- รู้ไหมว่า คนไทยมีภาวะความเครียดสะสม และยังพบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพจิตมากถึง 10 ล้านคน หรือ 10% ของประชากร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก
- คนวัยทำงาน 7 ใน 10 กำลังหมดไฟ
- กรุงเทพฯ ติดอันดับ 5 จาก 100 เมืองทั่วโลกที่มีผู้คนทำงานหนักเกินไป
- สายด่วนกรมสุขภาพจิตกว่าครึ่งให้คำปรึกษาเรื่องความเครียด
ความเครียดส่งผลกระทบโดยตรง
กับสมอง อย่างไร ?
โดยปกติเมื่อมีความเครียด สมองจะสั่งการให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนความเครียด หรือคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมามากขึ้น เพื่อเตรียมให้พร้อมสู้หรือหนี และเมื่อสามารถจัดการกับความเครียดหรือแก้ปัญหาได้แล้ว ระดับคอร์ติซอลก็จะลดลง ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ
แต่ถ้าเป็นความเครียดสะสมนานจนเรื้อรัง ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะไม่ลดลง ก่อให้เกิดผลเสียต่อสมองและสุขภาพในด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น เกิดความวิตกกังวล, เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด, ภาวะซึมเศร้า, น้ำหนักเพิ่มหรือลด, นอนหลับยาก, ปวดศีรษะ, ขาดสมาธิ หรือความจำบกพร่อง เป็นต้น
งานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Neurology เดือนตุลาคม 2018 พบว่า ผู้ที่มีระดับฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอลในเลือดสูง เมื่อ MRI จะพบว่า สมองหดเล็กลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เกี่ยวกับความจำ คือ Hippocampus และส่วนที่เกี่ยวกับการคิด วิเคราะห์ วางแผน คือ Prefrontal Cortex ส่งผลให้มีความจำบกพร่อง ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง
7 เทคนิคจัดการความเครียดให้อยู่หมัด
1. การออกกำลังกาย
2. การนอนหลับที่มีคุณภาพ (หลับสนิท ตื่นขึ้นมาสดชื่น)
3. ฝึกการทำสมาธิ
4. การคิดบวก และมองโลกในแง่ดี
5. แบ่งเวลาให้ดี
6. ลดการเล่นโซเชียล
7. รับประทานสารอาหารสมอง
สารอาหารสมอง มีอะไรบ้าง ?
อาหารครบ 5 หมู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรงดคาร์โบไฮเดรต (แป้ง น้ำตาล) ไขมัน หรือไข่แดง ตามความเชื่อผิด ๆ แต่ควรรับประทานในปริมาณเหมาะสม
- เพราะสมองมีไขมันเป็นส่วนประกอบถึง 60%
- สมองจำเป็นต้องใช้พลังงานจากน้ำตาลกลูโคส หากขาดจะทำให้สมองทำงานแย่ลง อ่อนเพลีย
- ไข่แดงมีโคลีนที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง
นอกจากอาหารครบ 5 หมู่ในชีวิตประจำวันของเราแล้ว ยังมีสารอาหารที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์และการศึกษาวิจัยทางคลินิก (Clinical trials) ในมนุษย์
L-theanine (แอลธีอะนีน)
เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ในอาหารทั่วไปพบน้อย แต่พบมากในชาเขียวญี่ปุ่น มีสรรพคุณช่วยคลายเครียด ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับได้ง่ายขึ้น เพราะเพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทชนิดกาบา (Gaba), เซโรโทนิน (Serotonin) และโดปามีน (Dopamine)
นอกจากนี้ L-theanine ยังมีประโยชน์อื่น ๆ คือ ช่วยเพิ่มสมาธิ เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ผ่านกลไกการปรับคลื่นไฟฟ้าสมอง โดยเพิ่มคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดอัลฟ่า (Alpha waves) และลดคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดเบต้า (Beta waves)
อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรดื่มชาเพื่อให้ได้ L-theanine เนื่องจากในชามีคาเฟอีน อาจทำให้นอนไม่หลับ !
L-theanine ที่มีคุณภาพต้องมาจากธรรมชาติ และมีการควบคุมปริมาณสารสำคัญ ซึ่งพบได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีการควบคุมปริมาณสารสำคัญให้มี L-theanine ปริมาณเหมาะสม ออกฤทธิ์ได้จริงตามงานวิจัย (อย่างน้อย 200 มิลลิกรัม/วัน) และต้องปราศจากคาเฟอีน
PharmaGABA (ฟาร์มากาบา)
PharmaGABA ให้ GABA ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทในสมอง เพิ่มคลื่นไฟฟ้าสมองอัลฟ่า และลดคลื่นไฟฟ้าสมองเบต้า จึงช่วยคลายเครียด ผ่อนคลาย ลดความเหนื่อยล้า เพิ่มสมาธิ ทำให้เกิดการเรียนรู้ เพิ่มประสิทธิภาพการนอน (หลับง่าย, หลับสนิท, ตื่นนอนสดชื่น)
PharmaGABA ที่มีคุณภาพต้องได้จากการหมักโดยใช้โพรไบโอติก มีการควบคุมคุณภาพให้มี PharmaGABA 100-200 มิลลิกรัม/เม็ด
เครียดจนหลับยาก ฟังทางนี้ !! GABA และ L-Theanine ควรบริโภคร่วมกัน เพื่อลดระยะเวลาการนอนหลับ และเพิ่มคุณภาพการนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าการบริโภคเดี่ยว ๆ
Brahmi Extract (สารสกัดจากพรมมิ)
Lecithin (เลซิติน)
Choline Bitartrate (โคลีน ไบทาร์เทรต)
Ginkgo Leaf Extract (สารสกัดใบแปะก๊วย)
Pennywort Extract (สารสกัดใบบัวบก)
Vitamin B Complex (วิตามินบีรวม)
การจัดการความเครียดให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรใช้หลายวิธีหรือหลายเทคนิคร่วมกัน ในบางครั้งต้องใช้เวลาฝึกฝนความอดทนด้วย
แต่ก็มีเทคนิคง่าย ๆ และมีส่วนช่วยให้เทคนิคจัดการความเครียดวิธีต่าง ๆ สำเร็จตามเป้าหมาย นั่นคือ การเติมสารอาหารสมอง ENEL CHESS MemPlus (เอเนล เชส เมมพลัส) ที่ได้รวบรวมสารอาหารสมองมากถึง 15 ชนิด โดยสารอาหารดังกล่าวมีข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์และการศึกษาวิจัยทางคลินิก และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นและพัฒนาโดยทีมเภสัชกรที่จบจากมหาวิทยาลัยมหิดล
เติมสารอาหารที่สำคัญต่อสมอง 15 ชนิด เพื่อช่วยเรื่องความคิด การจดจำ และการนอน ด้วย ENEL CHESS MemPlus (เอเนล เชส เมมพลัส) สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่
- www.enelthailand.com
- Line : @enelthailand
- Shopee : https://s.shopee.co.th/BA3pHIHOM
- ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2567 กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม (กขส.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- Echouffo-Tcheugui JB, Conner SC, Himali JJ, Maillard P, DeCarli CS, Beiser AS, et al. Circulating cortisol and cognitive and structural brain measures: The Framingham Heart Study. Neurology 2018; 91: e1961-70.
- ความสุขก็สร้างได้ เครียดก็คลายให้เป็น สำนักความรอบรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข