ยาแก้ไอสมุนไพร มีสรรพคุณอย่างไร
และมีส่วนผสมของสมุนไพรอะไรบ้าง
ยาแก้ไอแบบน้ำที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย มีสรรพคุณทำให้ชุ่มคอ ลดอาการระคายเคืองบริเวณลำคอ บรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ จึงใช้ได้ทั้งผู้ที่มีอาการไอแห้ง ไอมีเสมหะ ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากไข้หวัด อากาศเปลี่ยน หรือไอจากการแพ้ฝุ่น ควัน และมลพิษ โดยรับประทานได้ตามขนาดที่ระบุไว้บนฉลากยาหรือจิบเมื่อมีอาการ สมุนไพรที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของยาน้ำแก้ไอมีอยู่หลายชนิด เช่น
- มะแว้งต้น : ช่วยลดอาการอยากไอ ลดความถี่และความรุนแรงของอาการไอ ขับเสมหะ
- มะขามป้อม : ช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียว ทำให้เสมหะถูกขับออกง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ชุ่มคอ แต่มีฤทธิ์เป็นยาระบายจึงไม่เหมาะกับคนที่มีอาการท้องเสียง่าย
- สมอไทย : ช่วยขับเสมหะ แก้พิษร้อนภายใน ทำให้ปอดชุ่มชื้น และลดอาการไอ แต่จะมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- สมอพิเภก : ช่วยขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ และมีฤทธิ์ขยายหลอดลม
- ชะเอมเทศ : ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้เจ็บคอ แก้ไอ อีกทั้งยังมีสรรพคุณกระตุ้นการสร้างสารหล่อลื่นในบริเวณลำคอ จึงให้ความรู้สึกเย็นชุ่มคอ
- ส้มป่อย : ช่วยละลายเสมหะและแก้ไอ
- สวาด : ช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ไอ และขับเสมหะ
วิธีเลือกซื้อยาแก้ไอสมุนไพร
- เลือกจากสรรพคุณที่ตรงกับความต้องการ เช่น หากมีอาการคันคอ ไอแห้ง ควรเลือกยาน้ำแก้ไอที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยลดอาการไอ เช่น มะแว้งต้น ชะเอมเทศ ส่วนคนที่ไอแบบมีเสมหะควรเลือกสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยละลายเสมหะ เช่น มะขามป้อม สมอพิเภก สมอไทย เป็นต้น
- พิจารณาส่วนผสมอื่น ๆ ของยาแก้ไอนอกจากสมุนไพร เช่น มีตัวยาอะไรบ้าง รวมถึงมีน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์หรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงตัวยาหรือสารประกอบอื่น ๆ ที่ตัวเองมีอาการแพ้
- เลือกยาแก้ไอสมุนไพรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตและผ่านการรับรองคุณภาพในระดับสากล เพื่อความมั่นใจว่าสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย
- เลือกยาแก้ไอสมุนไพรที่เหมาะสมกับผู้มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เป็นเบาหวาน ไม่ควรใช้ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก หรือสำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ควรเลี่ยงยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
ยาแก้ไอสมุนไพร ยี่ห้อไหนดี ปี 2024
1. ยาน้ำแก้ไอ สูตรมะแว้ง ตราไอยรา
แบรนด์แรกที่หยิบมารีวิวก็คือ "ยาน้ำแก้ไอ สูตรมะแว้ง ตราไอยรา" ต้นตำรับสีแดง ขวดนี้อุดมไปด้วยสมุนไพรธรรมชาติที่เข้มข้นถึง 7 ชนิด ได้แก่ สารสกัดจากมะแว้ง, มะขามป้อม, ชะเอมเทศ, เนื้อลูกสมอเทศ, ใบส้มป่อย, ใบสวาด และรากส้มกุ้งน้อย ที่ล้วนมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอ ระคายคอ ละลายเสมหะที่ข้นเหนียวให้ขับออกมาง่ายขึ้น เปิดทางเดินหายใจให้โล่งสบาย ตัวยามีสีน้ำตาลอ่อน กลิ่นเย็น ๆ และหอมสมุนไพร รสชาติหวานอมเปรี้ยว รับประทานง่าย ไม่ขมเฝื่อนเหมือนยาสมุนไพรทั่วไป พอจิบแล้วจะให้ความรู้สึกเย็น โล่งคอ และสามารถช่วยบรรเทาอาการไอได้ทันที ที่สำคัญก็คือไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ด้วยนะ
- วิธีรับประทาน : ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง หรือจิบเมื่อมีอาการไอ
- ข้อควรระวัง : เขย่าขวดก่อนรับประทาน
- ราคา : ขนาด 60 มิลลิตร ราคาปกติ 50 บาท
2. ยาน้ำแก้ไอ ตราโยคี
- วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ หรือจิบเมื่อมีอาการไอ วันละ 3-4 ครั้ง
- ข้อควรระวัง : ควรเก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
- ราคา : ขนาด 60 มิลลิลิตร ราคาปกติ 27 บาท
3. ยาน้ำแก้ไอผสมมะขามป้อม ไอ-เฮิร์บ โอทีซี
- วิธีรับประทาน : ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อมีอาการไอ
- ข้อควรระวัง : เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส
- ราคา : ขนาด 60 มิลลิลิตร ราคาปกติ 40 บาท
4. ยาแก้ไอ ตราเสือดาว สูตรผสมน้ำผึ้งมะนาว
- วิธีรับประทาน : ผู้ใหญ่ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ / เด็กอายุ 7-12 ปี ครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการไอ
- ข้อควรระวัง : เด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ ไม่ควรรับประทาน
- ราคา : ขนาด 60 มิลลิลิตร ราคาปกติ 45 บาท
5. ยาแก้ไอ ตราอาปาเช่ สูตรผสมมะขามป้อม
- วิธีรับประทาน : ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง / เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ ½ ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง หรือจิบเมื่อมีอาการไอ
- ข้อควรระวัง :
- เขย่าขวดก่อนใช้
- เก็บไว้ในอุณหภูมิปกติ (ไม่ควรเก็บในที่อุณหภูมิเย็น)
- ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิต ผู้ที่จำกัดการใช้เกลือ
- ราคา : ขนาด 60 มิลลิลิตร ราคาปกติ 25 บาท
6. ยาน้ำแก้ไอมะขามป้อม ยู อี คอฟ ซีดี
- วิธีรับประทาน : ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา / เด็กรับประทานครั้งละ ½-1 ช้อนชา วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
- ข้อควรระวัง :
- เขย่าขวดก่อนรับประทาน
- ควรระวังการใช้ในผู้ที่ท้องเสียง่าย เนื่องจากมะขามป้อมมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
- ราคา : ขนาด 120 มิลลิลิตร ราคาปกติ 60 บาท
7. ยาน้ำแก้ไอผสมมะขามป้อม ตราอภัยภูเบศร
- วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อมีอาการ
- ข้อควรระวัง :
- เขย่าขวดก่อนรับประทาน
- ควรระวังการใช้ในผู้ที่ท้องเสียง่าย เนื่องจากมะขามป้อมมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
- ราคา : ขนาด 120 มิลลิลิตร ราคาปกติ 40 บาท
8. ยาแก้ไอแสงสว่าง ตราค้างคาว สูตรผสมมะแว้งเครือ
- วิธีรับประทาน : ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ / เด็กอายุ 6-12 ปี ครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 4-6 ครั้ง
- ข้อควรระวัง : ไม่ระบุ
- ราคา : ขนาด 60 มิลลิลิตร ราคาปกติ 35 บาท