ซีเซียม-137 คืออะไร มีครึ่งชีวิตเท่าไร
ซีเซียม-137 (Caesium-137) หรือ Cs-137 เป็นธาตุลำดับที่ 55 คือไอโซโทปของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน (Nuclear Fission) ซึ่งพบในฝุ่นกัมมันตรังสีที่ตกค้างจากการทดลองลูกระเบิดอะตอม และจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ เช่น เหตุการณ์อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเมื่อปี ค.ศ. 2005
ซีเซียม-137 เป็นโลหะอ่อนสีขาวเงิน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% จะสลายตัวโดยการปลดปล่อยอนุภาครังสีบีตาแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m (Barium-137m) ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียง 2.5 นาที และเมื่อรังสีบีตาสลายตัวจะให้รังสีแกมมา ขณะที่อีก 5% จะสลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรง โดยการตรวจวัดซีเซียม-137 สามารถทำได้จากรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมา
ซีเซียม-137 มีประโยชน์อย่างไร
ซีเซียม-137 เป็นไอโซโทปรังสีที่นิยมนำมาใช้ทางอุตสาหกรรม ดังนี้
- ใช้สำหรับปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสีแกมมาในห้องปฏิบัติการวิจัยทางรังสี
- ใช้เป็นเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความหนาของวัสดุ เช่น กระดาษ แผ่นโลหะ, เครื่องวัดการไหลของของเหลว, เครื่องวัดความชื้น, วัดปริมาณขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาชีวมวล เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้า
- ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาในการวัดความหนาแน่นของเครื่องมือเจาะสำรวจน้ำมัน
- ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีในการรักษามะเร็ง
- ใช้ตรวจสอบไวน์ที่หายาก
ซีเซียม-137 เข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
ซีเซียม-137 อันตรายกับร่างกายอย่างไร
หากซีเซียม-137 รั่วขึ้นมาจะกระจายอยู่ทั้งในดิน น้ำ และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร ดังนั้น อาหารในกลุ่มผัก ผลไม้ นม อาหารทะเล และอาหารที่แปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร ย่อมมีโอกาสปนเปื้อนซีเซียม-137 ได้มากกว่าอาหารประเภทอื่น ถ้าคนรับประทานเข้าไปจะกระจายไปทั่วร่างกาย แม้บางส่วนจะถูกขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะได้ แต่ยังมีบางส่วนตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ ตับ ไขกระดูก
กรณีได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานาน เช่น เป็นคนที่อยู่ในบริเวณที่มีสารเปรอะเปื้อนรอบรัศมี 5-10 กิโลเมตร หรือประสบอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ รังสีที่แผ่ออกมาจากฝุ่นซีเซียม-137 จะทำให้เซลล์ในร่างกายกลายพันธุ์ หรือกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ อีกทั้งจะทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมหรือพันธุกรรม และนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในช่วง 5-10 ปี
ในกรณีที่เผลอไปหยิบจับต้นกำเนิดซีเซียม-137 โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น กลุ่มคนรับซื้อ-ขายของเก่า รับซื้อเศษเหล็ก เก็บขยะขาย อาจทำให้เนื้อเยื่อที่สัมผัสเปื่อยเน่า ผิวหนังไหม้หรือถึงขั้นสูญเสียอวัยวะบริเวณนั้นไป ผมร่วง ภูมิต้านทานลดลง เพราะรังสีไปทำลายตัวแอนติบอดีในร่างกาย
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่ได้รับจะมาก-น้อยแค่ไหนนั้นยังขึ้นอยู่กับความแรงของต้นกำเนิด ปริมาณรังสี ระยะเวลาที่ร่างกายได้รับรังสี รวมทั้งเครื่องกําบังที่วางกั้นระหว่างคนกับแหล่งกําเนิดรังสีด้วย
อาการแบบไหนแสดงว่าสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย
เมื่อได้รับสารกัมมันตรังสีในปริมาณมาก มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย อ่อนเพลีย มีไข้ ผิวหนังที่ถูกรังสีอาจแดง อักเสบ ไหม้ หลุดลอก ผมหรือขนหลุดร่วง ปากเปื่อย
นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อระบบเลือด เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดลดระดับต่ำลงเรื่อย ๆ กดไขกระดูก ระบบประสาท ทำให้ซึม สับสน ชักเกร็ง และเสียชีวิตได้
ทำอย่างไรเมื่อได้รับซีเซียม-137 เข้าสู่ร่างกาย
หากเผลอสัมผัสซีเซียม-137 ให้ปฏิบัติตัวดังนี้
- ล้างตาด้วยน้ำสะอาด โดยให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตา
- ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีถ้าสามารถทำได้ เก็บเสื้อผ้าใส่ถุงปิดปากให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่
- ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์ เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี
- ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่อันตราย
- หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวมากเกินกว่า 2 ครั้ง มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายใน 1 สัปดาห์ หลังโดนรังสี ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งประวัติสัมผัสสารกัมมันตรังสี
วิธีรักษาเมื่อได้รับซีเซียม-137 เข้าสู่ร่างกาย
บทความที่เกี่ยวข้องกับซีเซียม-137
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 21 มีนาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กรมประมง, สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย, สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ThaiPBS, ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, เฟซบุ๊ก Drama-addict, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรี