How to หยุดอาการมนุษย์เมนส์ตัวแม่ ที่ทำสาว ๆ เหวี่ยงวีน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ไม่รู้ตัว แค่ปรับฮอร์โมนให้สมดุลก่อนมีประจำเดือน

          รู้จักกลุ่มอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน ตัวการสำคัญที่ทำให้สาว ๆ กลายเป็นมนุษย์เมนส์ อารมณ์แปรปรวนในช่วงก่อนมีประจำเดือน และแนวทางการรับมือ บางคนมีอาการรุนแรง หรือเรียกว่า ภาวะ PMDD

         สาว ๆ คนไหนเคยมีอาการเหล่านี้บ้างคะ ? จากผู้หญิงอ่อนหวาน น่ารัก น่าทะนุถนอม จู่ ๆ ก็กลายร่างเป็นคนอารมณ์อ่อนไหว เศร้าง่าย ร้องไห้เก่ง หรือบางครั้งก็ฟึดฟัด เกรี้ยวกราด ฟาดทุกคนที่อยู่ตรงหน้า แล้วสักพักกลับไปนั่งร้องไห้ซะอย่างนั้น เรียกว่าอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ จนคนรอบข้างตามไม่ทันเลยทีเดียว

         แต่ก่อนจะไปดึงดราม่า ลองหยุดสังเกตตัวเองสักนิดว่า ใกล้ถึงวันนั้นของเดือนหรือยัง ถ้าคำตอบคือใช่ ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามาอาจจะเป็นอาการก่อนมีประจำเดือนที่มีอาการรุนแรงกว่าปกติหรือเรียกว่า ภาวะ PMDD ซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจและการใช้ชีวิตในแต่ละวันในช่วงนั้นก็ได้ แล้วอะไรคืออาการก่อนมีประจำเดือนที่มีอาการรุนแรงกว่าปกติ หรือ ภาวะ PMDD กันล่ะ ? วันนี้เรามีคำตอบและแนวทางการรับมือกับอาการเหล่านี้มาฝากกันค่ะ

กลุ่มอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนที่รุนแรง
(ภาวะ PMDD) หรือมนุษย์เมนส์
ภาวะ PMDD

อาการก่อนมีประจำเดือน คืออะไร

          อาการก่อนมีประจำเดือน ทางแพทย์จะเรียกว่า Premenstrual Syndrome เป็นอาการที่จะเกิดก่อนเป็นประจำเดือนและจะหายไปหลังจากมีประจำเดือน พบใน 75% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่ช่วงอายุ 20-35 ปี ส่งผลให้สาว ๆ มีอาการผิดปกติในช่วงก่อนมีประจำเดือนประมาณ 7-10 วัน ดังนี้

          อาการที่แสดงออกทางร่างกาย เช่น คัดตึงเต้านม สิวขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หิวบ่อย กินเยอะ ตัวบวม เหนื่อยง่าย ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อต่อและกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้องน้อย ท้องอืด นอนหลับยาก

          อาการที่แสดงออกทางอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ขี้รำคาญ โมโหง่าย เครียด วิตกกังวล เบื่อหน่าย หดหู่ หรือมีภาวะซึมเศร้า

          ลองดูสิคะว่าอาการเหล่านี้หายไปหลังจากประจำเดือนมาได้ 2-3 วันหรือไม่ ถ้าใช่ แสดงว่าเราเข้าข่ายเป็นอาการก่อนมีประจำเดือน แล้วล่ะ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นเพียงอาการเล็กน้อย ไม่กระทบกับชีวิตประจำวันและหน้าที่การงานมากนัก รวมถึงเป็นแล้วหายเองได้ หรือแค่กินยาแก้ปวด ดื่มน้ำอุ่น และนอนพัก ก็จะดีขึ้น แต่ในบางกรณีอาการก่อนมีประจำเดือน อาจเพิ่มระดับความรุนแรงจนกลายเป็นอาการ PMDD ได้เช่นกัน

ภาวะ PMDD คืออะไร

         PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder เป็นกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และ/หรืออารมณ์อย่างรุนแรง เช่น หิวมาก อ่อนเพลียมาก นอนไม่หลับ ปวดหัวจนไมเกรนขึ้น เครียดจัด หัวร้อนง่าย โมโหร้ายผิดไปจากนิสัยตามปกติแบบเห็นได้ชัด หรือซึมเศร้าอย่างมาก ถึงขั้นไม่มีความสนใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่อยากสุงสิงกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงเลย จนกลายเป็นความหดหู่ สิ้นหวัง และอาจจะลุกลามไปจนถึงการคิดฆ่าตัวตายได้ 

         หากมีอาการ PMDD จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการงาน สังคม และความสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างเร่งด่วน

ทำไมถึงมีอารมณ์แปรปรวน
ในช่วงก่อนมีประจำเดือน
ภาวะ PMDD

          อาการก่อนมีประจำเดือน ภาวะ PMDD ที่สาว ๆ มักจะเป็นในช่วงก่อนมีประจำเดือนนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน (ประมาณ 7-10 วัน ก่อนการมีประจำเดือน)

          นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น สารสื่อประสาทในสมองมีการเปลี่ยนแปลง ความเครียด โรคซึมเศร้า ร่างกายขาดวิตามินและเกลือแร่ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีอาการมากน้อยแตกต่างกัน

วิธีการรับมือและการรักษาอาการผิดปกติ
ก่อนมีประจำเดือนที่รุนแรง หรือ PMDD
ภาวะ PMDD

           สาว ๆ คนไหนที่คิดว่าตัวเองเข้าข่ายมีอาการก่อนมีประจำเดือน ภาวะ PMDD ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะอาการเหล่านี้สามารถรับมือและรักษาได้ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

การรักษาแบบไม่ต้องใช้ยา

          สำหรับอาการก่อนมีประจำเดือนที่เป็นกลุ่มอาการก่อนเป็นประจำเดือนที่ไม่รุนแรงมากนัก ไม่จำเป็นต้องใช้ยา แค่ปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันบางอย่างก่อนประจำเดือนจะมาก็จัดการได้แล้ว เช่น 

  • ปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน โดยเน้นอาหารที่มีวิตามินสูง อย่างผัก ผลไม้ และธัญพืช เพื่อเพิ่มไฟเบอร์ ลดระดับอินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมไขมันต่ำ โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว เต้าหู้ เพื่อลดปัญหาปวดท้องประจำเดือน รวมถึงช่วยปรับอารมณ์ให้คงที่ 

  • ลดโซเดียม เพื่อลดอาการบวมน้ำและท้องอืด

  • ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เนื่องจากจะทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล และมีส่วนทำลายการดูดซึมสารอาหาร แร่ธาตุต่าง ๆ รวมทั้งการเผาผลาญน้ำตาลแย่ลง 

  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว 

  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ 

  • ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ 

  • ทำสมาธิเพื่อลดความเครียด 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  

  • จดบันทึกระยะเวลาและกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน เพื่อเตรียมรับมือกับอาการที่จะเกิดขึ้น

          ทั้งนี้ หากอาการก่อนมีประจำเดือนรุนแรงจนลุกลามเป็น PMDD ควรพบและขอคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์ หรือถ้ามีอาการทางจิตเพิ่มด้วย ควรพบจิตแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยเร็ว 

การรักษาแบบใช้ยา

         อาการก่อนมีประจำเดือน ภาวะ PMDD ที่สามารถบรรเทาได้ด้วยยา โดยมีทั้งยาที่หาซื้อได้ทั่วไปภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร และยาที่แพทย์สั่ง เช่น ยาเกี่ยวกับสารสื่อประสาท หรือทางการแพทย์เรียกว่า ยาเพิ่มสารเซโรโทนิน (SSRIs : Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) ซึ่งจะออกฤทธิ์ช่วยเพิ่มระดับสารเซโรโทนินในสมอง ทำให้สารสื่อประสาทมีความสมดุลมากขึ้น

         นอกจากนี้ยังสามารถใช้ยาปรับฮอร์โมนที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่าง "ยาปรับฮอร์โมนสูตร EE20D" ที่มีส่วนประกอบของเอนิทิล เอสทราดิออล (Ethinyl Estradiol) หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน 20 ไมโครกรัม และดรอสไพรีโนน (Drospirenone) หรือฮอร์โมนโปสเจสเตอโรน ที่ช่วยลดอาการบวมน้ำ ปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุลก่อนประจำเดือนมา จึงช่วยบรรเทาอาการจากภาวะ PMDD ได้อย่างตรงจุด คราวนี้สาว ๆ จะได้ไม่ต้องเหวี่ยงวีนจนคนรอบข้างตกอกตกใจอีกแล้ว แต่ต้องดูข้อบ่งชี้ของยาปรับฮอร์โมนแต่ละชนิดด้วยนะคะ

ยาปรับฮอร์โมนสูตร EE20D

            ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ กับ ประจำเดือน เป็นของคู่กัน ดังนั้นอาการก่อนมีประจำเดือนที่รุนแรง หรือ ภาวะ PMDD ก็อาจจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้เกือบทุกคน ไม่ว่าจะต่อสู้สักแค่ไหน อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือนก็พร้อมจะสู้กลับเราเสมอ แต่อย่าปล่อยให้อาการเหล่านี้มารบกวนชีวิตประจำวันของเราดีกว่าค่ะ เพราะแค่ปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันบางอย่าง หรือถ้าจะใช้ยาปรับฮอร์โมนสูตร EE20D สำหรับอาการก่อนมีประจำเดือนที่รุนแรง หรือ ภาวะ PMDD เพื่อบรรเทาอาการข้างเคียงของภาวะดังกล่าว ก็ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนทุกครั้ง เพียงเท่านี้สาว ๆ ก็จะแฮปปี้ ไม่เป็นมนุษย์เมนส์เหวี่ยงวีนที่น่ากลัวอีกต่อไป
          อ้อ ! สำหรับใครที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับ อาการก่อนมีประจำเดือน ภาวะ PMDD หรืออยากจะสอบถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของทุกความเป็นผู้หญิง สามารถเข้าไปอ่านข้อมูล เกร็ดความรู้ และเคล็ดลับดี ๆ ที่ เฟซบุ๊ก คลับนี้เลดี้คุม by Young Love กันได้เลยค่ะ

PP-PF-WHC-TH-0419-1(09/2022)

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
How to หยุดอาการมนุษย์เมนส์ตัวแม่ ที่ทำสาว ๆ เหวี่ยงวีน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ไม่รู้ตัว แค่ปรับฮอร์โมนให้สมดุลก่อนมีประจำเดือน อัปเดตล่าสุด 18 ตุลาคม 2565 เวลา 09:10:09 3,827 อ่าน
TOP