สารอาหารรอง (ไมโครนิวเทรียนท์)
คืออะไร ?
แล้วทำไมเราถึงมักขาดสารอาหารรอง ?
- รับประทานอาหารแปรรูปมากเกินไป
- รับประทานอาหารซ้ำ ๆ ไม่หลากหลาย
- กินขนมจุบจิบทั้งวัน
เช็กลิสต์ 4 สารอาหารรองที่จำเป็น
แต่มักถูกลืม
1. กรดไขมันโอเมก้า 3
บางคนเข้าใจว่าในน้ำมันพืชที่เรารับประทานอยู่ทุกวันก็มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่แล้ว ร่างกายไม่น่าจะขาด แต่จริง ๆ แล้วน้ำมันพืชมีกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่ถึง 10 เท่า ซึ่งการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 6 มากเกินไปจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและนำไปสู่ความเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกาย อีกทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ในขณะที่กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่มีบทบาทสำคัญต่อสมอง สายตา ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยพระเอกของงานนี้อยู่ที่กรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิด DHA และ EPA นั่นเอง
- กรดไขมัน DHA (Docosahexaenoic Acid) : เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์และเนื้อเยื่อประสาทหลายชนิด โดยเฉพาะในสมองที่มีกรดไขมัน DHA อยู่ถึง 40% ของกรดไขมันในสมองทั้งหมด รวมถึงในจอประสาทตาที่มี DHA มากถึง 60% ของกรดไขมันในประสาทตา นั่นแสดงว่า DHA มีบทบาทสำคัญมาก ๆ ต่อการพัฒนาและการทำงานของดวงตาและสมอง จึงช่วยเรื่องการมองเห็น ลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับสายตา ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการเรียนรู้ ความจำ และสมาธิ
- กรดไขมัน EPA (Eicosapentaenoic Acid) : สำคัญต่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด เพราะมีส่วนช่วยลดอาการอักเสบ ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองอุดตัน
2. วิตามิน K2
วิตามิน K มีอยู่ 2 ประเภท คือ วิตามิน K1 ช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือด พบได้ในผักใบเขียว น้ำมันพืช คนทั่วไปมักไม่ขาด และวิตามิน K2 ที่ไม่ค่อยพบในอาหารทั่วไป วิตามิน K2 มีสูงในนัตโตะ แต่นัตโตะดั้งเดิมมีกลิ่นแรงและรับประทานยาก จึงมีการปรุงรสด้วยซีอิ๊วหรือเครื่องปรุงรสอื่น ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อความดันโลหิตสูงได้ คนส่วนใหญ่จึงขาดวิตามินชนิดนี้ ซึ่งวงการการแพทย์เพิ่งจะค้นพบประโยชน์ของวิตามิน K2 เมื่อไม่นานนี้เอง ว่ามีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพกระดูก หัวใจ และหลอดเลือด โดยช่วยนำแคลเซียมจากหลอดเลือดไปเก็บสะสมไว้ในกระดูกและฟัน จึงป้องกันภาวะกระดูกบาง และป้องกันโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยสนับสนุนด้วยว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่รับประทานวิตามิน K2 เสริม มีความแข็งแรงของกระดูกและความหนาแน่นของมวลกระดูกเพิ่มขึ้น
ในด้านสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด มีงานวิจัยพบว่า การรับประทานวิตามิน K1 หรือ K2 เพิ่มขึ้น มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยผู้ที่ได้รับวิตามิน K2 น้อยกว่า มีอัตราเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าผู้ที่ได้รับวิตามิน K2 มากกว่าถึง 2.2 เท่า นั่นเพราะวิตามิน K2 มีคุณสมบัติในการป้องกันแคลเซียมเกาะหลอดเลือดและเนื้อเยื่ออ่อน จึงลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
แม้ว่าจุลินทรีย์ในลำไส้สามารถเปลี่ยนวิตามิน K1 ที่ได้รับจากอาหารให้กลายเป็นวิตามิน K2 ได้ แต่ก็ไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันที่รับประทานอาหารหวาน มัน ใช้น้ำตาลเทียม ใช้ยาปฏิชีวนะ ทำให้จุลินทรีย์ตัวดีในทางเดินอาหารที่ผลิตวิตามิน K2 ลดลงอย่างมาก ฉะนั้นควรรับประทานอาหารที่มีวิตามิน K2 โดยตรง ซึ่งมีอยู่ในนัตโตะ ชีส หรือเสริมวิตามิน K2 ในรูปแบบ MK-7 ที่อยู่ในร่างกายได้นานที่สุด
3. วิตามิน D3
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนไทยเกือบ 50% มีภาวะขาดวิตามิน D ทั้งที่เราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนระอุ ขณะที่คนกรุงเทพฯ มีภาวะขาดวิตามิน D มากถึง 71.4% สาเหตุหลักมาจากการทำงานในออฟฟิศที่ไม่ค่อยได้สัมผัสแสงแดด เมื่อออกมาข้างนอกก็พยายามหลบเลี่ยงแสงแดดด้วยการใส่เสื้อผ้ามิดชิด ทาครีมกันแดดเป็นประจำ ทำให้ระดับวิตามิน D ในเลือดไม่เพียงพอ
แล้ววิตามิน D สำคัญอย่างไร ? วิตามิน D จะทำงานร่วมกับวิตามิน K ในการเก็บสะสมแคลเซียมไว้ในกระดูกและฟัน ส่งเสริมให้กระดูกแข็งแรง พร้อมกับรักษาเส้นใยกล้ามเนื้อที่ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ป้องกันการหกล้มง่ายในผู้สูงอายุ และมีส่วนช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้สมองหลั่งสารเซเรโทนินที่มีผลต่อการลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า ตลอดจนเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด อันมีส่วนช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
สำหรับวิตามิน D มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ วิตามิน D2 ที่พบในเห็ดและยีสต์ และวิตามิน D3 ที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาเองจากการได้รับแสงแดด และมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามิน D2 เนื่องจากสามารถเพิ่มระดับวิตามิน D ในเลือดได้มากกว่าวิตามิน D2 ถึง 56-87% และวิตามิน D3 ยังถูกเก็บสะสมไว้ในเนื้อเยื่อไขมันได้ดีกว่าวิตามิน D2 ถึง 3 เท่า
ดังนั้น ควรเติมวิตามิน D3 ด้วยการออกแดดในช่วงเช้าหรือเย็นประมาณ 15-20 นาที โดยไม่ทาครีมกันแดด หรือรับประทานตับ ไข่แดง รับประทานวิตามิน D3 เสริม เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหารสำคัญชนิดนี้
4. โคเอนไซม์คิวเทน
โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10 หรือ CoQ10) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างโรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวาน การใช้ยาลดไขมันในเลือด ความเครียด การออกกำลังกายอย่างหนักและต่อเนื่อง ล้วนส่งผลต่อการผลิตโคเอนไซม์คิวเทนเช่นกัน
หากเราขาดโคเอนไซม์คิวเทนจะทำให้มีอาการใจสั่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง วิงเวียนศีรษะ เนื่องจากโคเอนไซม์คิวเทนมีบทบาทหลักในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่ต้องการพลังงานสูง เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ไต และเซลล์ตับ โคเอนไซม์คิวเทนจึงช่วยให้หัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความอ่อนเพลีย อีกทั้งยังปกป้องเซลล์จากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ แหล่งอาหารที่พบมาก คือ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนื้อปลา เป็นต้น
น้ำมันปลาเข้มข้นสูง (Highly Concentrated Fish oil) 76%
วิตามิน K2
วิตามิน D3 และโคเอนไซม์คิวเทน
- ดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ : รับประทาน ENEL Vital K2Plus คู่กับ ENEL CalMag DPlus แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต และสารสกัดรวม 12 ชนิด
- ดูแลสุขภาพดวงตา : รับประทาน ENEL Vital K2Plus คู่กับ ENEL Aplus รวมสารอาหาร 11 ชนิด ที่ดีต่อดวงตา อาทิ ลูทีน ซีแซนทิน บิลเบอร์รี แอสตาแซนทิน ไลโคปีน
- ดูแลสุขภาพสมองและการนอนหลับ : รับประทาน ENEL Vital K2Plus คู่กับ ENEL CHESS MemPlus เติมสารอาหารที่สำคัญต่อสมอง 15 ชนิด ที่ช่วยเรื่องความคิด การจดจำ และการนอนหลับ
- www.enelthailand.com
- Line : @enelthailand
- Shopee : https://shorturl.at/ndbyL
- Ma ML, Ma ZJ, He YL, Sun H, Yang B, Ruan BJ, Zhan WD, Li SX, Dong H, Wang YX. Efficacy of vitamin K2 in the prevention and treatment of postmenopausal osteoporosis: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Front Public Health. 2022;10:979649.
- Iwamoto J. Vitamin K2 therapy for postmenopausal osteoporosis. Nutrients. 2014;6:1971-1980.
- Koitaya N, Sekiguchi M, Tousen Y, Nishide Y, Morita A, Yamauchi J, Gando Y, Miyachi M, Aoki M, Komatsu M, Watanabe F, Morishita K, Ishimi Y. Low-dose vitamin K2 (MK-4) supplementation for 12 months improves bone metabolism and prevents forearm bone loss in postmenopausal Japanese women. J Bone Miner Metab. 2014 Mar;32(2):142-50.
- Chen, HG., Sheng, LT., Zhang, YB. et al. Association of vitamin K with cardiovascular events and all-cause mortality: a systematic review and meta-analysis. Eur J Nutr 58, 2191–2205 (2019).
- Cundiff DK, Agutter PS. (2016). Cardiovascular Disease Death Before Age 65 in 168 Countries Correlated Statistically with Biometrics, Socioeconomic Status, Tobacco, Gender, Exercise, Macronutrients, and Vitamin K. Cureus. 8(8), 748