น้ำมันมะกอกสามารถนำไปทำอาหารได้ทั้งเมนูผัด ทอด หรือทำน้ำสลัด ซึ่งการทำอาหารแต่ละอย่างก็จะใช้น้ำมันมะกอกต่างประเภทกัน โดยชนิดของน้ำมันมะกอกก็จะแบ่งออกตามการสกัด ความบริสุทธิ์ และปริมาณกรดไขมันในน้ำมัน ซึ่งก็จะแบ่งน้ำมันมะกอกได้ 5 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้
1. น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้า เวอร์จิน (Extra-Virgin Olive Oil)
2. น้ำมันมะกอกเวอร์จิน (Virgin Olive Oil)
3. น้ำมันมะกอกผ่านกรรมวิธี (Refined Olive Oil)
4. น้ำมันมะกอกแบบผสม (Pure Olive Oil)
5. น้ำมันมะกอก ชนิดสกัดมาจากกากมะกอก (Olive Pomace Oil)
เป็นน้ำมันมะกอกที่มีคุณภาพไม่สูงนัก สกัดมาจากน้ำมันและกากมะกอกที่ตกค้างอยู่ ผสมกับน้ำมันบริสุทธิ์เล็กน้อยเพื่อปรับปรุงคุณภาพ จึงทำให้มีราคาถูก และเหมาะสำหรับการปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงอย่างเมนูทอด
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ให้ข้อมูลโภชนาการของน้ำมันมะกอกชนิดที่ใช้ปรุงสลัด ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ หรือราว ๆ 14 กรัม ดังนี้
- พลังงาน 124 กิโลแคลอรี
- ไขมันทั้งหมด 14 กรัม
- แคลเซียม 0.14 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.078 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 0.14 มิลลิกรัม
- โซเดียม 0.28 มิลลิกรัม
- โคลีน 0.042 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม
- วิตามินเค 8.43 ไมโครกรัม
- กรดไขมันอิ่มตัวทั้งหมด 1.93 กรัม
- กรดไขมันชนิดอิ่มตัว (SFA 16:0) 1.58 กรัม
- กรดไขมันชนิดอิ่มตัว (SFA 18:0) 0.273 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวทั้งหมด 10.2 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA 16:1) 0.176 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA 18:1) 9.98 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA 20:1) 0.044 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนทั้งหมด 1.47 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA 18:2) 1.37 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA 18:3) 0.107 กรัม
1. มีกรดไขมันดีหลายชนิด ช่วยไล่ไขมันเลว
น้ำมันมะกอกมีสัดส่วนของกรดไขมันดีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fatty acid) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า กรดโอเลอิก (Oleic acid) ซึ่งเป็นไขมันชนิดดีต่อสุขภาพที่มีการศึกษาทางการแพทย์พบว่า มีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะการอักเสบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเซลล์ในร่างกาย
นอกจากนี้ในน้ำมันมะกอกก็ยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fatty acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้เช่นกัน ที่สำคัญน้ำมันมะกอกยังมีสรรพคุณกระตุ้นระดับฮอร์โมนอะดิโพเนคติน (Adiponectin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่สำคัญในการกำจัดไขมันในร่างกาย ซึ่งเป็นการไล่ไขมันเลวออกไปจากร่างกายได้อีกแรง
2. อาจช่วยลดน้ำหนักได้
3. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
4. มีสารต้านการอักเสบที่สำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
สารต้านการอักเสบที่สำคัญดังกล่าวมีชื่อว่า สารโอลีโอแคนทอล (Oleocanthal) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้า เวอร์จิน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บางคนประเมินว่า โอลีโอแคนทอลในน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์พิเศษในปริมาณ 3.4 ช้อนโต๊ะ (50 มล.) จะมีผลคล้ายกันกับ 10% ของปริมาณไอบูโพรเฟนในผู้ใหญ่
สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยอื่น ๆ ที่พบว่า กรดไขมันโอเลอิกในน้ำมันมะกอก มีสรรพคุณต้านการอักเสบที่สำคัญที่ช่วยยับยั้งยีนและโปรตีนชนิดที่กระตุ้นการอักเสบของร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคอัลไซเมอร์ โรคข้ออักเสบ รวมไปถึงโรคอ้วน
5. ช่วยลดความเสี่ยงเส้นเลือดในสมองแตก ตีบ ตัน
6. ช่วยต้านแบคทีเรีย
7. ช่วยบำรุงความจำ
8. ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า
9. ดีต่อสุขภาพตับ
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) บวกกับสารฟีนอลิกที่มีอยู่มากในน้ำมันมะกอก เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยป้องกันการอักเสบของเซลล์ ช่วยป้องกันภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative stress) และยังป้องกันภาวะดื้ออินซูลิน รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำลายตับของเราได้ ดังนั้นใครอยากมีสุขภาพตับที่ดีก็อย่าลืมกินน้ำมันมะกอกกันด้วยนะคะ
และนอกจากประโยชน์ของน้ำมันมะกอกในด้านสุขภาพแล้ว เรายังสามารถใช้น้ำมันมะกอกเสริมความงามได้ด้วยนะ
ในวงการบิวตี้มีการใช้น้ำมันมะกอกบำรุงและดูแลความงามกันมายาวนาน ยกตัวอย่างเช่น
-
ใช้ทาผิวเพิ่มความชุ่มชื้น บำรุงให้ผิวสุขภาพดี
-
ใช้ทำสครับขัดผิว โดยผสมกับน้ำผึ้ง น้ำตาลทรายแดง ช่วยให้ผิวดูเปล่งปลั่ง
-
แช่มือหรือเท้าลงในน้ำมันมะกอก เพื่อช่วยบำรุงมือ เล็บ
-
ผสมน้ำมันมะกอกกับน้ำผึ้ง ไข่แดง แล้วใช้มาสก์หน้า เพื่อให้ใบหน้าดูมีน้ำมีนวล
-
ทาน้ำมันมะกอกที่คิ้วแล้วนวดเบา ๆ 5-10 วัน ทุกวัน ช่วยแก้ปัญหาคิ้วบาง เพราะในน้ำมันมะกอกมีวิตามินที่ช่วยบำรุงขนคิ้วให้แข็งแรงและดกดำ สีเข้มชัดมากยิ่งขึ้น
-
ใช้หมักผม เพิ่มความเงางามและแก้ปัญหาผมชี้ฟู
-
ใช้ล้างเครื่องสำอางที่ติดบนใบหน้า
-
บำรุงริมฝีปากให้นุ่มชุ่มชื้น
นอกจากนี้น้ำมันมะกอกยังถูกนำไปเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางต่าง ๆ เป็นสกินแคร์ดูแลผิวพรรณ ทำเป็นยา หรือสบู่ รวมถึงทำเป็นเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับตะเกียงน้ำมันแบบดั้งเดิมได้อีกด้วย
แม้จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน แต่การรับประทานน้ำมันมะกอกก็มีข้อควรระวัง ดังนี้
-
หากรับประทานมากเกินไปอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ได้ในบางคน
-
หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรระมัดระวังในการกินน้ำมันมะกอก โดยไม่ควรบริโภคน้ำมันมะกอกพียว ๆ แต่สามารถกินน้ำมันมะกอกที่ปรุงในเมนูอาหารได้
-
ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดความดันโลหิต หรือมีภาวะความดันโลหิตต่ำ ควรระมัดระวังการกินน้ำมันมะกอก เพราะน้ำมันชนิดนี้อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ซึ่งอาจไปเสริมฤทธิ์ยาจนความดันโลหิตต่ำเกินเกณฑ์ที่ควรจะเป็น
-
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงที่รับประทานน้ำมันมะกอกด้วย เพราะน้ำมันมะกอกอาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดตกได้
-
ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดควรงดรับประทานน้ำมันมะกอกไปก่อนสัก 2 สัปดาห์ เพราะอาจส่งผลต่อระดับความดันโลหิต
-
การใช้น้ำมันมะกอกกับผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือเกิดภาวะผิวหนังอักเสบได้ในบางคน
บทความที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันมะกอก
- เรื่องน่ารู้ของน้ำมันมะกอกกับการทำอาหาร
- แนะนำน้ำมันมะกอกสำหรับผัด ยี่ห้อไหนดี 2022 มีติดครัวไว้ อร่อยทุกเมนู