สำหรับคนที่นิยมเริ่มต้นทุกเทศกาลด้วยบรรยากาศเฉลิมฉลอง และยึดคติประจำใจที่ว่า “แก้วสองแก้วจะเป็นไรไป เมาที่ไหนแค่กรึ่ม ๆ”
แต่ “ดื่มสนุก ทุกข์ถนัด” ก็ยังเป็นบทสรุปที่มาคู่กันในทุกครั้ง เพราะเมื่อแอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าร่างกายจะเริ่มส่งผลเสียโดยตรงต่อระบบประสาทและสมองทุกส่วน ส่งผลให้
แต่ “ดื่มสนุก ทุกข์ถนัด” ก็ยังเป็นบทสรุปที่มาคู่กันในทุกครั้ง เพราะเมื่อแอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าร่างกายจะเริ่มส่งผลเสียโดยตรงต่อระบบประสาทและสมองทุกส่วน ส่งผลให้
- มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ความสามารถในการประมวลผลและการตัดสินใจลดลง
- การรับรู้ตำแหน่งแย่ลง จับต้องวัตถุไม่แม่นยำ
- การรับรู้ภาพแย่ลง ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัด
- เกิดอาการหลงลืม จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
- การทรงตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกายแย่ลง ทำให้ยืนไม่ตรง เดินเซ ถือของไม่ไหว
- ร่างกายมีการตอบสนองช้าลง
และที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ เมื่อวันหยุดยาวสิ้นสุดลง โดยทั่วไปก็มักจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เริ่มมีอาการผิดปกติ ตั้งแต่ความรู้สึกอ่อนเพลีย เศร้าซึม นอนไม่หลับ หมดแรงใจจะไปทำงาน เหมือนที่บางคนชอบโพสต์ตัดพ้อประมาณว่า “เกลียดวันจันทร์” ทางการแพทย์ระบุว่านี่เป็นสัญญาณของภาวะ Post-Vacation Blues หรือ Post-travel depression (PTD) หรือ “อาการโหยหาความสุขหลังหยุดยาว” เพราะเมื่อเข้าสู่วันแห่งการทำงาน ต้องรับมือกับเพื่อนร่วมงาน ปัญหาเศรษฐกิจ ภาระครอบครัว ฯลฯ ทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุข (เอ็นโดรฟิน) ในร่างกายลดระดับลงอย่างรวดเร็ว
ในช่วงเทศกาลที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อให้มีการดื่มติดต่อกันหลายวัน แอลกอฮอล์จึงเป็นสาเหตุหลักของการกระตุ้นให้ความผิดปกติทางอารมณ์และความเจ็บป่วยทางจิตเวชมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนล้าอย่างต่อเนื่อง อาการซึมเศร้า วิตกกังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย แปรปรวน ขาดเหตุผล ก้าวร้าวเมื่อถูกขัดขวาง ความภาคภูมิใจต่ำ สิ้นหวัง สงสารตัวเอง ขาดความนับถือตนเอง บางรายมีการตัดสินใจที่แย่ลง เกิดความรู้สึกหุนหันพลันแล่นจนลงมือทำร้ายตัวเอง บางรายมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่จะปรากฏให้เห็นมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดื่ม และต้นทุนสุขภาพเดิมของนักดื่มแต่ละราย ไม่ว่าจะเป็น
ในช่วงเทศกาลที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อให้มีการดื่มติดต่อกันหลายวัน แอลกอฮอล์จึงเป็นสาเหตุหลักของการกระตุ้นให้ความผิดปกติทางอารมณ์และความเจ็บป่วยทางจิตเวชมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนล้าอย่างต่อเนื่อง อาการซึมเศร้า วิตกกังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย แปรปรวน ขาดเหตุผล ก้าวร้าวเมื่อถูกขัดขวาง ความภาคภูมิใจต่ำ สิ้นหวัง สงสารตัวเอง ขาดความนับถือตนเอง บางรายมีการตัดสินใจที่แย่ลง เกิดความรู้สึกหุนหันพลันแล่นจนลงมือทำร้ายตัวเอง บางรายมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่จะปรากฏให้เห็นมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดื่ม และต้นทุนสุขภาพเดิมของนักดื่มแต่ละราย ไม่ว่าจะเป็น
- ปลายประสาทอักเสบ อาการชาปลายมือ-ปลายเท้า
- ความจำเสื่อม ความคิดเลอะเลือน ความบกพร่องทางระบบประสาทและการรับรู้
- ขนาดของสมองเล็กลง สูญเสียความทรงจำ
- การเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ บางรายมีอาการเศร้าซึมไปจนถึงขั้นประสาทหลอน รวมทั้งอาการหวาดระแวงว่าจะมีคนมาทำอันตราย
- เลือดออกในทางเดินอาหาร เส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ถ่ายเป็นเลือด ถ้าเยื่อบุหลอดอาหารฉีกขาดทำให้อาเจียนเป็นเลือด
- เลือดออกง่ายหยุดยาก ถ้าประสบอุบัติเหตุเลือดจะออกมาก หยุดช้า ผ่าตัดยาก ห้ามเลือดยาก
- แอลกอฮอล์สามารถทำให้เส้นเลือดในโพรงจมูกขยายตัว หรืออาจเกิดเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปขัดขวางกิจกรรมของเกล็ดเลือด
- ทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจอักเสบ เสื่อมสภาพ เกิดการอุดตัน หรือเปราะแตก เสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (สโตรก) ได้มากกว่าคนที่ไม่ดื่ม
- ทำให้หน้าที่ในการผลิตสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวของตับทำงานได้น้อยลง ส่งผลให้เกล็ดเลือดน้อยลง เกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะดื่ม หากเส้นเลือดรับแรงดันไม่ได้จะทำให้เส้นเลือดในสมองแตก เพิ่มความเสี่ยงในการพิการและเสียชีวิต
- แอลกอฮอล์รบกวนกระบวนการสร้างเม็ดเลือด ผู้ติดแอลกอฮอล์จะมีจำนวนเกล็ดเลือดลดลง
- สตรีที่มีพฤติกรรมการดื่มติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ ของเหลวและเลือดประจำเดือนข้น มดลูกต้องบีบตัวแรงขึ้นในการขับเลือดออกจากร่างกาย
- คนที่ฉลองหนักจนได้รับปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับ 400-799 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ การดื่มหนัก ดื่มไม่พักภายในเวลาอันสั้น ทำให้ร่างกายขับออกไม่ทัน เสี่ยงต่อภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ (Alcohol intoxication) มีโอกาสหยุดหายใจและเสียชีวิต
และเพื่อให้ทุกคนมีแนวทางการขับขี่อย่างปลอดภัย ในช่วงเทศกาลแห่งความสุข อย่าลืม ! ดาวน์โหลดคู่มือ #Saveสมองจากอุบัติเหตุการขับขี่ โหลดฟรีและอ่านเวอร์ชั่นออนไลน์ได้ คลิกเลย : https://www.thaihealth.or.th/?p=353265
กดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดี ๆ จาก สสส. เพิ่มเติมได้ที่ :
Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.
Line : @thaihealththailand
TikTok : @thaihealth
YouTube : SocialMarketingTH
Website : Social Marketing การตลาดเพื่อสังคม