โรคหลอดเลือดสมองตีบ คืออะไร ?
สาเหตุ
ของโรคหลอดเลือดสมองตีบ
-
ความดันโลหิตสูง : ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัวและเปราะบาง
-
ไขมันในเลือดสูง : ก่อให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด
-
โรคเบาหวาน : ส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
-
การสูบบุหรี่ : ทำให้เกิดการอักเสบและเสื่อมสภาพของหลอดเลือด
-
โรคหัวใจ : โดยเฉพาะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
- อายุที่มากขึ้น : ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี
อาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบ
อาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะการรักษาที่รวดเร็วจะช่วยลดความเสียหายต่อสมองได้
-
แขน-ขาอ่อนแรงครึ่งซีก
-
ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือพูดลำบาก
-
ตามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นด้านใดด้านหนึ่ง
-
เวียนศีรษะ เดินเซ หรือทรงตัวไม่ได้
-
ปวดศีรษะรุนแรงอย่างเฉียบพลัน
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองตีบ
-
ควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารมัน เค็ม และหวาน
-
งดสูบบุหรี่และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
-
พักผ่อนให้เพียงพอและจัดการความเครียด
-
ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองความเสี่ยง
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบต้องทำอย่างรวดเร็วภายใน 4.30 ชั่วโมง หลังเกิดอาการ โดยวิธีการรักษาหลัก ๆ ได้แก่
-
การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ
-
การสอดใส่สายสวนเพื่อนำลิ่มเลือดออกจากหลอดเลือดสมอง
-
การรักษาตามอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
-
การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังเกิดโรค