ไวรัส hMPV คืออะไร
ใครคือกลุ่มเสี่ยงโรคไวรัส hMPV
ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หอบหืด โรคไต เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจึงติดเชื้อได้ง่าย
ในขณะที่เด็กโตและผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันดี เมื่อได้รับเชื้อไวรัส hMPV อาจไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยคล้ายกับเป็นหวัดทั่วไป และหายไปได้เอง
ไวรัส hMPV ติดต่อกันได้ยังไง
ไวรัส hMPV อาการเป็นอย่างไร
อาการเริ่มแรกคล้ายไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดหัว ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ น้ำมูกไหล หลังจากนั้นอาจมีอาการหลอดลมอักเสบ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก และถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ปอดอักเสบ หรือถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลวหากรักษาไม่ทันเวลา
ทั้งนี้ การวินิจฉัยว่าป่วยเป็นไวรัส hMPV หรือไม่นั้น ต้องทำการป้ายจมูก เพื่อส่งสารคัดหลั่งไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเหมือนกับตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา
ไวรัส hMPV รักษาอย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัส hMPV โดยตรง จึงทำได้เพียงรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ แก้ไอ ละลายเสมหะ หากผู้ป่วยเป็นเด็กเล็กจะใช้วิธีดูดเสมหะ พ่นยา ให้สารน้ำทางหลอดเลือด (ถ้ามีภาวะขาดสารน้ำในร่างกายร่วมด้วย)
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบ หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย แพทย์จะให้รักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยเอกซเรย์ปอดเพื่อดูอาการปอดอักเสบ พร้อมให้ยารักษา หรืออาจต้องให้ออกซิเจนร่วมด้วย
วิธีป้องกันไวรัส hMPV
เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้น วิธีลดความเสี่ยงการติดเชื้อก็เหมือนกับการป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่น ๆ นั่นคือ
-
ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อเดินทางไปยังที่ชุมชน
-
หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ เจลแอลกอฮอล์
-
ไม่นำมือสกปรกไปขยี้ตา แคะจมูก หรือเข้าปาก
-
หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม หรือโรคระบบทางเดินหายใจ
-
การรับประทานอาหารที่ปรุงสุก เพราะเชื้อไวรัส hMPV จะทนอยู่ในสภาพแวดล้อมได้เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น และจะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน 55 องศาเซลเซียสขึ้นไป
-
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
บทความที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC, โรงพยาบาลนครธน