สิวเห่อเต็มหน้า เป็น ๆ หาย ๆ ทั้งที่ไม่ใช่วัยรุ่น เช็กซิมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลอยู่หรือเปล่า ?

           เลยวัยรุ่นไปไกล แต่ทำไมสิวยังเห่อเต็มหน้า หรือต้นตอของปัญหาคือฮอร์โมนไม่สมดุล แล้วถ้าเป็นสิวฮอร์โมนจะรักษาอย่างไรดี ?
          สิวเห่อเต็มหน้า เป็นปัญหาที่ผู้หญิงพบได้บ่อย ๆ แม้บางคนจะพ้นวัยรุ่นไปหลายปีแล้ว แต่สิวก็ยังจะโผล่มากวนใจอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงก่อนเป็นประจำเดือนที่มักมีสิวขึ้นตามตัว ตามแผ่นหลัง มาพร้อม ๆ กันด้วย ทั้งที่ก็รักษาความสะอาดขั้นสุด แบบนี้แสดงว่า สิวที่เราเป็นไม่ได้เกิดจากล้างหน้าไม่สะอาด หรือแพ้หน้ากากอนามัยแน่ ๆ เพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลที่เรียกว่า "สิวฮอร์โมน" อยู่ก็ได้ รีบมาเช็กกันดีกว่าค่ะ
สิวฮอร์โมน ต่างจากสิวทั่วไปอย่างไร
สิวฮอร์โมน

          หลายคนอาจสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าสิวที่เห่อเต็มหน้าเป็นสิวฮอร์โมน หรือสิวทั่วไป เอาเป็นว่าสังเกตจากลักษณะของสิวก็ได้ค่ะ โดยหากสิวมีลักษณะอักเสบ เป็นตุ่มแดงขนาดใหญ่ หรือมีสิวเห่อขึ้นบริเวณรอบปาก แก้ม คาง ลำคอ หน้าอก และแผ่นหลัง ซึ่งมักจะเป็นในช่วงก่อนมีประจำเดือน ก็พอจะเดาได้ว่านี่คือ สิวฮอร์โมน 

          ทั้งนี้ ในบางคนอาจมีสิวขึ้นที่เดิมซ้ำ ๆ ร่วมกับหน้ามัน ตัวบวม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หิวบ่อย ปวดท้องน้อย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งเหล่านี้ยังเป็นสัญญาณที่ชัดเจนของอาการก่อนมีประจำเดือน

สิวฮอร์โมน เกิดจากอะไร

          ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าสิวชนิดนี้มีสาเหตุมาจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลนั่นเอง โดยมีปริมาณเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนเพศชาย มากกว่าเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลให้ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมามากกว่าปกติ และเมื่อสิ่งสกปรกมาสัมผัสกับใบหน้าก็ก่อให้เกิดการอุดตันจนกลายเป็นสิวในที่สุด 

          อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวไม่ได้เกิดกับวัยรุ่นเท่านั้น แต่พบได้ทุกช่วงวัยเลย และเจ้าสิวฮอร์โมนตัวร้ายก็รักษาแบบสิวทั่วไปไม่ค่อยได้ผลด้วยนะคะ หรืออาจต้องใช้เวลานานกว่าจะหาย แถมยังจะวนมาเห่อซ้ำได้ใหม่ทุก ๆ รอบเดือน 

How to จัดการสิวฮอร์โมนอย่างไร ไม่ให้กวนใจซ้ำ ๆ
สิวฮอร์โมน

          อย่างที่บอกว่าการรักษาสิวฮอร์โมนจะไม่เหมือนการรักษาสิวทั่วไป เพราะเป็นสิวที่มีต้นตอของปัญหามาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ทว่าวิธีจัดการกับสิวฮอร์โมนก็ไม่ได้ยากจนเกินไปนะคะสาว ๆ ลองมาดูกันเลย
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low GI) เช่น ผักและผลไม้สด ๆ ที่มีกากใย ธัญพืชไม่ขัดสี ลดของหวานต่าง ๆ เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายให้เป็นปกติ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยควรรักษาค่า BMI ให้อยู่ในช่วง 18.5-22.9 กิโลกรัม/เมตร² หรือมีความหนาของรอบเอวไม่เกิน 80 เซนติเมตร เพราะหากอ้วนเกินไปจะทำให้ฮอร์โมนทำงานไม่ปกติ
  • ดูแลรักษาสุขอนามัยให้ดี โดยเฉพาะการล้างหน้า ควรล้างเครื่องสำอางออกให้หมดจด เพื่อลดการอุดตันใต้ชั้นผิวหนังที่เสี่ยงก่อสิวได้
  • พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้สบาย เนื่องจากความเครียดจะเพิ่มความเสี่ยงภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้ง่ายขึ้น
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรอดนอนบ่อย ๆ เพราะการนอนไม่พอจะส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียดมากกว่าปกติ 
          นอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว สาว ๆ ยังสามารถใช้ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลจากต้นเหตุได้เช่นกันค่ะ โดยแนะนำให้เลือก "ยาปรับฮอร์โมน EE30D" ซึ่ง EE30 ก็คือ เอทินิล เอสทราดิออล (Ethinyl Estradiol) หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน ในปริมาณ 30 ไมโครกรัม ส่วน D ก็คือ ดรอสไพรีโนน (Drospirenone) หรือฮอร์โมนโปสเจสเตอโรน ยาชนิดนี้จะเข้าไปออกฤทธิ์ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเพศชาย และเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงเข้าไป จึงช่วยลดปัญหาสิวขึ้นจากภาวะสิวฮอร์โมน อีกทั้งยังช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้น เรียกได้ว่าเป็นยาคุมกำเนิดชนิดที่รับประทานแล้วไม่อ้วนนั่นเอง 
ยาปรับฮอร์โมน EE30D

          คราวนี้ปัญหาหน้ามัน สิวเห่อ การอักเสบของผิวหนังก็จะลดลง นับว่าได้จัดการปัญหาสิวฮอร์โมนที่มากวนใจกันทุก ๆ เดือนได้สักที อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานยาปรับฮอร์โมน ควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้งด้วยนะคะ หรือสามารถศึกษาข้อมูลยาปรับฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก คลับนี้เลดี้คุม by Young Love

PP-PF-WHC-TH-0420-1(09/2022)

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สิวเห่อเต็มหน้า เป็น ๆ หาย ๆ ทั้งที่ไม่ใช่วัยรุ่น เช็กซิมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลอยู่หรือเปล่า ? อัปเดตล่าสุด 25 ตุลาคม 2565 เวลา 11:43:17 4,335 อ่าน
TOP