โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR คืออะไร
ใครเสี่ยงบ้าง
โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR เกิดจากอะไร
โรคนี้มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Autoimmune Encephalitis) ต่อตัวรับชนิด NMDA ซึ่งอาจถูกกระตุ้นโดยเนื้องอกที่เกิดขึ้นในอวัยวะ เช่น รังไข่ ปอด เต้านม และอัณฑะ โดยในผู้ป่วยเพศหญิงประมาณ 50% จะเกิดจากการมีเนื้องอกในรังไข่
นอกจากเนื้องอกแล้ว โรคนี้ยังอาจเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัสในสมอง จนทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานมาทำลายตัวรับ NMDA ในสมอง และทำลายเซลล์สมองจนผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ
โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR
อาการเป็นอย่างไร
ที่บอกว่าอาการโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR คล้ายอาการผีเข้า เพราะผู้ป่วยมักจะมีอาการต่อไปนี้
- เริ่มจากมีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ คล้ายเป็นไข้หวัด
- ปวดเมื่อยร่างกาย
- นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
- เสียการควบคุมตัวเอง เช่น เคี้ยวปาก แลบลิ้นปลิ้นตา มองตาขวาง มือ-เท้าขยับไปมา เกรี้ยวกราด อารมณ์ร้าย พูดจาหยาบคาย หรืออาจเซื่องซึมผิดปกติ เป็นต้น
- หูแว่ว เห็นภาพหลอน
- ความดันโลหิตและหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- อุณหภูมิร่างกายสูงหรือต่ำผิดปกติ
- ชักเกร็ง
โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR
รักษาอย่างไร
การรักษาโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR แพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียด และตรวจร่างกายด้วยวิธี MRI ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง และตรวจหาแอนติบอดีต่อตัวรับ NMDA จากน้ำไขสันหลังและเลือด
จากนั้นอาจทำการรักษาด้วยยาที่ช่วยลดการอักเสบของสมอง การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา หรือการให้ยาอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือด และในบางเคสอาจมีการพิจารณาแนวทางรักษาด้วยการผ่าตัดเนื้องอกที่เป็นสาเหตุของโรค ร่วมกับการบำบัดฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและสติปัญญา
ทั้งนี้ หากรักษาทันท่วงที ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณ 80% จะมีอาการดีขึ้น หายเป็นปกติ หรือพบความผิดปกติอยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนอีก 10-20% อาจมีอาการกำเริบอยู่บ้าง ซึ่งแพทย์จะให้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันอาการกำเริบ
บทความที่เกี่ยวข้องกับโรคสมองอักเสบ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลเพชรเวช