเลือกอาหารเสริมซิงค์ไปรับประทานเป็นประจำ เพราะเชื้อไวรัสต่างมีอยู่ทุกที่รอบ ๆ ตัวเรา แม้ในยามที่ไม่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 ก็ยังมีไข้เลือดออก หรือปอดบวม ที่มีอัตราการป่วยและเสียชีวิตสูงในแต่ละปี
สำหรับท่านใดที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่
- Facebook : Qualimed Exclusive หรือคลิก m.me/qualimedexclusive
- Line: @qualimedexclusive หรือคลิก https://lin.ee/j2vxyPq
Ref.
- Gonçalves, T.J.M., Gonçalves, S.E.A.B., Guarnieri, A., Risegato, R.C., Guimarães, M.P., de Freitas, D.C., Razuk-Filho, A., Junior, P.B.B. and Parrillo, E.F. (2021), Association Between Low Zinc Levels and Severity of Acute Respiratory Distress Syndrome by New Coronavirus SARS-CoV-2. Nutrition in Clinical Practice, 36: 186-191
- Jothimani D, Kailasam E, Danielraj S, et al. COVID-19: Poor outcomes in patients with zinc deficiency. Int J Infect Dis. 2020;100:343-349
- Rerksuppaphol S, Rerksuppaphol L. A randomized controlled trial of chelated zinc for prevention of the common cold in Thai school children. Paediatr Int Child Health. 2013;33(3):145-50.
- Rerksuppaphol S, Rerksuppaphol L. A randomized controlled trial of zinc supplementation in the treatment of acute respiratory tract infection in Thai children. Pediatr Rep. 2019;11(2):7954.
- Rerksuppaphol L, Rerksuppaphol S. Efficacy of Adjunctive Zinc in Improving the Treatment Outcomes in Hospitalized Children with Pneumonia: A Randomized Controlled Trial. J Trop Pediatr. 2020;66(4):419-27.
- Rerksuppaphol S, Rerksuppaphol L. A Randomized Controlled Trial of Zinc Supplementation as Adjuvant Therapy for Dengue Viral Infection in Thai Children. Int J Prev Med. 2018;9:88.